คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สอบปากคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบปากคำเด็กผู้เสียหาย: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ไม่ทำให้การฟ้องเป็นโมฆะ
ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีขึ้นไป และเป็นคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี กรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ในการถามปากคำเด็กไว้ในฐานะผู้เสียหายให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กต่อหน้า ร. มารดาผู้เสียหายเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่ามีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นกับมิได้ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้บันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 133 ทวิ วรรคท้ายด้วย การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่ก็หามีผลถึงขนาดทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด และถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อนอันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการไต่สวนละเมิดอำนาจศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบธรรม การสอบปากคำไม่เพียงพอ
การกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยที่มิได้กระทำต่อหน้าศาลและผู้กล่าวหาให้การปฏิเสธ ศาลจำต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริงก่อน การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบปากคำ ด. และผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่า ด. ได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 ดังนี้ ถ้อยคำ ด. จึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารโดยมิได้สอบปากคำ และการลงโทษตามมาตราที่ถูกต้อง
จำเลยเขียนบันทึกคำให้การนายจุ้นฮองผู้ขอหนังสือเดินทางโดยมิได้สอบปากคำ ทั้งลงลายมือชื่อนายจุ้นฮองเอาเอง เพื่อให้ทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นคำให้การนายจุ้นฮอง ทำให้เสียหายแก่ราชการกรมตำรวจ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลอมเอกสารราชการ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 265 เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าเอกสารที่จำเลยทำปลอมไม่ใช่เอกสารราชการ ศาลจึงลงโทษตามมาตรา 264 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าได้ และไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารโดยมิได้สอบปากคำและลงลายมือชื่อผู้อื่น ทำให้เสียหายแก่ราชการ
จำเลยเขียนบันทึกคำให้การนายจุ้นฮองผู้ขอหนังสือเดินทางโดยมิได้สอบปากคำทั้งลงลายมือชื่อนายจุ้นฮองเอาเอง เพื่อให้ทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นคำให้การนายจุ้นฮองทำให้เสียหายแก่ราชการกรมตำรวจ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลอมเอกสารราชการ ขอให้ลงโทษตาม มาตรา 265 เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าเอกสารที่จำเลยทำปลอมไม่ใช่เอกสารราชการ ศาลก็ลงโทษตาม มาตรา 264 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าได้และไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนในการสอบปากคำ และการรับรองถ้อยคำ
การที่จะไห้ผู้ไห้ถ้อยคำสาบานหรือปติญานตนเสียก่อนหรือไม่ไนการสอบสวนนั้น เปนอำนาดของพนักงานสอบสวน ฉนั้นแม้จะไม่ไห้สาบานหรือปติญานตนก็ไม่ทำไห้การสอบสวนเสียไป
การที่พนักงานสอบสวนเรียกผู้ไห้ถ้อยคำมาแล้วอ่านถ้อยคำที่นายตำหรวดผู้อื่นได้ถามและจดไว้ไห้ฟังและสอบถามผู้ไห้ถ้อยคำเพื่อไห้รับรอง และสอบถามเพิ่มเติมนั้น ถือได้ว่าเปนการสอบสวนที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จในการขอแปลงชาติ: การสอบปากคำที่ไม่เป็นไปตามคำสั่ง
กระทรวงต่างประเทศส่งให้ตำรวจสอบสวนข้อเคยต้องโทษของผู้แปลงชาติ โดยสอบทางลายพิมพ์นิ้วมือและทางลับ แต่เจ้าพนักงานสอบถามปากคำจำเลยผู้ขอแปลงชาติ ๆ ให้การด้วยคำเท็จดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จหรือฐานบอกให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบปากคำผู้เสียหายในคดีอาญา: ผลกระทบของกฎหมายที่แก้ไขต่อความชอบด้วยกฎหมายของพยานหลักฐาน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 5 ที่ใช้บังคับขณะที่มีการสอบสวนผู้เสียหายทั้งสอง แตกต่างจาก ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 เมื่อไม่ปรากฏว่า ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งเป็นวันที่ผู้เสียหายทั้งสองเข้าให้การตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.3 และ จ.4 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้ว และคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ เป็นเพียงคดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายทั้งสองมิได้มีการร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำดังที่บัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไข) แต่อย่างใด การที่พนักงานสอบสวน ถามปากคำผู้เสียหายทั้งสองและบันทึกไว้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบปากคำผู้เยาว์ต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ หากไม่ปฏิบัติตาม พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการสอบสวน บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป...การถามปากคำเด็กไว้ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย" และในวรรคสี่บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 139 การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำดังกล่าวซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน" เมื่อจำเลยถูกกล่าวหาว่าพรากนางสาว จ. ผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท เมื่อปรากฏว่านางสาว จ. มีอายุเพียง 17 ปีเศษ การสอบปากคำนางสาว จ. ไม่ว่าในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน จึงต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสี่ โดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่จำต้องได้รับการร้องขอจากนางสาว จ. ทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลตามวรรคหนึ่งได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 133 ทวิ วรรคห้าแต่อย่างใด การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำนางสาว จ. โดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะเป็นการไม่ชอบแต่ก็หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด และถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อน อันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5922/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบปากคำผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาในคดีอาญา และการสนับสนุนการข่มขืน
ในการสอบปากคำผู้เสียหายซึ่งมีความบกพร่องทางสติปัญญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติการสอบไว้เฉพาะเหมือนดังเช่นการสอบปากคำผู้เสียหายที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศตามมาตรา 133 ทวิ ว่า จะต้องมีสหวิชาชีพร่วมอยู่ด้วยในการสอบปากคำเด็กนั้น ด้วยเหตุนี้พนักงานสอบสวนจึงชอบที่จะใช้วิธีการสอบปากคำผู้เสียหายคดีนี้ซึ่งมีความบกพร่องทางสติปัญญาเช่นเดียวกับการสอบปากคำบุคคลปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่าการสอบปากคำผู้เสียหายของพนักงานสอบสวนได้ให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับหรือกระทำโดยมิชอบด้วยประการใดๆ เพื่อจูงใจให้ผู้เสียหายให้การ ก็ถือเป็นการสอบสวนโดยชอบเพื่อนำไปสู่กระบวนการแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยที่ 2 ได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงตามคำให้การของผู้เสียหายซึ่งไม่มีแพทย์ด้านจิตเวชศาสตร์และนักจิตวิทยาคลินิกและชุมชนเข้าร่วมฟังการสอบสวนจะมีความน่าเชื่อถือและรับฟังได้มากน้อยเพียงใด ถือเป็นดุลพินิจของศาลในขั้นตอนการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน