พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันทรัพย์สินเกินกว่าเหตุ: การใช้ไฟฟ้าแรงสูงป้องกันแตงโมเกินสมควร
โจทก์บรรยายฟ้องไว้โดยชัดแจ้งว่าเด็กชาย ค. เข้าไปลักแตงโมในไร่ของจำเลย และจำเลยได้ต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าจากบ้านพักผ่านรั้วลวดหนาม เป็นเหตุให้เด็กชาย ค. ซึ่งสัมผัสรั้วลวดหนามถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนถึงแก่ความตาย และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติได้ตามคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ การที่ผู้ตายเข้าไปลักแตงโมในไร่ของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าผู้ตายได้กระทำการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายต่อทรัพย์ของจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของตนเองได้ แต่การที่จำเลยต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าซึ่งมีแรงเคลื่อนสูงถึง 220 โวลท์ ที่สามารถทำให้ดูดคนให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งที่ทรัพย์ที่จำเลยมีสิทธิกระทำการป้องกันคือแตงโมมีราคาไม่สูงมากนัก ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำตาม ป.อ. มาตรา 69 ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ และมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ฎีกา แต่ศาลฎีกายกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ หากกิจการยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างเพราะกำไรลดลงถือว่าไม่สมควร
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ คดีนี้กิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันควร จึงถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลขยายเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจทั่วไปในการขยายเวลาได้ตามสมควร แม้ไม่ระบุเหตุผลชัดเจน
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาตามคำร้องขอ ก็จะต้องยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 7 มิถุนายน 2542 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2542 มากกว่าที่โจทก์ร้องขอ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่ และจะอนุญาตขยายระยะเวลาให้เท่าใดก็ได้ ตามเหตุผลที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตนั้นว่าเพราะเหตุใด กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว จะถือว่าศาลชั้นต้นสั่งโดยผิดหลง โดยมิได้ระบุเหตุผลที่ให้เวลาแก่โจทก์เกินกว่าที่โจทก์ร้องขอให้ชัดเจน ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทางภารจำยอม – การใช้ประโยชน์ที่สมควร – การจัดการโดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ – การกีดขวางการใช้ภารจำยอม
ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับถนนทั้ง 6 สาย ในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 ว่าไม่ใช่ทางสาธารณะ ถนนทั้ง 6 สายยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจจัดการใช้สอยดำเนินการเกี่ยวกับถนนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 แม้ถนนทั้ง 6 สายจะเป็นภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติฯ ข้อ 30 วรรคหนึ่ง แต่เสียงส่วนใหญ่ในการประชุมผู้อยู่อาศัยในศูนย์การค้าตกลงให้จำเลยที่ 1 จัดการจราจรในศูนย์การค้า หลังจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างป้อมยามและเหล็กกั้นทางเข้าออกโดยมีพนักงานเก็บเงินค่าจอดรถแล้ว จำเลยที่ 1 แจกสติ๊กเกอร์สำหรับติดรถยนต์และรถจักรยานยนต์แก่เจ้าของอาคารพาณิชย์ทุกคูหาสติ๊กเกอร์ดังกล่าวสามารถใช้เข้าออกได้ทุกทางตลอดเวลาโดยสะดวกและไม่ต้องเสียเงินค่าจอดรถแต่ประการใด และแม้ประกาศของคณะปฏิวัติฯ ข้อ 30 วรรคหนึ่ง จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจำเลยที่ 1 จะหารายได้จากสาธารณูปโภคดังกล่าวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาไม่ได้ เพียงแต่ต้องไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก นับได้ว่าจำเลยที่ 1 ให้ใช้ภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงในศูนย์การค้าเท่าที่จำเป็นตามสมควรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และไม่ทำให้การใช้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
โจทก์นำแผงเหล็กปิดกั้นบนถนนหน้าอาคารพาณิชย์ของโจทก์หรือบางรายจอดรถจักรยานยนต์หรือวางวัสดุบนทางเท้านั้น เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มเติมแก่ภารยทรัพย์โจทก์ไม่มีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 และมาตรา 1389 จำเลยที่ 1 มีสิทธิห้ามได้ และการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่จอดรถตามที่ประกาศโฆษณาไว้ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจกระทำการดังกล่าวไม่
โจทก์นำแผงเหล็กปิดกั้นบนถนนหน้าอาคารพาณิชย์ของโจทก์หรือบางรายจอดรถจักรยานยนต์หรือวางวัสดุบนทางเท้านั้น เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มเติมแก่ภารยทรัพย์โจทก์ไม่มีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 และมาตรา 1389 จำเลยที่ 1 มีสิทธิห้ามได้ และการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่จอดรถตามที่ประกาศโฆษณาไว้ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจกระทำการดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองตามกฎหมายอาญา: การต่อสู้กับผู้โจมตีและเหตุสมควรในการป้องกัน
ก่อนเกิดเหตุขณะอยู่ในงานเลี้ยงที่บ้าน ป. ผู้ตายกับจำเลยมีเหตุทะเลาะจะทำร้ายกันเรื่องเล่นการพนันไฮโลว์ แต่มีคนห้ามไว้และให้จำเลยกลับบ้าน จำเลยจึงขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้าน ป. เพื่อกลับบ้านต่อมาผู้ตายได้ออกตามไป ซึ่งแสดงว่าผู้ตายตามไปหาเรื่องจำเลยจนเกิดเหตุเป็นคดีนี้ การที่ผู้ตายตามไปทันจำเลยระหว่างทางพร้อมกับพูดทำนองว่าตายไปข้างหนึ่งและเข้าไปชกต่อยแล้วชักมีดออกมาจากข้างหลังจะแทงทำร้ายจำเลยก่อนเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตนเองได้ ถึงแม้จำเลยจะแย่งมีดจากมือผู้ตายได้แล้วก็มิใช่ว่าภยันตรายที่จะเกิดแก่ จำเลยจากผู้ตายได้ผ่านพ้นหรือสิ้นสุดไปแล้ว เพราะผู้ตายมีรูปร่างสูงใหญ่และกำยำกว่าจำเลยซึ่งขาข้างซ้ายพิการใส่ขาเทียม โอกาสที่ผู้ตายจะแย่งมีดคืนจากจำเลยก็ยังมีอยู่ ซึ่งหากผู้ตายแย่งมีดคืนจากจำเลยมาได้ก็น่าเชื่อได้ว่าผู้ตายจะต้องแทงทำร้ายจำเลยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ มิฉะนั้นผู้ตายคงไม่ตามไปหาเรื่องจำเลยอีก ส่วนเหตุการณ์ในขณะที่แทงนั้นนับได้ว่าเป็นช่วงฉุกละหุก ประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนจำเลยไม่น่าจะมีโอกาสเลือกแทงผู้ตายตรงบริเวณอวัยวะที่สำคัญได้ถนัดชัดเจน ดังนี้ แม้จำเลยจะแทงผู้ตายถูกที่บริเวณราวนมด้านซ้ายทะลุถึงหัวใจอันเป็นอวัยวะที่สำคัญเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา ก็เป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุที่จำต้อง กระทำเพื่อป้องกันในสถานการณ์เช่นนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4623/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับในสัญญา: ศาลมีอำนาจปรับลดเบี้ยปรับที่สูงเกินสมควรตามหลักเกณฑ์กฎหมาย แม้มีข้อตกลงในสัญญา
ค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเป็นค่าเสียหายซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า อาจจะน้อยกว่าหรือสูงกว่าค่าเสียหายแท้จริงก็ได้ ซึ่งต้องปรับด้วย ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคแรก ดังนั้น แม้จะได้กำหนดวงเงินตายตัวไว้ในสัญญาและคู่สัญญาต่างสมัครใจทำขึ้นและเป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายก็ตาม แต่ก็หาได้ตัดอำนาจศาลที่จะพิจารณาหลักเกณฑ์ตามกฎหมายในการลดเบี้ยปรับที่เรียกสูงเกินส่วนลงเป็นจำนวนที่พอสมควรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติที่ให้ศาลพิจารณาลดเบี้ยปรับนั้น ก็จะไม่มีผลบังคับ จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้จะต้องชดใช้ค่าปรับหรือค่าปรับที่เจ้าหนี้กำหนดไว้สูงเกินสมควรโดยไม่มีเหตุผล
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 4 เมษายน 2537 ให้จำเลยนำเงินค่าปรับมาชำระภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 6 เมษายน 2537 ครบกำหนดชำระค่าปรับตามหนังสือบอกกล่าววันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2537และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามป.พ.พ.มาตรา 224
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 4 เมษายน 2537 ให้จำเลยนำเงินค่าปรับมาชำระภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 6 เมษายน 2537 ครบกำหนดชำระค่าปรับตามหนังสือบอกกล่าววันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2537และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามป.พ.พ.มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลเลิกจ้าง มิใช่กระบวนการสอบสวน
การที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้นต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ส่วนกรณีที่จะต้องมีการสอบสวนถึงเหตุนั้นก่อนหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งจะนำมาเป็นหลักในการพิจารณาว่าถ้าไม่มีการสอบสวนตามระเบียบแล้วย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชามีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ทำให้จำเลยไม่อาจไว้วางใจโจทก์อีกต่อไป จำเลยจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ลดค่าปรับตามสมควรเมื่อจำเลยเจรจาตกลงกับผู้เสียหายได้
การที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวไว้ต่อโจทก์ในคดีที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหาแล้วผิดนัดไม่มาพบโจทก์เป็นเวลานานประมาณ 3 เดือนทำให้การดำเนินคดีของโจทก์ต้องล่าช้า แต่จำเลยกับผู้เสียหายก็ตกลงยอมความกันได้ และผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไปจากโจทก์แล้วแสดงว่าในช่วงระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจำเลยได้ไปติดต่อเจรจากับผู้เสียหายจนสำเร็จ พฤติการณ์เช่นนี้หากจะให้จำเลยต้องรับผิดชำระค่าปรับเต็มตามสัญญาประกันก็จะสูงเกินไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องได้ราคาสูงสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมควร
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อน แม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ทรัพย์ที่ขาย-ทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่านทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513 ประกอบป.วิ.พ. มาตรา 308 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: ตกลงโดยปริยาย แม้มีข้อตกลงพิเศษ ศาลกำหนดจำนวนตามสมควรได้
โจทก์ช่วยติดต่อขายที่ดินให้จำเลยสำเร็จ เป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดย พฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จ ถือได้ว่าตกลงกันโดย ปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 846 วรรคแรก ส่วนข้อตกลงให้เงินส่วนที่เกินจากราคาที่ดินที่จำเลยกำหนดไว้ 2,000,000 บาทเป็นค่าบำเหน็จแก่โจทก์นั้นเป็นข้อตกลงพิเศษส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกัน แม้จำเลยจะขายที่ดินให้แก่ ฉ. ในราคา 2,000,000 บาทก็ตามโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จ และเมื่อไม่ได้ความว่าค่าบำเหน็จนั้นได้ตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้โดยชัดแจ้ง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร