คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8695/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จากการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ไม่ถูกต้องหลังย้ายทะเบียนบ้าน
บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ผู้ร้องย้ายตนเองจากจังหวัดร้อยเอ็ดไปอยู่จังหวัดยโสธรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันแล้ว การที่ผู้ร้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จังหวัดร้อยเอ็ดจึงเป็นการมิชอบ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธรประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องสามารถแจ้งเหตุที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จังหวัดยโสธรได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ มาตรา 22 แต่ผู้ร้องหาได้ปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: การประกาศผลการเลือกตั้งที่ยังไม่เป็นทางการ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา89,102 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้ง และสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มแต่วันเลือกตั้งและตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 100 บัญญัติไว้มีข้อความสำคัญว่า ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องได้คะแนนมากที่สุด ในกรณีที่เขตเลือกตั้งใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งมีคะแนนมากตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้แต่โดยการเลือกตั้ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จำเลยจะได้ประกาศต่อสาธารณชนและรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยว่าผลของการรวมคะแนน โจทก์เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามแบบ ส.ส.25 จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในการรวมคะแนนให้ถูกต้องได้ หาก พ.ผู้ซึ่งจำเลยได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามแบบส.ส.25 และออกหนังสือรับรองการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามแบบ ส.ส.27 ให้นั้นเป็นผู้ซึ่งมีคะแนนน้อยกว่าโจทก์แล้ว โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตาม มาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5730/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิตรวจสอบรัฐบาลและตั้งข้อสงสัยการกระทำของรัฐมนตรีได้ หากมีเหตุผลสมควร
ขณะที่จำเลยที่ 1 อภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอก ช. นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ ใช้บังคับ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันในการอภิปรายของจำเลยที่ 1 มีกำหนดไว้ในมาตรา 131 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่าในที่ประชุมวุฒิสภาก็ดี ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ดี ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ดี สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนนย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้ และวรรคสองของมาตรา 131 บัญญัติว่า เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภาและการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ส่วนจำเลยที่ 1 อ้างว่าได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 157 ซึ่งประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 หลังจากที่จำเลยที่ 1 อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ ในขณะที่จำเลยที่ 1 อภิปรายมาใช้บังคับ ไม่อาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาใช้บังคับย้อนหลังแก่กรณีของจำเลยที่ 1 ได้ และกรณีก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 131 ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 157 อันจะนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 157 มาใช้บังคับแก่กรณีของจำเลยที่ 1 แม้ระหว่างพิจารณาของศาลจะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ออกมาใช้บังคับแล้วก็ตาม คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่จำเลยที่ 1 อภิปรายนั้น มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 131 ไม่คุ้มครองจำเลยที่ 1 หากการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่จำเลยที่ 1 อภิปรายมีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงโทรทัศน์ ถ้อยคำดังกล่าวในที่ประชุมของจำเลยที่ 1 ไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภาและมีลักษณะที่อาจเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับเอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 131 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง