คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สรรพสามิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ใน พ.ร.บ.สรรพสามิต สารละลายไวท์สปิริตไม่ต้องเสียภาษี
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534ให้คำจำกัดความคำว่า"น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน"หมายความว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลี่ยมได้แก่น้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าดน้ำมันเชื้อเพลิงหนักน้ำมันเตาและน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆตามคำจำกัดความดังกล่าวสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆระบุแยกออกจากคำว่าน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ออกชื่อมาแล้วดังนั้นสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆจึงไม่ใช่น้ำมันอื่นๆที่ออกชื่อมาแล้วและแม้สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆนั้นจะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่1(พ.ศ.2532)เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมัดก๊าดก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้นดังนี้พิพักอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่1ในประเภทที่01.03รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกันจึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโชลเว้นท์ชนิดต่างๆด้วยสารละลายเคมีไวท์สปิริตจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่01.03ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆจำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานสรรพสามิตแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จต่อศาลในคดีขายบุหรี่เกินราคา
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ขายบุหรี่ด้วยเงินเชื่อและไม่เกินราคา จำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน จนเจ้าพนักงานได้ดำเนินคดีฟ้องโจทก์ หาว่าขายบุหรี่เกินราคา และจำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการแต่ศาลไม่อนุญาต ดังนี้จำเลยย่อมมีความผิดฐานฟ้องเท็จด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายแสตมป์ยาสูบปลอม โดยผู้มีหน้าที่จำหน่ายย่อมรู้ว่าเป็นของปลอม
จำหน่ายแสตมป์ยาสูบปลอมมีความผิดฐานใช้แสตมป์ปลอมตามมาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำการแทนของข้าราชการ: สรรพสามิตอำเภอเป็นผู้มีอำนาจจดทะเบียนสัญญาซื้อขายได้
นายอำเภอป่วยไม่ได้มาทำงาน ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำการแทนนายอำเภอแล้วไปราชการเสียได้มอบให้สรรพสามิตอำเภอทำการแทน สรรพสามิตอำเภอเป็นคณะกรรมการอำเภอด้วยผู้หนึ่ง จึงย่อมเป็นผู้ทำการแทนนายอำเภอได้โดยชอบด้วยกฎหมายและมีอำนาจและหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำสัญญาซื้อขายที่ดินได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2486 มาตรา4(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต้มกลั่นสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาคุณสมบัติของของกลางว่าเป็นน้ำสุรา
จำเลยต้มกลั่นน้ำสุราของกลาง มีแอลกอฮอล์สามารถดื่มกินได้อย่างน้ำสุราทุกอย่าง ดังนี้จำเลยย่อมมีผิดฐานต้มกลั่นน้ำสุราโดยมิได้รับอนุญาต (อ้างฎีกาที่ 73/2485)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารบัญชีสรรพสามิต: ศาลตัดสินว่าเป็นหนังสือธรรมดา ไม่ใช่หนังสือราชการ
เสมียนร้านเอกชนกรอกข้อความลงในแบบจำหน่ายสุราของกรมสรรพสามิตไม่ตรงความจริง เป็นผิดฐานปลอมหนังสือธรรมดาไม่ใช่ปลอมหนังสือราชการ เพราะไม่ใช่หนังสือที่ทางราชการทำขึ้นทั้งฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีไพ่ที่ไม่ประทับตราสรรพสามิต ไม่ถือเป็นความผิด หากไม่มีเจตนาจำหน่าย
+ใดมิได้ประทับตราของกรมสรรพสามิตต์ไว้ในปี พ.ศ. 2483 โดยมิได้ประหยัดจำหน่ายไม่เป็นผิด อ้างฎีกาที่ 617/2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไพ่เกินจำนวนที่กำหนดหลังหมดอายุประกาศสรรพสามิต ไม่เป็นความผิด
ประกาศกรมสรรพสามิตต์ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 เมื่ออธิบดีกรมสรรพสามิตต์ ประกาศกำหนดจำนวนไพ่ที่บุคคลจะพึงมีไว้ในความีรอบครองและได้กำหนดระยะเงาลสุดสิ้นของประกาศนี้ไว้ด้วย ฉะนั้นผู้ใดมีไพ่พ้นระยะเวลานั้นแล้ว ย่อมไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบพิสูจน์วัตถุต้องห้ามตามกฎหมายสรรพสามิต
น้ำกระแช่ดองเมาหน้าที่นำสืบ วิธีพิจารณาอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดมูลค่าสรรพสามิตจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม: ความชอบด้วยกฎหมายและหลักเกณฑ์
พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของโจทก์ตามแบบแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (แบบ ภษ.01-44) สอดคล้องกับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีและเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี จำเลยจึงชอบที่จะอาศัยอำนาจตามมาตรา 8 (1) วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ประกาศกำหนดมูลค่าของสินค้าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีได้ มูลค่าของสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีต้องกำหนดจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของสินค้าในตลาดปกติ กล่าวคือ พิจารณาจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของเครื่องดื่มน้ำอัดลมในตลาดปกติโดยส่วนใหญ่ตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งพยานจำเลยเบิกความถึงหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติในการพิจารณาเพื่อหาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติว่าพิจารณาจากสัดส่วนเปรียบเทียบกับราคาขายปลีกของสินค้า คือ ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติของเครื่องดื่มไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 75 ของราคาขายปลีก หากน้อยกว่า จำเลยอาจประกาศกำหนดมูลค่าสินค้าได้ เป็นไปตามหนังสือกรมสรรพสามิต ลับมาก ด่วนมาก ที่ กค 0622/190 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 ที่มาจากการศึกษาวิเคราะห์ภาพรวมของราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมขายไปจริง ราคาขายปลีกในท้องตลาด และข้อมูลจากงบการเงินของผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าประเภทเครื่องดื่มน้ำอัดลมและถัวเฉลี่ยตามหลักวิชาแล้วสรุปว่า สัดส่วนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่อราคาขายปลีกไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 75 และจำเลยได้ใช้เกณฑ์ดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติในการหาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติและประกาศกำหนดมูลค่าสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมตั้งแต่ปี 2549 รวมทั้งในการออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าเครื่องดื่มที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี (ฉบับที่ 1/2556) ลงวันที่ 8 มกราคม 2556 แสดงว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดมูลค่าของสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมของโจทก์ โดยพิจารณาจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติตามสภาพความเป็นจริงของลักษณะการประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่มน้ำอัดลม และอาศัยการเปรียบเทียบต้นทุน ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายปลีกแนะนำ และราคาขายปลีกของผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายอื่นกับโจทก์ การออกประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยพิจารณาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของโจทก์เปรียบเทียบกับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าประเภทเดียวกันรายอื่นก่อนมีหนังสือทบทวนราคาขายไปยังโจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้แสวงหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเปิดโอกาสให้โจทก์ได้ทราบข้อเท็จจริงเพื่อโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานแล้ว เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่าสัดส่วนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่อราคาขายปลีกของโจทก์ต่ำกว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมรายอื่นและจำเลยจะพิจารณาออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่ม โจทก์ก็สามารถส่งเอกสารเพื่อโต้แย้งหรือพิสูจน์ที่มาของรายละเอียดโครงสร้างราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้หนังสือขอให้ทบทวนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ออกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ส่วนประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าเครื่องดื่มที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี (ฉบับที่ 1/2556) ออกเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 โจทก์จึงมีเวลาในการโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานต่อจำเลยนานถึง 2 เดือนเศษก่อนที่จำเลยจะออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นระยะเวลาพอสมควร ประกาศดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 29 และมาตรา 30
ประกาศของจำเลยมีการระบุข้อกฎหมายที่อ้างอิง คือ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8 (1) วรรคสาม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง (2) แม้ประกาศของจำเลยจะมิได้แสดงให้ชัดเจนว่าการกำหนดมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี โดยคำนวณจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติของสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการกำหนดจากต้นทุนประเภทใด ที่ราคาเท่าใด บวกกำไรในอัตราเท่าใด หรือราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติคือราคาใดและมีที่มาอย่างไรตามที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ทราบข้อเท็จจริงตามหนังสือขอให้ทบทวนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมแล้วว่า จำเลยได้เปรียบเทียบราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายปลีกที่แนะนำตามแบบแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (แบบ ภษ.01-44) กับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายปลีกที่แนะนำของผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายอื่นในสินค้าประเภทเดียวกัน และพบว่าสัดส่วนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่อราคาขายปลีกของโจทก์ต่ำกว่ารายอื่น ซึ่งหากไม่มีเหตุผลอันสมควร จำเลยอาจออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มต่อไป โจทก์จึงทำหนังสือชี้แจงและส่งหลักฐานเพื่อประกอบการชี้แจงทั้งสามครั้งได้ ประกอบกับหลังจากจำเลยประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มแล้ว โจทก์ก็อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว เมื่อพิจารณาเนื้อหาในอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของโจทก์ ก็พบว่าโจทก์สามารถทำคำอุทธรณ์โดยแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อโต้แย้งการกำหนดมูลค่าสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมตามประกาศได้อย่างละเอียดพร้อมเหตุผล ถือว่าโจทก์ได้รู้ข้อเท็จจริงและข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนซึ่งเป็นเหตุผลในการออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่เหตุผลในการออกคำสั่งทางปกครองเป็นที่รู้กันอยู่แล้วไม่จำต้องระบุอีกตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)