คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรู้ร่วมคิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรู้ร่วมคิดทำละเมิดและผิดสัญญาซื้อขาย การรับผิดของลูกหนี้ร่วม และการหักกลบลดหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้กันเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้เพื่อฟ้องคดีให้มีการยึดที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายออกขายทอดตลาดป้องกันมิให้โจทก์บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนขายให้ นับว่าเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากจำเลยที่ 1 จะผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว ยังถือว่าได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมีจำนวนเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมที่จะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์จำนวน 9,500,000 บาท โจทก์ยอมรับและไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยที่ 2 อีก จำเลยที่ 2 ขอถอนอุทธรณ์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 9,500,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากหนี้จำนวนดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงต้องนำเอาราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับหนี้ที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่โจทก์แล้วมาหักออกจากราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ คงเหลือเป็นจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 คาดเห็นแล้วว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายคือไม่สามารถนำที่ดินที่จะซื้อไปขายได้ ค่าเสียหายของโจทก์ก็คือเงินกำไรจากการขายที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดิน สมรู้ร่วมคิดหลีกเลี่ยงสัญญาเดิม และขอบเขตความรับผิดชอบค่าเสียหาย
โจทก์มิใช่บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หากแต่ได้บรรยายด้วยว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ครั้นถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนขายให้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 คำฟ้องดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกันโดยตลอดแล้วมีความหมายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้ร่วมคิดกันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันขึ้นโดยไม่เป็นความจริง เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ข้อความตามคำฟ้องดังกล่าวชัดพอที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีได้แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ภายหลังโดยอ้างว่าตนเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและมีสิทธิที่จะซื้อได้ก่อนโจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาไม่สุจริตสมรู้ร่วมคิดกันแสดงเจตนาลวงโดยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้
เงินมัดจำที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่ ว.ผู้จะซื้อที่ดินพิพาทต่อจากโจทก์นั้น เป็นเงินที่ ว.ออกเป็นค่ามัดจำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ตามสัญญาที่ทำกันไว้ได้ โจทก์ก็ต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่ ว.และหากโจทก์ไม่ผิดสัญญาโดยสามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ได้ เงินมัดจำนี้โจทก์ก็ต้องหักเป็นเงินค่าที่ดินที่ ว.จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่ ว.จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์
เงินค่าขาดกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายที่ดินพิพาทให้แก่ว.เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 วรรคสองเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วไปขายต่อให้ ว.จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นความเสียหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
การชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 369 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดโดยสมรู้ร่วมคิด เจ้าพนักงานบังคับคดีส่อเจตนาช่วยเหลือผู้เข้าสู้ราคา
การที่ ฉ. เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดปรึกษากับ ป.ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง แล้วได้เรียก พ. ผู้เข้าสู้ราคาเข้าไปคุย แม้ ม.ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองให้มาดูแลการขายทอดตลาดไม่ได้ยินการคุยกัน ต่อจากนั้น ฉ. ประกาศถาม พ. อีกว่า จะให้ราคาสูงกว่า 38,000,000 บาท หรือไม่พ. ได้ยืนขึ้นเสนอให้ราคาเป็น 40,000,000 บาท การกระทำของ ฉ. และ พ.ดังกล่าวส่อเจตนาว่า ฉ. ได้เรียก พ. ไปแนะนำให้เสนอราคาเพิ่มให้สูงกว่าราคาที่ผู้คัดค้านประเมินไว้เพื่อที่ ป. จะอนุมัติให้ ฉ. ขายให้แก่ พ. นั่นเอง การที่พ. เสนอราคาเพิ่มเป็น 40,000,000 บาท แล้ว ป. อนุมัติให้ขายได้ เช่นนี้ส่อพิรุธเป็นข้อสงสัยได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยสมรู้ราคากับ พ. ผู้เข้าสู้ราคา ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ การขายทอดตลาดทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรู้ร่วมคิดใช้หนังสือเดินทางปลอม, เจ้าพนักงานเสียหาย, ตัวการใช้เอกสารราชการปลอม
ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง มีหน้าที่ตรวจ-สอบว่าหนังสือเดินทางที่ผู้จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรนำมาให้ตรวจนั้นเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องตรวจดูว่าบุคคลผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลเดียวกันกับที่กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้แท้จริงหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยแจ้งแก่ ส.ว่า พ.ผู้นำหนังสือเดินทางมาให้ตรวจเป็นย.ภริยาของจำเลยซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ ก็เพื่อให้ ส.หลงเชื่อว่า พ.เป็นบุคคลเดียวกันกับ ย.ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือเดินทาง และตรวจผ่านให้ พ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ ทำให้ ส.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับความเสียหาย เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน
พฤติการณ์ที่จำเลยพูดจากับ ส.เพื่อช่วยเหลือให้ พ.ใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกราชอาณาจักรได้ ทั้งหนังสือเดินทางปลอมที่ พ.ใช้นั้นก่อนถูกปลอมเป็นหนังสือเดินทางฉบับแท้จริงของ ย.ภริยาจำเลย แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยได้สมรู้ร่วมคิดกับ พ.นำหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวมาใช้ จำเลยจึงเป็นตัวการในการใช้หนังสือเดินทางปลอมด้วยมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้เอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบกับ มาตรา265, 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารปลอม: สมรู้ร่วมคิดช่วยเหลือผู้อื่นใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกประเทศ
ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมีหน้าที่ตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางที่ผู้จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรนำมาให้ตรวจนั้นเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องตรวจดูว่าบุคคลผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลเดียวกันกับที่กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้แท้จริงหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยแจ้งแก่ส.ว่าพ. ผู้นำหนังสือเดินทางมาให้ตรวจเป็นย. ภริยาของจำเลยซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จก็เพื่อให้ส.หลงเชื่อว่าพ. เป็นบุคคลเดียวกันกับย. ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือเดินทาง และตรวจผ่านให้พ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ทำให้ส.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับความเสียหายเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน พฤติการณ์ที่จำเลยพูดจากับ ส. เพื่อช่วยเหลือให้พ. ใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกราชอาณาจักรได้ทั้งหนังสือเดินทางปลอมที่ พ. ใช้นั้นก่อนถูกปลอมเป็นหนังสือเดินทางฉบับแท้จริงของย. ภริยาจำเลยแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยได้สมรู้ร่วมคิดกับ พ.นำหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวมาใช้ จำเลยจึงเป็นตัวการในการใช้หนังสือเดินทางปลอมด้วยมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบดับมาตรา 265,83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำความผิดทางอาญา: การสมรู้ร่วมคิดและสมทบกำลังแม้ไม่มีอาวุธ
ก่อนเกิดเหตุ จำเลยอยู่ด้วยกันกับพวกของจำเลยและได้วิ่งหนีไปด้วยกันหลังจากพวกจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ต่อมาอีก 1 ชั่วโมง จำเลยได้กลับเข้ามาในซอยเกิดเหตุกับพวกของจำเลยซึ่งมีอาวุธปืนยาวติดตัวมาเช่นเดียวกับเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นและยังร่วมวิ่งหนีออกจากซอยเกิดเหตุไปด้วยกันหลังจากพวกจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยาวยิงมาที่ผู้เสียหายและพวก กรณีย่อมฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมมาและรู้เห็นกับพวกโดยตลอดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสองครั้งมิใช่เป็นการมาพบกับพวกจำเลยในที่เกิดเหตุโดยบังเอิญและแม้จำเลยมิได้มีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยทั้งมิได้กล่าวถ้อยคำยุยงให้พวกกระทำการดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็เท่ากับเป็นการสมทบกำลังให้แก่พวกซึ่งเป็นผู้ลงมือกระทำความผิดและเป็นพฤติการณ์อันต้องถือว่าเป็นการร่วมกันกระทำความผิดโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลที่อาจเกิดขึ้นร่วมกัน จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมด้วยในการกระทำความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรู้ร่วมคิดชิงทรัพย์และการแยกทางก่อนเกิดเหตุร้าย ผู้ร่วมกระทำผิดไม่ต้องรับผิดต่อเหตุร้ายนั้น
จำเลยสมคบกับนายสมศักดิ์ทำการชิงทรัพย์ แล้วพากันหลบหนี นายสมศักดิ์ได้ใช้มีดแทงสิบตำรวจโทแม้นถึงแก่ความตายเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นการจับกุม เมื่อได้แยกทางกับจำเลยไปคนละทิศละทางแล้ว ถือได้ว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการชิงทรัพย์ของจำเลยและนายสมศักดิ์ขาดตอนจากกันแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรค 2 โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทที่มีอัตราโทษหนักกว่า ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในทำนองขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 แล้ว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคงผิดมาตรา 339 วรรค 2 ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์กระบือ: ศาลฎีกายืนโทษฐานลักทรัพย์จากพยานหลักฐานที่แสดงถึงการสมรู้ร่วมคิด
กระบือของผู้เสียหายได้หายไปจากทำเลเลี้ยงเมื่อเวลาราว14.00 น. พยานโจทก์ยืนยันว่า ได้พบจำเลยกับพวกต้อนกระบือของผู้เสียหายไปในวันเกิดเหตุเวลาราว 14.00 น. ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลากระชั้นชิดกับเวลากระบือของผู้เสียหายที่หายไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรู้ร่วมคิดชิงทรัพย์: ผู้สมรู้ต้องรับผิดร่วมคืนทรัพย์สิน
ผู้ที่มีผิดแม้เพียงฐานสมรู้ ก็ต้องร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์กับผู้ที่มีผิดฐานเป็นตัวการด้วยเหมือนกัน
ความผิดฐานสมรู้ในการชิงทรัพย์ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา ม.339 และ 86 เพราะเป็นบทกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยกว่า ก.ม. ลักษณะอาญา ม.298 และ 65.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรู้ร่วมคิดชิงทรัพย์: ผู้สมรู้ต้องรับผิดร่วมกับตัวการในการคืนทรัพย์
ผู้ที่มีผิดแม้เพียงฐานสมรู้ ก็ต้องร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์กับผู้ที่มีผิดฐานเป็นตัวการด้วยเหมือนกัน
ความผิดฐานสมรู้ในการชิงทรัพย์ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 และ 86 เพราะเป็นบทกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยว่า กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 298 และ 65
of 8