พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงเพื่อหักล้างความรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินที่ไม่สมบูรณ์ การนำสืบถึงที่มาของการลงลายมือชื่อไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากโจทก์ แต่จำเลยได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมอบให้โจทก์โดยยังไม่ได้กรอกข้อความเพื่อขอให้ผ่อนผันการจับกุม ย. ตามหมายจับของศาล และเพื่อการค้ำประกันการชำระหนี้ของ ย. ซึ่งถูก พ. ญาติโจทก์แจ้งความดำเนินคดีและพนักงานอัยการฟ้องในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ต่อมาศาลพิพากษาจำคุก ย. พ. ไม่อาจเรียกเงินตามเช็คจาก ย. ได้ จึงให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้เพราะเป็นการนำสืบถึงที่มาของการลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินเพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ หรืออีกนัยหนึ่งหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ vs. สัญญากู้ยืมเงิน: การตีความเพื่อการเสียภาษีอากร
ฎีกาของจำเลยที่ยกเหตุผลต่าง ๆ โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์มานั้น ถึงแม้เป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดี แต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมายมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ไม่รับวินิจฉัยได้
จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่า เอกสารบันทึกข้อตกลงตามคำฟ้องมีข้อความว่าเป็นการกู้ยืมเงินและอยู่ในรูปสัญญา เมื่อมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลรัษฎากรฯ นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ข้อความในบันทึกข้อตกลงที่ว่าผู้ให้สัญญายอมรับว่าได้เป็นหนี้ต่อผู้รับสัญญาจริงโดยระบุเท้าความให้เห็นว่าหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้มิใช่สัญญากู้ยืมเงินอันจะเป็นลักษณะแห่งตราสารซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ
จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่า เอกสารบันทึกข้อตกลงตามคำฟ้องมีข้อความว่าเป็นการกู้ยืมเงินและอยู่ในรูปสัญญา เมื่อมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลรัษฎากรฯ นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ข้อความในบันทึกข้อตกลงที่ว่าผู้ให้สัญญายอมรับว่าได้เป็นหนี้ต่อผู้รับสัญญาจริงโดยระบุเท้าความให้เห็นว่าหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้มิใช่สัญญากู้ยืมเงินอันจะเป็นลักษณะแห่งตราสารซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: เจตนารมณ์ของคู่สัญญาและขอบเขตความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน: การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้และดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม10,000 บาท รวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใดไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย