พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมีใบจองก่อนออก น.ส.3ก. ไม่ขัดกฎหมาย และสิทธิครอบครองย่อมตกแก่ผู้รับโอน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่าการที่ น.โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2)ตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์ เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497มาตรา 8 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
น.ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) โดยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง (น.ส.2) ที่ดินพิพาทให้แก่ น. การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8วรรคสอง ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น(พ.ศ.2530)
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การที่ น.โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อตีใช้หนี้ จะขัดต่อ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
น.โอนที่ดินพิพาทขณะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีใบจอง (น.ส.2) ให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา กรณีเป็นเรื่องที่ น.แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การครอบครองของ น.ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377 วรรคแรกโจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง กรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 และการสละการยึดถือครอบครองในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ตามป.พ.พ.มาตรา 1378
แม้ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31 แห่งป.ที่ดินก็ตาม แต่ทางราชการเพิ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ น.ภายหลังจากที่ น.ได้สละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปแล้ว การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงมิได้กระทำภายในระยะเวลาห้ามโอน ไม่ตกเป็นโมฆะ
น.ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) โดยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง (น.ส.2) ที่ดินพิพาทให้แก่ น. การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8วรรคสอง ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น(พ.ศ.2530)
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การที่ น.โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อตีใช้หนี้ จะขัดต่อ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
น.โอนที่ดินพิพาทขณะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีใบจอง (น.ส.2) ให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา กรณีเป็นเรื่องที่ น.แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การครอบครองของ น.ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377 วรรคแรกโจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง กรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 และการสละการยึดถือครอบครองในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ตามป.พ.พ.มาตรา 1378
แม้ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31 แห่งป.ที่ดินก็ตาม แต่ทางราชการเพิ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ น.ภายหลังจากที่ น.ได้สละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปแล้ว การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงมิได้กระทำภายในระยะเวลาห้ามโอน ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7937/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นใหม่ - สละการครอบครองทรัพย์สิน
ปัญหาว่า โจทก์จำเลยได้บันทึกให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์พิพาทและจัดการแบ่งให้บุตรแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งถือว่าโจทก์สละประเด็น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะบังคับได้เพียงใด โดยไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความหรือไม่ จึงมิใช่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อเดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือไม่ และโจทก์มีส่วนแบ่งเพียงใดเท่านั้น ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละการครอบครองทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้วนั้น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นเดียวกัน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะบังคับได้เพียงใด โดยไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความหรือไม่ จึงมิใช่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อเดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือไม่ และโจทก์มีส่วนแบ่งเพียงใดเท่านั้น ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละการครอบครองทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้วนั้น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละการครอบครองที่ดินและบ้านทำให้สิทธิสิ้นสุด การยกที่ดินและทำพินัยกรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์สละการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์และบ้านซึ่งปลูกบนที่ดินดังกล่าว ผ.ภริยาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแต่เพียงผู้เดียวการที่ ผ. จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทให้แก่จำเลยจึงมีผลสมบูรณ์โจทก์หามีสิทธิขอเพิกถอนได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่อง แม้ออกจากที่ดินเนื่องจากภัยอันตราย ไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของ จ. สามีโจทก์ ไปอยู่ที่อื่นเพราะเกรงกลัวอิทธิพลของพวกจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่โจทก์ มิได้ออกไปโดยเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ยังแสดงเจตนายึดถือที่ดินพิพาทด้วยการไปร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. สามีโจทก์ และไปร้องขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท แต่ได้ยื่นคำขอคัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การออกจากที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
