คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สร้อยคอ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4441/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำลักทรัพย์ vs. ทำร้ายร่างกาย: ศาลตัดสินความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและทำงานอยู่ที่โรงงานเดียวกัน จำเลยเป็นผู้ซื้อสร้อยคอทองคำให้ผู้เสียหาย บางครั้งจำเลยก็นำไปใส่ วันเกิดเหตุจำเลยทราบว่าผู้เสียหายจะไปเที่ยวจึงเข้าไปพบผู้เสียหายและพูดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายไปเที่ยว ผู้เสียหายไม่ยอมจะไปให้ได้ จึงเกิดการโต้เถียงกันการที่จำเลยดึงเอาสร้อยคอทองคำดังกล่าวที่ผู้เสียหายใส่อยู่ขาดและเอาสร้อยคอไปด้วยความโมโหนั้นเจตนาของจำเลยเพียงแต่ไม่ต้องการให้ผู้เสียหายนำสร้อยคอทองคำใส่ติดตัวไปด้วยเท่านั้น จำเลยมิได้เอาสร้อยคอทองคำดังกล่าวไปโดยเจตนาทุจริตการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์
การที่จำเลยเข้าไปดึงสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายใส่อยู่ขาดแล้วผลักผู้เสียหายเซไปถูกรถ ทำให้ผู้เสียหายมีบาดแผลโดนเล็บที่บริเวณหน้าอกแต่โลหิตไม่ไหล เป็นความผิดฐานทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัวศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์สำเร็จหรือไม่ เมื่อสร้อยคอขาดแต่ยังอยู่ในมือชั่วคราว
พวกจำเลยทำร้ายคนที่นั่งอยู่กับผู้เสียหาย จำเลยวิ่งเข้ามากระชากสร้อยคอจากคอผู้เสียหายขาดหล่นลงที่พื้น จำเลยก้มลงจะหยิบเอา แต่ผู้เสียหายหยิบเอาไว้ได้ก่อนการที่สร้อยขาด แม้จะเป็นผลให้ สร้อยติดมือจำเลยชั่วระยะหนึ่ง แต่เป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้สร้อยขาดหลุดเท่านั้น จะถือว่าจำเลยยึดถือสร้อยไว้แล้วหาได้ไม่ การยึดถือสร้อยยังไม่บรรลุผลจึงเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ ไม่ใช่ความผิดสำเร็จ ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339, 80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย: การปัดไฟฉายและการกระชากสร้อยคอ
จำเลยปัดไฟฉายที่ผู้เสียหายถืออยู่จนหลุดจากมือผู้เสียหายก้มลงเก็บไฟฉาย จำเลยกระชากสร้อยคอพาหนีไปการปัดไฟฉายเป็นการกระทำแก่เนื้อตัวหรือกาย เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย เป็นชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามชิงทรัพย์: การกระชากสร้อยคอจนขาด ไม่ถือเป็นการยึดถือทรัพย์สำเร็จ
จำเลยเข้าบีบคอผู้เสียหายทางด้านหลัง แล้วกระชากสร้อยคอห้อยพระเครื่องที่สวมอยู่ที่คอจนสร้อยขาดจากกัน ในทันใดผู้เสียหายได้ใช้มือกุมสร้อยคอที่หลุดจากคอแต่ยังอยู่ที่บริเวณหน้าอกไว้ได้ทันจำเลยแย่งเอาไปไม่ได้แม้สร้อยคอจะอยู่ที่มือจำเลยตอนกระชากก็เป็นการกระทำในขั้นที่มุ่งหมายจะให้สร้อยขาดหลุดจากคอผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อสร้อยขาดแล้วจำเลยยังไม่ทันยึดถือเอาไป ผู้เสียหายก็กุมสร้อยเอาไว้ได้ การที่จำเลยจะยึดถือเอาสร้อยไปยังไม่บรรลุผลการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์: การกระชากสร้อยคอจนขาด ไม่ถือเป็นการยึดถือทรัพย์สำเร็จ
จำเลยเข้าบีบคอผู้เสียหายทางด้านหลัง แล้วกระชากสร้อยคอห้อยพระเครื่องที่สวมอยู่ที่คอจนสร้อยขาดจากกัน ในทันใดผู้เสียหายได้ใช้มือกุมสร้อยคอที่หลุดจากคอแต่ยังอยู่ที่บริเวณหน้าอกไว้ได้ทัน จำเลยแย่งเอาไปไม่ได้แม้สร้อยคอจะอยู่ที่มือจำเลยตอนกระชาก ก็เป็นการกระทำในขั้นที่มุ่งหมายจะให้สร้อยขาดหลุดจากคอผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อสร้อยขาดแล้วจำเลยยังไม่ทันยึดถือเอาไป ผู้เสียหายก็กุมสร้อยเอาไว้ได้ การที่จำเลยจะยึดถือเอาสร้อยไปยังไม่บรรลุผล การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระชากสร้อยคอจำนำคืนไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่ฟ้องผิดฐานทำให้ลงโทษฐานอื่นไม่ได้
คดีอาญาส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยไม่ได้ ศาลฎีกาก็พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ประกอบด้วยมาตรา 201
จำเลยจำนำสร้อยคอของตนไว้กับผู้เสียหายเพื่อเอาเงินมา เล่นการพนัน แล้วจำเลยกระชากสร้อยเส้นนั้นไปจากคอผู้เสียหาย ไม่เป็นผิดฐานลักทรัพย์เพราะสร้อยนั้นเป็นของจำเลยเอง และเมื่อไม่เป็นการลักทรัพย์ก็ไม่อาจเป็นผิดฐานชิงทรัพย์ได้
การกระทำของจำเลยดังกล่าวแล้วนั้นอาจเป็นผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349 แต่โจทก์ฟ้องว่าชิงทรัพย์จะลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ไม่ได้ เพราะถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง คดีต้องยกฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานโกงเจ้าหนี้ด้วยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดแผลจากสร้อยคอขาด: การพิจารณา 'บาดเจ็บ' ทางกฎหมายอาญา
กระชากสร้อยคอจากคอเจ้าทรัพย์ จนสร้อยคอขาดบาดคอเจ้าทรัพย์เป็นบาดแผลที่คอแถบขวาเป็นรอยผื่นแดงยาว 6 ซ.ม. กว้าง 1 ซ.ม. กลางมีรอยขีดหนังขาดยาว 5 ซ.ม. เป็นบาดแผลหนังขาดโลหิตซับ รักษา 3 วันหาย ดังนี้ ยังไม่เป็นบาดแผลถึงบาดเจ็ยตามความหมายแห่ง ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 254.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระชากสร้อยคอไม่ถึงขั้นเป็น 'บาดเจ็บ' ตามกฎหมายอาญา
กระชากสร้อยคอจากคอเจ้าทรัพย์ จนสร้อยคอขาดบาดคอเจ้าทรัพย์เป็นบาดแผลที่คอแถบขวาเป็นรอยผื่นแดงยาว 6 เซ็นติเมตรกว้าง 1 เซ็นติเมตร กลางมีรอยขีดหนังขาดยาว5เซ็นติเมตรเป็นบาดแผลหนังขาดโลหิตซับ รักษา 3 วันหาย ดังนี้ ยังไม่เป็นบาดแผลถึงบาดเจ็บตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254