พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4787/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความรับผิดของผู้ขนส่งและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์เดินทางจากกรุงเทพมหานครไปถึงจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 อันเป็นวันที่จำเลยควรจะส่งมอบกระเป๋าเดินทางสูญหายให้แก่โจทก์ อายุความย่อมเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2542 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว แต่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือยินยอมชดใช่ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 400 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะไม่เต็มตามจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของสิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายและการอายัดทรัพย์เพื่อบังคับคดี การสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยในค่าสินค้างวดที่ค้างชำระที่มีอยู่ต่อผู้คัดค้านแทนจำเลย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีแก่ผู้คัดค้านคือค่าสินค้างวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 10 ของราคา เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเท่าไรหากไม่ถึงจำนวนที่อายัด ผู้คัดค้านก็รับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น แม้เดิมโจทก์ขออายัดชั่วคราวเป็นเงิน 760,000 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเป็นเงิน 954,810 บาท โดยนำยอดหนี้ของจำเลยทั้งหมดรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีแก่ผู้คัดค้านคือค่าสินค้างวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 10 ของราคา เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเท่าไรหากไม่ถึงจำนวนที่อายัด ผู้คัดค้านก็รับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น แม้เดิมโจทก์ขออายัดชั่วคราวเป็นเงิน 760,000 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเป็นเงิน 954,810 บาท โดยนำยอดหนี้ของจำเลยทั้งหมดรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: การเรียกจำเลยร่วมและการสะดุดหยุดของอายุความ
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการเสียหายแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่รับขนตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2543 แต่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเรียกจำเลยร่วม (ผู้ขนส่งอื่น) เข้ามาในคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 โจทก์จึงขอเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 (ผู้ขนส่ง) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าภายในกำหนดอายุความดังกล่าวก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องคดีเพื่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ก็หาทำให้อายุความสำหรับจำเลยร่วมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ไม่ เพราะกำหนดอายุความย่อมเป็นไปเพื่อเป็นคุณและโทษแก่ลูกหนี้แต่ละคนโดยเฉพาะ และกำหนดอายุความสำหรับจำเลยร่วมต้องถือตามวันที่โจทก์ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีซึ่งเป็นวันเริ่มต้นคดีเพื่อให้จำเลยร่วมชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่ง คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความตามมาตรา 46 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างรายเดือนสะดุดหยุดเมื่อลูกหนี้ยอมรับหนี้ แม้จะยังไม่ชำระ
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ทำงานที่รับจ้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2539 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกเงินค่าจ้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 เกิน 2 ปี จึงขาดอายุความตามกฎหมาย เป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้อย่างชัดเจนแล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างโดยแบ่งค่าจ้างเป็นรายงวดหรือรายเดือนและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใด คดีเริ่มนับอายุความและขาดอายุความในเวลาใดและมาจากสาเหตุใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์และจำเลยที่ 2 จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้โดยชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์เป็นรายเดือน กล่าวคือ เมื่อโจทก์ทำงานให้จำเลยที่ 2 ครบเสร็จสิ้นในเดือนใด จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทันทีในวันสิ้นงวดเดือนนั้น หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 และหากอายุความสะดุดหยุดลงสำหรับค่าจ้างในเดือนใดก็จะมีผลต่อค่าจ้างของเดือนนั้นเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างรับจ้างดูแลกิจการของจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิเรียกเอาสินจ้างที่พึงได้รับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นงวดเดือนเป็นต้นไปในแต่ละงวดเดือนที่จำเลยที่ 2 ผิดนัด ซึ่งมาตรา 193/34 (7) กำหนดอายุความเรียกร้องไว้ 2 ปี
จำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ 2 งวดเดือนหลังสุดซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 เมษายน 2539 ปรากฏว่า ส. กรรมการโครงการได้มีหนังสือแจ้งตอบการทวงถามให้ชำระหนี้ไปยังโจทก์โดย ส. ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 ติดค้างค่าจ้างทำงานตามที่โจทก์ทวงถามมาจริงแต่ขอชำระให้บางส่วนซึ่งเป็นค่าจ้างสำหรับ 2 งวดเดือนแรก ส่วนที่เหลือสำหรับงวด 2 เดือนสุดท้ายนั้น จำเลยที่ 2 จะชำระให้ ต่อมาเมื่อได้มีการเริ่มกิจกรรมใหม่ของโครงการตามที่ได้มีการเจรจากันไว้แล้ว ดังนั้นหนังสือดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้รับหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปี ค่าจ้างที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่ในแต่ละงวดเดือนของ 2 งวดเดือนหลังก็ยังขาดอายุความอยู่ดี
จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์เป็นรายเดือน กล่าวคือ เมื่อโจทก์ทำงานให้จำเลยที่ 2 ครบเสร็จสิ้นในเดือนใด จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทันทีในวันสิ้นงวดเดือนนั้น หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 และหากอายุความสะดุดหยุดลงสำหรับค่าจ้างในเดือนใดก็จะมีผลต่อค่าจ้างของเดือนนั้นเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างรับจ้างดูแลกิจการของจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิเรียกเอาสินจ้างที่พึงได้รับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นงวดเดือนเป็นต้นไปในแต่ละงวดเดือนที่จำเลยที่ 2 ผิดนัด ซึ่งมาตรา 193/34 (7) กำหนดอายุความเรียกร้องไว้ 2 ปี
จำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ 2 งวดเดือนหลังสุดซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 เมษายน 2539 ปรากฏว่า ส. กรรมการโครงการได้มีหนังสือแจ้งตอบการทวงถามให้ชำระหนี้ไปยังโจทก์โดย ส. ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 ติดค้างค่าจ้างทำงานตามที่โจทก์ทวงถามมาจริงแต่ขอชำระให้บางส่วนซึ่งเป็นค่าจ้างสำหรับ 2 งวดเดือนแรก ส่วนที่เหลือสำหรับงวด 2 เดือนสุดท้ายนั้น จำเลยที่ 2 จะชำระให้ ต่อมาเมื่อได้มีการเริ่มกิจกรรมใหม่ของโครงการตามที่ได้มีการเจรจากันไว้แล้ว ดังนั้นหนังสือดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้รับหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปี ค่าจ้างที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่ในแต่ละงวดเดือนของ 2 งวดเดือนหลังก็ยังขาดอายุความอยู่ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการชำระหนี้บางส่วนหลังขาดอายุความ ไม่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
เมื่อสิทธิเรียกร้องขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/10และ 193/28 ให้จำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ได้ เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธินั้นโดยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ จึงมีผลเพียงว่า จำเลยจะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนไม่ได้เท่านั้นส่วนการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) จะต้องกระทำก่อนที่หนี้นั้นจะขาดอายุความ ดังนั้น การชำระหนี้ของจำเลยภายหลังที่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดจากเจรจาชดใช้ค่าเสียหาย แม้ยังไม่กำหนดจำนวนเงินแน่นอน
ช.ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายกับผู้เสียหายทุกคน แล้วรับข้อเสนอของผู้เสียหายแต่ละคนที่ได้เรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนที่ระบุไว้ในบันทึกเพื่อนำไปเสนอจำเลยที่ 2 พิจารณาจำนวนเงินที่ผู้เสียหายแต่ละคนเรียกร้องอีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับตามบันทึกเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหาย ช. ได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบว่า จำเลยที่ 2 จะรับผิดชอบค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามความเป็นจริงเท่านั้น จากบันทึกทั้งสองฉบับมีความหมายว่า ช. ได้ตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายทุกคนตามที่ได้รับมอบหมายอำนาจจากจำเลยที่ 2 แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้กำหนดจำนวนเงินแน่นอนที่จะจ่ายให้แก่ผู้เสียหายแต่ละคนเท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) แล้ว จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาโจทก์ทราบจากพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อนับแต่วันทราบดังกล่าวถึงวันฟ้องฟังไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยแสดงเจตนาชดใช้ค่าเสียหาย แม้ยังไม่ได้ตกลงจำนวนเงิน
เกิดเหตุละเมิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2540 ช. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้มีอำนาจเจรจาตกลงค่าเสียหาย ได้ทำบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายว่า ช. ตกลงกับผู้เสียหายทุกคน แล้วรับข้อเสนอของผู้เสียหายแต่ละคนเพื่อนำไปเสนอจำเลยที่ 2 พิจารณา ประกอบกับตามบันทึกเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหาย ช. ได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบว่า จำเลยที่ 2 จะชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บตามหลักฐานหรือใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่แท้จริงสำหรับผู้ตายให้ศพละ 50,000 บาท ความเสียหายต่อทรัพย์สินให้ประเมินตามความเป็นจริง ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) แล้ว จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2540จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทราบจากพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2ปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยการชำระด้วยเช็คของผู้อื่น ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ตามสำเนาบันทึกที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ทำขึ้นมีข้อความว่า โจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์จึงเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ อายุความจึงสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้ และเริ่มนับใหม่เมื่อศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในคดีดังกล่าวยอมรับว่าที่ดินพิพาทที่นำยึดเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยและขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลย ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั้นแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตาม มาตรา193/15 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย วันที่ 18 กรกฎาคม 2539 เป็นเหตุที่ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดในวันดังกล่าวตาม มาตรา 193/15 จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2539โจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ วันที่ 4 กันยายน 2539 ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีล้มละลาย: ผลของการยกคำขอรับชำระหนี้และการสะดุดหยุดของอายุความ
แม้การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายคดีก่อนจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(3) แต่ก็ปรากฏว่าศาลในคดีดังกล่าวเห็นชอบตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ลูกหนี้ค้างชำระ ซึ่งเจ้าหนี้มิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลในคดีดังกล่าวจึงถึงที่สุด ต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/17และมาตรา 193/18 ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปมูลหนี้ดังกล่าวจึงขาดอายุความตามมาตรา 193/34(1) จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1)