คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สลักหลังเช็ค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คก่อน/หลังแก้ไขวันที่ และผลต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คก่อนที่มีการนำไปขายให้โจทก์ ไม่ใช่สลักหลังภายหลังที่มีการแก้ไขวันที่ลงในเช็คและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยินยอมให้แก้ไข การแก้ไขดังกล่าวเป็นข้อสำคัญและเห็นประจักษ์เช็คเป็นอันเสียเฉพาะจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7212/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่จำเลยสลักหลังเช็คและโจทก์รับแลกเงินสดเป็นมูลคดีที่ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) บัญญัติให้เสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ คำว่ามูลคดีเกิดขึ้น หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คโดยบรรยายว่า เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคารสาขาชุมแพ (จังหวัดขอนแก่น) เพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ส่วนสถานที่ตั้งของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์ระบุในคำฟ้องชัดเจนว่า ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 819/5 หมู่ที่ 1 จังหวัดขอนแก่น โดยมิได้บรรยายถึงสถานที่ตั้งแห่งอื่นอีก ดังนั้น สถานที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คมาแลกเงินสดจึงได้แก่สถานที่ที่โจทก์ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งย่อมเกี่ยวข้องกับเหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คในฐานะผู้รับประกัน (อาวัล) และขอบเขตความรับผิดของผู้สลักหลัง
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริต แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค และโจทก์มิได้ยื่นแก่ธนาคารให้ใช้เงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันออกเช็คก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 ให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการรับประกันเพื่อการใช้เงินตามเช็คนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามมาตรา 940 และ 967 ประกอบด้วยมาตรา989 ในฐานะผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอันจะพึงต้องรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา 990 ดังกล่าวหาได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (ผู้รับอาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นด้วยไม่ ซึ่งเป็นกรณีต่างกัน จึงไม่อาจนำมาปรับแก่กรณีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คในฐานะผู้รับประกัน (อาวัล) ไม่ใช่ผู้สลักหลังตามกฎหมาย ผู้รับประกันต้องรับผิดร่วมกับผู้สั่งจ่าย
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ให้ถือว่า การสลักหลังนั้นเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายหรือเป็นการรับประกันเพื่อการใช้เงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามมาตรา 940 และ 967 ประกอบมาตรา 989ในฐานะผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายไม่ได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอันจะต้องรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็น ผู้รับประกันการใช้เงิน (ผู้รับอาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คในฐานะผู้รับประกัน (อาวัล) และข้อยกเว้นการฟ้องร้องผู้สลักหลังตามมาตรา 990
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริต แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค และโจทก์มิได้ ยื่นแก่ธนาคารให้ใช้เงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันออกเช็คก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 ให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียง ประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการ รับประกันเพื่อการใช้เงินตามเช็คนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามมาตรา 940 และ 967 ประกอบด้วยมาตรา 989ในฐานะผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอัน จะพึงต้องรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับ เรื่องเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลัง โอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา 990 ดังกล่าวหาได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็นผู้รับประกัน การใช้เงิน (ผู้รับอาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งสั่ง ให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นด้วยไม่ ซึ่งเป็นกรณีต่างกัน จึงไม่อาจ นำมาปรับแก่กรณีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบริษัทจากการสลักหลังเช็คโดยกรรมการผู้มีอำนาจ แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ
จำเลยที่ 1 ได้กู้เงินโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท โดยมีบริษัทจำเลยที่ 3 สลักหลังชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ ขณะที่จำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 และอ.ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 อยู่ ทั้งเช็คพิพาทก็เป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์ในฐานะผู้ครอบครองเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คเพื่อการชำระหนี้เงินกู้โดยชอบ การที่เช็คพิพาททั้งสองฉบับถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับนั้นจะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย โดยได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายทั้งสองฉบับ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ที่ว่านี้ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับพร้อมทั้งได้แสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติบังคับไว้แล้วฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมไม่
ข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ก่อนที่จำเลยที่ 1 และ อ.ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และ อ.ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 และประทับตราของจำเลยที่ 3 เป็นสำคัญโดยชอบ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 และ อ.จะได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 และบุคคลทั้งสองได้โอนหุ้นที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3ให้แก่บุคคลอื่นก่อนเช็คพิพาททั้งสองฉบับถึงกำหนดชำระเงิน โดยที่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ชุดใหม่ไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับเลยก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และ อ.ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 โดยชอบนั้นเอง การเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ในภายหลัง ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 3ที่มีอยู่ต่อโจทก์ก่อนแล้วต้องเปลี่ยนแปลงไป แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกจากกันตามวาระของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนก็ไม่ได้ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 2ต้องหลุดพ้นไป ผลแห่งการลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับของจำเลยที่ 1และ อ.ซึ่งมีตราของจำเลยที่ 3 ประทับเป็นสำคัญย่อมผูกพันให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในเช็คพิพาทต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดส่วนบุคคลจากการสลักหลังเช็ค: ประเด็นนอกคำฟ้องสัญญาซื้อขาย
โจทก์ประสงค์จะติดต่อค้าขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปจดทะเบียนตั้งบริษัท เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 3 ขึ้น จำเลยที่ 2 ก็ได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์โดยประทับตราจำเลยที่ 3 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวนั้น คดีนี้โจทก์ตั้งรูปเรื่องในฟ้องว่า จำเลยทั้งสามรับสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายโดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าสินค้าตามราคาและเวลาที่ตกลงกันไว้ ส่วนการจำหน่ายสินค้าจำเลยทั้งสามจะจำหน่ายในราคาเท่าใดก็ได้ เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสาม โจทก์มิได้เกี่ยวข้องด้วย รูปเรื่องตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรื่องของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ส่วนที่ฟ้องโจทก์บรรยายถึงเช็คพิพาทมาด้วยก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสามนำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ค่าสินค้าแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องตั๋วเงินไปด้วย แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์นำสืบว่า เช็คมีจำเลยที่ 1 ลงชื่อสลักหลังก็ไม่ปรากฏลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ตามที่พยานโจทก์อ้าง โจทก์ก็อุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงว่าเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ชี้ตำแหน่งที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คให้ศาลทราบแล้ว จำเลยไม่สืบพยาน จึงต้องฟังตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ค้ากับโจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงเครื่องมือที่เชิดออกมาให้เป็นผู้เสียภาษี กำไรที่ได้เป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ได้ตรวจดูเช็คทั้ง 7 ฉบับแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลัง ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาในทำนองขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทนั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค กรณีหนี้เดิมและการทำสัญญากู้เงิน
จำเลยเป็นผู้สลักหลังเช็คที่ ย.สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าว จำเลยซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คย่อมต้องรับผิดร่วมกับ ย.ชำระหนี้ให้โจทก์
เมื่อหนี้เดิมจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามเช็คแต่ต่อมาได้ทำสัญญากู้เงินกันแทน หนี้จำนวนนี้ย่อมเป็นหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมายแม้ตอนทำสัญญากู้เงินจำเลยมิได้รับเงินจากโจทก์ แต่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนแล้วตามจำนวนหนี้ที่ ย.สั่งจ่ายเช็คและจำเลยเป็นผู้สลักหลัง โดยจำเลยไม่จำต้องเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ร่วมกับ ย. จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้รายนี้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้มีการทำสัญญากู้เงินกันแทน ถือว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามกฎหมาย แม้ในวันทำสัญญากู้เงินจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คโดยลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค: การผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลเมื่อลงลายมือชื่อสลักหลัง
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 2 ให้การว่ามิได้ค้ำประกันเป็นอาวัลเช็คพิพาทโดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธให้ชัดแจ้งว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เพราะเหตุใด จำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่
แม้ผู้ที่โอนเช็คพิพาทให้โจทก์จะได้รับเช็คพิพาทมาจากจำเลยที่ 1ตามมูลหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้มานำสืบ เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ต. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล และจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงชื่อร่วมกับ ป.เป็นการผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคาร โดยที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สลักหลังเช็คต้องรับผิดในฐานะผู้ประกันอาวัล แม้เช็คไม่สมบูรณ์ และโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบ
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำมาแลกเงินสดจาก ส.ต่อมาเมื่อ ส.นำเช็คพิพาทมาแลกเงินสดจากโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบ เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 2ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องรับผิดใช้เงินนั้นแก่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกันอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคแรก,921,940,967 และมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คเพราะมิใช่เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้ประกันอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายไว้แล้ว จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดตามเนื้อความที่ระบุไว้ในเช็คพิพาทนั้น หาใช่เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์ไม่ จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การ ศาลชั้นต้นจึงมิได้กำหนดประเด็นพิพาทข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
of 4