คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สลากถูกรางวัล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และการซื้อสลากที่ถูกรางวัลโดยไม่มีเจตนาทุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 มีใจความว่าทำละเมิดโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างได้ลักเอาสลากกินแบ่งที่โจทก์ส่งไปรษณียภัณฑ์ไป ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้มิได้ระบุหมายเลขสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลไว้และมิได้ระบุว่าฉบับใดหายไป ก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของซึ่งโจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้อง จึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่ในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลักสลากกินแบ่งของโจทก์ที่สอดมาในซองจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนของโจทก์ไปอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ควรต้องรับผิดหรือรับผิดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เกิน 160 บาทตามไปรษณีย์นิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 539 นั้นข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีไปรษณียภัณฑ์สูญหายไปเพราะความผิดในการขนส่งจะนำมาใช้บังคับในกรณีละเมิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ที่ซุ้มริมถนนราชดำเนินและรับซื้อสลากกินแบ่งที่มีผู้นำมาขาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้จักกับผู้ที่นำสลากมาขายทั้งปรากฏว่าได้รับซื้อไว้โดยเปิดเผย กับได้นำสลากดังกล่าวไปขึ้นเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเองโดยเปิดเผย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อสลากไว้โดยทุจริตตามที่โจทก์ฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ซื้อจากท้องตลาดก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการลักทรัพย์ลูกจ้าง และการซื้อสลากถูกรางวัลโดยไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1มีใจความว่าทำละเมิดโดยลูกจ้างของจำเลยที่1ในทางการที่จ้างได้ลักเอาสลากกินแบ่งที่โจทก์ส่งไปรษณียภัณฑ์ไปขอให้จำเลยที่1ในฐานะนายจ้างรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้มิได้ระบุหมายเลขสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลไว้และมิได้ระบุว่าฉบับใดหายไปก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของซึ่งโจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้องจึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ลูกจ้างของจำเลยที่1ผู้มีหน้าที่ในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่1เป็นผู้ลักสลากกินแบ่งของโจทก์ที่สอดมาในซองจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนของโจทก์ไปอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่1ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างส่วนที่จำเลยที่1อ้างว่าไม่ควรต้องรับผิดหรือรับผิดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เกิน160บาทตามไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ539นั้นข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีไปรษณียภัณฑ์สูญหายไปเพราะความผิดในการขนส่งจะนำมาใช้บังคับในกรณีละเมิดหาได้ไม่ จำเลยที่2มีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ที่ซุ้มริมถนนราชดำเนินและรับซื้อสลากกินแบ่งที่มีผู้นำมาขายไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้รู้จักกับผู้ที่นำสลากมาขายทั้งปรากฏว่าได้รับซื้อไว้โดยเปิดเผยกับได้นำสลากดังกล่าวไปขึ้นเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเองโดยเปิดเผยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่2รับซื้อสลากไว้โดยทุจริตตามที่โจทก์ฟ้องถึงแม้จำเลยที่2จะมิได้ซื้อจากท้องตลาดก็ตามก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11224/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกสลากถูกรางวัล – การคืนเงินรางวัลและค่าสินไหมทดแทน – ความรับผิดทางอาญาของผู้สนับสนุน
การที่สลากกินแบ่งรัฐบาลถูกรางวัลที่หนึ่งและจำเลยทั้งสองร่วมกันไปรับเงินรางวัลมาแล้ว ย่อมทำให้โจทก์ร่วมหมดโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัล เท่ากับว่าโจทก์ร่วมต้องสูญเสียเงินจำนวนนั้นไปเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองโดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินหรือใช้เงินเท่ากับจำนวนเงินรางวัลที่หนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ได้ความว่าในการขอรับเงินรางวัล จำเลยทั้งสองได้รับเงินมาเพียง 3,980,000 บาท เพราะต้องเสียอากรแสตมป์ 20,000 บาท จำเลยทั้งสองต้องคืนหรือใช้เงินจำนวนเท่าที่ได้รับมาเท่านั้น และโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม โดยเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องใช้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้