โจทก์ต้องออกจากที่ดินพิพาทเพราะเกรงกลัวอิทธิพลของบุตรจำเลยที่1เป็นการออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์และบุตรมิได้ออกไปโดยเจตนาสละการครอบครองโจทก์ยังแสดงเจตนายึดถือที่ดินพิพาทด้วยการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในการจัดการที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของสามีโจทก์และด้วยการขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ในเวลาต่อมาทั้งนำสืบว่าขณะที่โจทก์ออกไปจำเลยที่1ไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทและการที่จำเลยที่1คัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทการที่โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกและห้ามจำเลยที่1เข้าเกี่ยวข้องจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละการครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การครอบครองแทนและการโอนสิทธิระหว่างราษฎร
แม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติไม่อาจจดทะเบียนโอนได้แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิสละการครอบครองให้แก่กันได้การที่จำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วเช่าจากโจทก์ถือว่าจำเลยสละการครอบครองให้แก่โจทก์แล้วโจทก์และจำเลยที่1ได้บันทึกที่สถานีตำรวจยอมรับกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1เช่าจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ส่วนจำเลยที่2ที่3เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่1แบ่งให้ครอบครองเพราะเป็นบุตรซึ่งเป็นการอาศัยสิทธิของจำเลยที่1จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การสละการครอบครองเดิมและการครอบครองเพื่อตนเองทำให้เกิดสิทธิในที่ดิน
ข้อที่ว่า ห. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่จำเลยให้การว่าพินัยกรรมที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นจะเป็นเอกสารที่มีอยู่จริงหรือไม่ สมบูรณ์ถูกต้องแท้จริงและมีผลบังคับได้หรือไม่จำเลย ไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลย ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องว่า ห. ได้ทำพินัยกรรมยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อปี 2513 ห. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้โจทก์บุตรผู้เยาว์ของ ส.โดยให้ส.เป็นผู้จัดการมรดกห.ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายเมื่อปี 2514 หลังจากนั้นประมาณ 1 ปี ส.ไปขอรับพินัยกรรมจากอำเภอ ปรากฎว่ามีผู้แอบอ้างชื่อ ส. รับพินัยกรรมไปก่อนแล้ว แต่ ส. ก็มิได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อติดตามพินัยกรรมที่หายไป ส.และโจทก์คง ปล่อยให้ ป. และผ.อยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงจนผ. ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2525 หลังจากนั้นโจทก์ก็ปล่อยให้ ป. อยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาจนกระทั่งเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์สละการครอบครองบ้านและ ที่ดินพิพาทแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดินและการสละการครอบครอง: แนวเขตตามที่ยินยอมให้รังวัดล้ำเข้าไป ถือเป็นแนวเขตใหม่
ในการรังวัดออก น.ส.3 ก. จำเลยได้นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดล้ำรั้วไม้เข้าไปในที่ดินของโจทก์ โดยโจทก์มิได้คัดค้าน ถือว่าโจทก์ได้สละการครอบครองที่ดินส่วนที่ล้ำนั้นแล้ว ต่อมาโจทก์สร้างรั้วคอนกรีตแทนรั้วไม้ หลังจากนั้นจำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดที่ดิน ตามแนวที่ดินที่ได้ออก น.ส.3ก. จึงถือว่าจำเลยมิได้รังวัดรุกล้ำที่ดินของโจทก์ และการสร้างรั้วคอนกรีตของโจทก์เป็นการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน ส.ค.1 และผลของการสละการครอบครองต่อสิทธิในที่ดิน
จำเลยได้ครอบครองทำกินในที่ดิน ส.ค.1 ของ ล. ผู้เป็นมารดามากว่า 20 ปี แล้วจำเลยได้ขายที่ดินดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อมาเป็นเวลา6-7 ปี โดย ล. ซึ่งทราบเรื่องการซื้อขายแล้ว มิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เท่ากับ ล. สละการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยนำที่ดินไปขายให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปรบกวนการครอบครองของโจทก์ ที่ดินที่ซื้อขายเพียง ส.ค.1 ไม่อาจโอนกันได้โดยการแสดงเจตนาทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาลจะบังคับให้โอนทางทะเบียนหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน ส.ค.1 การซื้อขายที่ดินมือเปล่า และการสละการครอบครอง
จำเลยครอบครองทำกินในที่ดิน ส.ค.1 ของมารดามากว่า 20 ปีแล้วจำเลยได้ขายที่ดินบางส่วนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อมาเป็นเวลา 6-7 ปี โดยมารดาจำเลยทราบเรื่องแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับสละการครอบครองให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปรบกวนการครอบครองของโจทก์ ที่ดินที่ซื้อขายมีเพียง ส.ค.1 ไม่อาจโอนกันได้โดยการแสดงเจตนาทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลจะบังคับให้โอนทางทะเบียนหาได้ไม่