พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835-4836/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การยกที่ดินให้สร้างวัด, และสิทธิในการฟ้องขับไล่ของผู้รับโอน
การขออนุญาตสร้างวัดเป็นเรื่องการแสดงเจตนาของบุคคลที่ประสงค์จะสร้างวัดและเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลไม่ใช่เกิดจากนิติกรรมหรือกฎหมายจึงไม่อาจบังคับให้บุคคลไปขออนุญาตสร้างวัดได้ กฎกระทรวงฉบับที่1(พ.ศ.2507)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา6,32หมายความว่าบุคคลใดประสงค์จะให้ที่ดินเพื่อสร้างวัดต้องทำสัญญากับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดและเมื่อทางราชการอนุญาตให้ตั้งวัดแล้วก็ต้องโอนที่ดินให้แก่วัดหากไม่ดำเนินการนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องบังคับให้โอนได้ส่วนการกล่าวด้วยวาจายกที่ดินให้สร้างวัดหามีผลอย่างใดไม่เมื่อโจทก์ที่2และที่3ไม่ได้ทำหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดกับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่2ซึ่งมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ที่1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสร้างวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ส่งผลให้ไม่มีอำนาจฟ้องร้องเกี่ยวกับที่ดิน
วัดโจทก์จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2482 ก่อนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505ใช้บังคับ กรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ รัตนโกสินทรศก 121 การจะสร้างวัดขึ้นใหม่ตามกฎหมายดังกล่าวนี้จะต้องมีการขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างเสียก่อนจึงจะสร้างได้ แต่วัดโจทก์นี้ราษฎรพร้อมใจกันจัดสร้างขึ้นโดยไม่มีการขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้าง จึงเป็นการสร้างวัดขึ้นใหม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 9 แห่งกฎหมายดังกล่าว และไม่มีสภาพเป็นวัดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 แห่งกฎหมายฉบับนั้น เพราะฉะนั้นที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่ามีผู้ยกให้ จึงไม่ใช่สมบัติของวัดอันจะถือว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ วัดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละที่ดินเพื่อสร้างวัดและการได้มาซึ่งที่ดินโดยทางครอบครองของวัด
การที่เจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่จัดสร้างวัดขึ้นในที่ดินแล้วถวายให้เป็นวัดและทางราชการได้ประกาศตั้งให้เป็นสำนักสงฆ์ตามพระะราชบัญญัติคณะสงฆ์แล้วก็ต้องถือว่าเป็นวัดตามกฎหมายวัดย่อมเป็นนิติบุคคลซึ่งมีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วัดจึงอาจได้ที่ดินมาโดยทางครอบครองได้ (อ้างฎีกา1253/2481,944-945/2497)
เจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญมอบการครอบครองที่ดินที่สร้างวัดและสิ่งปลูกสร้างถวายให้เป็นของวัดและวัดเข้าครอบครองแล้วก็ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินสละการครอบครองไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้แต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 541/2500)
เมื่อเจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสละการครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถวายวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้วเจ้าของที่ดินนั้นก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่หรือห้ามพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าอาวาสได้
เจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญมอบการครอบครองที่ดินที่สร้างวัดและสิ่งปลูกสร้างถวายให้เป็นของวัดและวัดเข้าครอบครองแล้วก็ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินสละการครอบครองไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้แต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 541/2500)
เมื่อเจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสละการครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถวายวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้วเจ้าของที่ดินนั้นก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่หรือห้ามพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าอาวาสได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9543/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินยกให้วัด: การอุทิศที่ดินเพื่อสร้างวัดทำให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดโดยสมบูรณ์ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากผู้อื่นแล้วยกให้วัดโจทก์ที่ 1 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล ต่อมาเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2513 โดยมีโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส โจทก์ที่ 2 ก็ได้แสดงเจตนายืนยันว่าได้มีการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ตลอดมาโดยมีการทำบันทึกถ้อยคำว่า โจทก์ที่ 1 มีความประสงค์ขอรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2513 ถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่สร้างวัดที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของแผ่นดินสำหรับใช้เป็นที่สำหรับสร้างวัดโจทก์ที่ 1 ตามเจตนาของผู้อุทิศทันทีโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เมื่อสร้างวัดโจทก์ที่ 1 เสร็จเรียบร้อย กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคมเห็นชอบให้ตั้งวัดโจทก์ที่ 1 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โดยสมบูรณ์ตั้งแต่บัดนั้น เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แล้วตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ที่ 1 มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนซึ่งมีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยไปยังจำเลยร่วมที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย