คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมัครงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคุณสมบัติเท็จในการสมัครงานเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ แม้ไม่มีความเสียหายร้ายแรง
การที่ลูกจ้างยื่นใบสมัครงานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้ลาออกจากบริษัทเดิม แต่ความจริงถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกินสามวันโดยไม่มีเหตุอันควรนั้น เป็นการแสดงคุณสมบัติอันเป็นเท็จเป็นเหตุให้นายจ้างหลงเชื่อในคุณสมบัติของลูกจ้างและยอมรับให้เป็นลูกจ้าง ดังนี้ อาจทำให้กิจการของนายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างตามข้อกำหนดในใบสมัครงานนั้นได้โดยไม่จำต้องเกิดความเสียหายร้ายแรงต่อนายจ้างเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือผู้สมัครงาน: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
จำเลยเป็นพนักงานเทศบาลตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการศึกษา มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่น การสอบบรรจุ แต่ง ตั้ง เลื่อนชั้นครูและนักการภารโรงของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญาดัง บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 44 เมื่อนายกเทศมนตรีแต่ง ตั้งจำเลยเป็นกรรมการและเลขานุการดำเนินการคัดเลือกนักการภารโรงเป็นการแต่ง ตั้งจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้ว ให้ปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่วางไว้อีกชั้นหนึ่ง หาได้หมายความว่าก่อนหน้านั้นจำเลยไม่ได้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานไม่ เมื่อจำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ใช้อำนาจหน้าที่ช่วย ให้ผู้เสียหายได้รับบรรจุเข้าทำงานตำแหน่งนักการภารโรงจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกและรับทรัพย์สินโดยไม่ชอบตามมาตรา 149 แห่ง ป.อ. มิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากปกปิดประวัติอาญาในการสมัครงาน และสิทธิในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ธนาคารจำเลยกำหนดให้ผู้ยื่นใบสมัครเข้าทำงานแสดงรายการในใบสมัครว่าเคยต้องคดีใด ๆ มาก่อนหรือไม่ เพื่อจะได้คัดเลือกผู้ที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่มีประวัติด่างพร้อยมาก่อนให้เข้าทำงานกับจำเลย โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานกับจำเลยโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้จำเลยหลงเชื่อคุณสมบัติของโจทก์และยอมรับโจทก์เข้าทำงาน ซึ่งอาจทำให้กิจการของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยทราบความจริงในภายหลังย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ การเลิกจ้างเพราะเหตุนี้ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะโจทก์กระทำผิดในระหว่างที่เป็นลูกจ้างของจำเลย แต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงาน จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้งคือทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเวลา 23 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการฉ้อโกงจากการชักชวนให้เสียเงินค่าสมัครงาน
ส.บิดาจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงด้วยวิธีการหลอกลวงรับสมัครคนงานไปทำงานต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าสมัคร การที่จำเลยเป็นคนแนะนำชักพาผู้เสียหายให้นำเงินไปมอบให้ ส.จึงเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำผิด และเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงโดยการหลอกลวงให้ซื้อหุ้นเพื่อสมัครงาน ถือเป็นกรรมต่างวาระ ฟ้องได้หลายกรรม
จำเลยวางแผนประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันเปิดรับสมัครบุคคลมาทำงานกับบริษัท เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อมาสมัครทำงาน โดยวางอัตราค่าจ้างเงินเดือนสูง วางระเบียบให้ต้องซื้อหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้นเป็นเงิน 900 บาท บริษัทตั้งขึ้นแล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินกิจการค้าดังวัตถุประสงค์แต่อย่างใด. สินค้าในบริษัทก็ไม่มี ธุรกิจที่จะมอบหมายให้ผู้สมัครรับจ้างปฏิบัติก็ไม่มี ถือได้ว่าจำเลยก่อตั้งบริษัท ดำเนินการด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเพื่อหลอกลวงประชาชน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับการฉ้อโกงของจำเลยดังกล่าวแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงผู้เสียหายคนอื่นในกรณีนี้อีกได้ เพราะผู้เสียหายเป็นคนละคนต่างถูกหลอกลวงคนละวันคนละเวลา จำนวนเงินที่ถูกหลอกแตกต่างกัน ตำแหน่งงานที่จะจ้างผู้เสียหายไม่เหมือนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ มิใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 - 5 - 6/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารราชการเพื่อประโยชน์ในการสมัครงานและการพิจารณาความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
โจทฟ้องว่าจำเลยสมคบกันทำไบแทนไบสุทธิปลอมขึ้นและนำไปไช้ จำเลยรับสารภาพดังนี้ลงโทสจำเลยถานปลอมหนังสือและไช้หนังสือปลอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบสุทธิไม่ตรงความจริง ใช้สมัครงาน - ผิดฐานแจ้งความเท็จ
ครูใหญ่ได้ออกใบสุทธิให้จำเลยโดยสุจริต แต่ข้อความในใบสุทธินั้นไม่ตรงต่อความจริง จำเลยนำใบสุทธินั้นไปใช้ในการสมัครเข้าเป็นครูประชาบาล ไม่เป็นผิดฐานใช้หนังสือปลอมคงผิดเพียงฐานแจ้งความเท็จ