พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาบัตรเครดิต: การชำระหนี้หลังขาดอายุความไม่ทำให้สะดุดอายุความ
จำเลยทำสัญญาเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปใช้แทนเงินสดในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการต่าง ๆ ตลอดจนเบิกเงินสดจากตู้เบิกเงินอัตโนมัติซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย โดยโจทก์จะออกเงินทดรองไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บจากจำเลยในภายหลัง สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี เมื่อจำเลยได้นำบัตรเครดิตไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการหลายครั้ง โจทก์แจ้งยอดรายการใช้จ่ายบัตรเครดิตให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีชำระหนี้จำนวนน้อยซึ่งไม่เพียงพอชำระหนี้ เป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์บอกเลิกสัญญาใช้บัตรเครดิตเมื่อเดือนตุลาคม 2540 อายุความจึงเริ่มนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
การที่จำเลยได้ชำระหนี้จำนวน 500 บาท แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 ภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้วก็เป็นเพียงกรณีจำเลยไม่สามารถเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่ถือเป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความที่ขาดไปแล้วสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยสละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2546)
การที่จำเลยได้ชำระหนี้จำนวน 500 บาท แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 ภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้วก็เป็นเพียงกรณีจำเลยไม่สามารถเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่ถือเป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความที่ขาดไปแล้วสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยสละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2546)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด การยึดทรัพย์ไม่ทำให้อายุความสะดุด
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 และอายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา193/14 แต่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์นั้นเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดผลตามคำพิพากษามิใช่เป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(5)ฉะนั้นการที่โจทก์นำหนี้ที่เหลือมาฟ้องให้จำเลยทั้งสามล้มละลายเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การประเมินและการบังคับชำระหนี้ภาษีทำให้สะดุดอายุความ
ป.รัษฎากร มาตรา 30 กำหนดให้อุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้พิจารณายกเลิกเพิกถอนแก้ไขการประเมินได้ แต่จำเลยไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมิน ย่อมถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวชอบแล้วและเป็นอันยุติ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะเงินรายรับบางส่วนไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่
จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษีและการล้มละลาย: การสั่งบังคับเป็นเหตุสะดุดอายุความ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดให้อุทธรณ์ การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้พิจารณายกเลิก เพิกถอนแก้การประเมินได้ แต่จำเลยไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ การประเมิน ย่อมถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวชอบแล้วและเป็นอันยุติ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าการ ประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ เพราะเงินรายรับบางส่วนไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่ จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลการสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(5)อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษี การแจ้งภาษีและการสั่งบังคับหนี้เป็นเหตุสะดุดอายุความ
ส.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยร่วม ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายให้จำเลยร่วมชำระโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึง ส.ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยร่วม ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้รับหนังสือให้ชำระภาษีอากรดังกล่าว ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก แล้ว หากจำเลยร่วมเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไรก็ชอบจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 30 แต่จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว หนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวย่อมเด็ดขาด
โจทก์ได้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ตั้งบริษัทมาท้ายฟ้อง แต่จำเลยที่ 3 หาได้โต้แย้งคัดค้านความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ไม่ ยิ่งกว่านั้นสำเนาเอกสารดังกล่าว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบพยานถึงความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าวก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าหุ้นที่จำเลยทั้งสามยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนถืออยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยร่วมจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อมาชำระภาษีอากร ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/04986 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/02013 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน283,490 บาท และ 40,025.62 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินยังมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/05150 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/225596 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 122,976 บาท และ 1,486.43 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมทราบจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอันใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) ซึ่งมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.28 จ.29 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 9 มกราคม2529 และสิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรตามหนังสือภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 แล้วเริ่มนับอายุความใหม่เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ 9 มกราคม 2529 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2529ตามลำดับ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมายจ.60 และ จ.61 เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนดอายุความ 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ตั้งบริษัทมาท้ายฟ้อง แต่จำเลยที่ 3 หาได้โต้แย้งคัดค้านความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ไม่ ยิ่งกว่านั้นสำเนาเอกสารดังกล่าว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบพยานถึงความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าวก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าหุ้นที่จำเลยทั้งสามยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนถืออยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยร่วมจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อมาชำระภาษีอากร ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/04986 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/02013 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน283,490 บาท และ 40,025.62 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินยังมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/05150 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/225596 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 122,976 บาท และ 1,486.43 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมทราบจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอันใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) ซึ่งมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.28 จ.29 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 9 มกราคม2529 และสิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรตามหนังสือภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 แล้วเริ่มนับอายุความใหม่เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ 9 มกราคม 2529 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2529ตามลำดับ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมายจ.60 และ จ.61 เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนดอายุความ 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย: การฟ้องภายใน 10 ปี ทำให้สะดุดอายุความ
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483บัญญัติไว้โดยเฉพาะอันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(2)คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงหรือไม่อีก ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาและเมื่อการฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วยกรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มาใช้บังคับเมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8,14แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดจะพ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตามก็หามีผลต่อคดีไม่ส่วนข้อที่ว่าโจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4990/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดจากการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วนของจำเลย ย่อมทำให้การนับอายุความเริ่มใหม่
โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายหรือกล่าวในฟ้องด้วยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดเพราะอายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่จำเป็นต้องบรรยายหรือกล่าวในฟ้อง โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่2เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจำเลยที่2ยอมชดใช้ค่าเสียหายเพียง10,000บาทแก่โจทก์แสดงว่าจำเลยที่2ไม่ได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดค่าเสียหายต่อโจทก์แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วก็ตามถือเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหาจำต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งเพียงอย่างเดียวไม่จำเลยที่2จึงไม่อาจอ้างอายุความมาเป็นข้อตัดฟ้องเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192เดิม(มาตรา193/24ใหม่)การนับอายุความจึงเริ่มนับต่อไปใหม่เสมือนไม่เคยนับอายุความมาก่อนโดยถืออายุความแห่งมูลหนี้เดิมคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโจทก์ยื่นคำฟ้องวันที่16ตุลาคม2532นับอายุความเริ่มต่อไปใหม่ตั้งแต่เดือนกันยายน2532จนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน1ปีคดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่2จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรับสภาพหนี้ไม่สมบูรณ์ ไม่ทำให้สะดุดอายุความ
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือให้โจทก์มีข้อความสำคัญว่า จำเลยที่ 1ยอมรับว่ามีสินค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1ขาดบัญชีคิดตามราคาทุนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์และยินยอม จะใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีแก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: เหตุสุดวิสัยไม่สะดุดอายุความ
บทบัญญัติเรื่องเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถทำให้อายุความสะดุดหยุดลงอันเป็นเหตุให้อายุความยังไม่ครบบริบูรณ์ดังที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 187 นำมาใช้ในคดีอาญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้โดยผู้ชำระบัญชี ส่งผลสะดุดอายุความค้างชำระหนี้
การที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้มีหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ว่าเจ้าหนี้มีชื่อเป็นเจ้าหนี้ในสมุดบัญชีของลูกหนี้ ขอให้เจ้าหนี้ติดต่อแสดงหลักฐานการเป็นหนี้ เมื่อเจ้าหนี้นำหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ไปแสดง .......... ผู้ชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้ก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ที่ลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้ ผู้ชำระบัญชีกลับมีหนังสือถึงเจ้าหนี้ให้นำตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังกล่าวไปเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทที่ได้รับมอบหมาย พฤติการณ์ของบริษัทลูกหนี้ดังนี้ เป็นการกระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ อายุความย่อมสะดุดหยุดลง เมื่อนับถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังไม่พ้นเวลาสามปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินยังไม่ขาดอายุความ.