คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สะพาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8001/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของวิศวกรและผู้รับเหมาต่อความเสียหายของผิวจราจรสะพานอันเกิดจากการออกแบบ, วัสดุ, และการก่อสร้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบปฏิบัติผิดสัญญาจ้างออกแบบผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้สารกันน้ำซึม และฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานปฏิบัติผิดสัญญาจ้างมิได้ตรวจสอบแบบและข้อกำหนดเกี่ยวกับสารน้ำซึมและวัสดุพื้นผิวจราจรที่ใช้ในการก่อสร้างว่าถูกต้องสามารถนำไปใช้งานได้หรือไม่ ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ชำรุดบกพร่อง อันมีอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 แต่เป็นการฟ้องให้รับผิดเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างธรรมดาคือออกแบบและควบคุมงานผิดพลาดซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สัญญาจ้างทั้งสองฉบับระบุเรียกชื่อคู่สัญญาฝ่ายจำเลยทุกคนรวมกันว่า "วิศวกร" ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการจัดองค์กรทำงานระหว่างจำเลยด้วยกันเองเป็นเรื่องภายในกลุ่มของจำเลยเองไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนต่อโจทก์ได้
ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะต้องศึกษาถึงคุณสมบัติของมาสติคแอสฟัลท์อย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอุณหภูมิที่จะทำให้มาสติคแอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปเพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนและพื้นผิวสะพานที่ออกแบบไว้เป็นเหล็กอากาศร้อนย่อมมีโอกาสที่จะทำให้ความร้อนที่สะสมบนพื้นผิวสะพานที่ทำด้วยเหล็กสูงขึ้นจนทำให้มาสติคแอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปได้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้ศึกษาโดยละเอียดถึงคุณสมบัติของมาสติคแอสฟัลท์ ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ต้องตรวจสอบงานแบบของวิศวกรผู้ออกแบบตั้งแต่แรกด้วยความระมัดระวังว่าสารกันน้ำซึมชนิดมาสติคแอสฟัลท์เหมาะสมที่จะใช้กับสะพานที่มีพื้นผิวเป็นเหล็กหรือไม่ แต่กลับไม่ทำการตรวจสอบให้ดี เมื่อผู้รับเหมาทักท้วงก็หาได้รีบทำการตรวจสอบหรือทดสอบให้ได้ความจริง แต่กลับยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์จนผู้รับเหมาต้องทักท้วงหลายครั้ง จึงได้ทำการทดสอบและยอมรับว่าไม่เหมาะสม ย่อมเป็นความผิดพลาดบกพร่องไม่ใช้ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยการสร้างสะพาน แม้เป็นประโยชน์สาธารณะ ก็ต้องรับผิดชอบหากทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างสะพานกว้าง 1 เมตรยาว 50 เมตร ลงในคลองสำโรง ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะห่างประมาณ 1 ถึง 2 เมตร สะพานมีลักษณะมั่นคงและถาวร การปลูกสร้างสะพานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็น ที่เล็งเห็นได้ว่า สะพานนั้นน่าจะหรืออาจทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ ที่ดินของโจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองสำโรง ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินขณะปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทำลงในคลองสาธารณะและ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนดังข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และ 4 โจทก์ก็มีสิทธิจะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายสะพานจากอุบัติเหตุ พิจารณาความเสียหายจริงและการไม่ซ่อมแซมเนื่องจากการปรับปรุงถนน
ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่จะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 วรรคแรก ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และ ความร้ายแรงแห่งละเมิด เมื่อความเสียหายของสะพานลอยคนข้าม ที่ถูกรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับชนเป็นรอยโก่ง ขึ้นเท่านั้น และเอกสารเสนอราคาค่าซ่อมแซมสะพานที่มีราคาสูงถึง 364,800 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่ารถยกตัวสะพานลง และขึ้นและค่าไม้สำหรับทำนั่งร้านรองรับตัวสะพาน ส่วนค่าซ่อมตัวสะพานจุดที่จะต้องตัดต่อและเปลี่ยน เหล็กโครงสร้างใหม่เป็นเงินเพียง 56,560 บาท แต่อย่างไรก็ตามโจทก์ก็ไม่ได้ทำการซ่อมแซมสะพานดังกล่าว เนื่องจากโจทก์ได้ปรับปรุงขยายถนนบริเวณดังกล่าวเป็น 10 ช่องจราจรจึงได้รื้อถอนสะพานออกไป การกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ให้โจทก์ 70,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อจากการจอดรถเสียบนสะพานทำให้เกิดอุบัติเหตุ การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุโดยตรง
รถโดยสารคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับได้จอดอยู่บนสะพาน ด้วยเหตุรถเสียตั้งแต่เวลาประมาณ 22 นาฬิกา โดยจำเลยที่ 3 เปิดไฟกะพริบไว้ทางด้านท้ายรถโดยสารและได้นำเบาะรถมาวางพาดไว้ทางด้านซ้ายรถโดยสารทั้งนำถุงพลาสติกมาผูกติดไว้เพื่อให้สามารถมองเห็นได้เป็นเครื่องหมายในการป้องกันเหตุ แต่จุดที่รถโดยสารจอดอยู่นั้นเลยส่วนโค้งกลางสะพานไปเพียง 30 เมตร และรถที่แล่นมาจะสามารถเห็นรถโดยสารที่จอดเสียนั้นต่อเมื่อขึ้นโค้งสะพานแล้ว ไฟกะพริบที่จำเลยที่ 3 เปิดไว้ก็ดี เบาะรถตลอดจนถุงพลาสติกที่ผูกติดไว้ก็ดี ล้วนแต่อยู่ติดกับตัวรถโดยสารทั้งสิ้นระยะห่างที่สามารถเห็นได้จึงอยู่ในระยะเดียวกับที่รถโดยสารจอดเสียคือประมาณ 30 เมตร จากส่วนโค้งกลางสะพานเท่านั้น โดยเป็นระยะที่กระชั้นชิดซึ่งคาดเห็นได้ว่าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่รถยนต์ที่สัญจรได้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดอันตราย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนสะพาน: ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจำเลยสร้างสะพานบุกรุกที่ดินของโจทก์
คำขอของโจทก์ที่ว่าหากจำเลยไม่ยอมรื้อสะพานที่จำเลยสร้างบุกรุกเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่บางส่วนแล้ว ให้โจทก์มีสิทธิรื้อถอนได้โดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่ารื้อถอนนั้น เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ชอบที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการบำรุงรักษาสะพาน ทำให้ผู้ขับขี่ได้รับความเสียหาย
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตร มาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 (3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการเสริมถนนและไม่แก้ไขป้ายความสูงสะพาน
น. ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลัง คอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารภมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้ สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตรแต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตรน. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดู ว่ารถจะแล่นลอดใต้ สะพานไปได้หรือไม่ แล้ว น. ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อท.บอกให้หยุด น. ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อย ของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยว ชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่า สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น. เชื่อ ว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้เช่น สะพานลอย6 สะพานที่ น. ขับลอด ผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ช. การที่ น. มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้าย ซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้าย และช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบกพ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้ สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตรได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการปิดกั้นทางเข้าออก แม้สะพานมิได้สร้างบนที่ดินโจทก์แต่ปิดกั้นทางเข้าออกได้
คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแต่เพียงประเด็นเดียวศาลย่อมพิจารณาพิพากษาคดีให้ตามที่ตกลงกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลประมาทเลินเล่อปล่อยสะพานชำรุด ผู้เสียหายประมาทเอง ศาลแบ่งความรับผิด
จำเลยซึ่งเป็นเทศบาลมีหน้าที่ดูแลสะพานให้มีความมั่นคงแข็งแรงการที่จำเลยปล่อยปละละเลยให้สะพานผุพัง ราวสะพานเป็นช่องโหว่อยู่ก่อนผู้เสียหายตกลงไปไม่รีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยปลอดภัย นับว่าเป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยอันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เสียหายเมื่อพิเคราะห์ถึงการที่โจทก์ตกสะพานไป โดยไม่เดินอย่างคนธรรมดามัวแต่จับตาอยู่ดูการชกต่อยระหว่างเด็ก 2 คน เสียและเอาหลังพิงราวสะพานเอามือรูดไปจนถึงช่องโหว่จนตกไป เช่นนี้ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดของโจทก์อยู่ด้วย ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์มีส่วนประกอบด้วย ค่าสินไหมทดแทนอันโจทก์ควรจะได้รับมากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
of 2