พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ชำระค่าระวางตามสัญญาขนส่ง แม้จะมีการตกลงเรื่องการว่าจ้างผู้ขนส่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
เมื่อจำเลยในฐานะผู้รับตราส่งแสดงเจตนาเข้ารับเอาสินค้าอันเป็นการเข้ารับเอาประโยชน์ตามสิทธิในใบตราส่งทางอากาศ จำเลยจึงย่อมมีความผูกพันต้องชำระเงินค่าระวางตามหน้าที่ของผู้ที่เข้ารับเอาประโยชน์ด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าระวาง ไม่ว่าการตกลงว่าจ้างโจทก์ผู้ขนส่งในครั้งพิพาทนั้น จำเลยจะได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองหรือบริษัท ล. ผู้ส่งเป็นผู้ว่าจ้างเองตั้งแต่ที่ต้นทางหรือว่าจ้างแทนจำเลยหรือไม่ก็ตาม ส่วนสัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท ล. กับจำเลยจะกำหนดภาระหน้าที่ในเรื่องการขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยไว้อย่างไร ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยผู้ซื้อกับบริษัท ล. ผู้ขาย ซึ่งเป็นคู่สัญญากันตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับหน้าที่ในการขนส่งสินค้าตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงตามสัญญารับขน นอกจากที่ตกลงกันไว้ในใบตราส่งทางอากาศด้วยแล้ว จำเลยต้องรับผิดตามความผูกพันในใบตราส่งทางอากาศ ชำระค่าระวางทั้งสองครั้งพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนและตัวการจากการผิดสัญญาขนส่งสินค้าและการชำระหนี้เงินต่างประเทศ
การที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทรงใบตราส่งไม่ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อที่ท่าเรือปลายทางจึงชำระเงิน 100,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ให้แก่บริษัท ย. เจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสองแทนจำเลยทั้งสองแล้วรับสินค้าไป ทั้งที่เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 หลายประการ ถึงแม้ในภายหลังโจทก์ที่ 1 จะได้ใช้เงินคืนให้โจทก์ที่ 2 แต่โจทก์ที่ 2 ก็ยังได้รับความเสียหายในส่วนอื่นอีกอันเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเหตุให้ถูกบริษัท ย. ยึดหน่วงสินค้าไว้ จึงเป็นเรื่องที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่งระหว่างโจทก์ที่ 2กับจำเลยทั้งสอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกค่าเสียหายส่วนอื่นได้
จำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยไม่มีสำนักงานหรือสาขาอยู่ในประเทศไทย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศโดยมีบำเหน็จเป็นทางค้าปกติรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งในการประกอบกิจการในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนและจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการปฏิบัติผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่โจทก์ที่ 2ผู้ทรงใบตราส่งเมื่อสินค้านั้นถึงเมืองท่าปลายทาง จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยโจทก์ที่ 2 ต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัท ย. แทนจำเลยที่ 2 ในวันที่ 13 ธันวาคม2540 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2540อันเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 ได้ชำระเงินไป จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศจึงตรงตามคำฟ้องแต่ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสองบัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง
จำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยไม่มีสำนักงานหรือสาขาอยู่ในประเทศไทย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศโดยมีบำเหน็จเป็นทางค้าปกติรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งในการประกอบกิจการในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนและจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการปฏิบัติผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่โจทก์ที่ 2ผู้ทรงใบตราส่งเมื่อสินค้านั้นถึงเมืองท่าปลายทาง จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยโจทก์ที่ 2 ต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัท ย. แทนจำเลยที่ 2 ในวันที่ 13 ธันวาคม2540 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2540อันเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 ได้ชำระเงินไป จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศจึงตรงตามคำฟ้องแต่ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสองบัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งทางอากาศ: การชำระค่าระวางและสิทธิเรียกร้องเมื่อเรียกเก็บจากผู้รับไม่ได้
แม้โจทก์ผู้ขนส่งและจำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งจะตกลงกันให้เก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 จากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ก็ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าในกรณีที่โจทก์เรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 จากผู้ซื้อที่ปลายทางไม่ได้ โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ทั้งในใบตราส่งก็ไม่ได้ระบุจำนวนค่าระวางไว้และไม่ได้มีเงื่อนไขใด ๆ ว่า หากเรียกเก็บจากผู้ซื้อไม่ได้แล้วโจทก์หมดสิทธิเรียกเอาจากจำเลย เมื่อโจทก์กับจำเลยเป็นคู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางอากาศกันโดยตรง โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้รับผิดชดใช้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่ง: ความรับผิดของผู้ส่งเมื่อเรียกเก็บค่าระวางจากผู้ซื้อไม่ได้
โจทก์และจำเลยตกลงกันขนส่งสินค้าโดยให้เก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2จากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ไม่ได้ตกลงกันว่าในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเรียกเก็บไม่ได้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ในใบตราส่งก็ไม่มีเงื่อนไขว่าหากเรียกเก็บจากผู้ซื้อไม่ได้แล้วโจทก์หมดสิทธิเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ส่ง ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานคู่สัญญาให้รับผิดชดใช้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระได้ และเมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันผิดนัดแก่โจทก์อีกด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาขนส่ง, สัญญาต่างตอบแทน, ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ, และประเด็นนอกฟ้อง
แม้คำให้การจะถือว่าเป็นคำคู่ความเช่นเดียวกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) แต่การพิจารณาว่าคำให้การที่จำเลยยื่นต่อศาลเป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(4) และ มาตรา 177 กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าในกรณีที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีเอง แต่มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินคดีแทนจำเลยจะต้องบรรยายไว้ในคำให้การด้วยว่ามอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินคดีแทนและต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจมาพร้อมกับคำให้การด้วย เมื่อจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือและยื่นต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และในคำให้การจำเลยได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดโดยแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งเมื่อจำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งต้องมีผู้กระทำการแทนและตามใบแต่งทนายความของจำเลยระบุว่าผู้แต่งทนายความคือ "บริษัท น. โดย ร. ผู้รับมอบอำนาจจำเลย" ขอแต่งตั้งให้ว. เป็นทนายความและลงลายมือชื่อ ร. ในช่องผู้แต่งทนายความ ถือว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทนจำเลยและต่อมาจำเลยยื่นคำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและยื่นสำเนาเอกสาร จำเลยก็ได้ส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจซึ่งรับรองสำเนาถูกต้อง ร. จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความแทนจำเลย ว. ในฐานะทนายความจึงมีอำนาจทำคำให้การและลงชื่อในคำให้การยื่นต่อศาลได้
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8785/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องส่งมอบสินค้าในสภาพเรียบร้อย หากสินค้าเสียหายจากตู้สินค้าชำรุด ผู้ขนส่งผิดสัญญา
สัญญารับขนของทางทะเลระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งมีหน้าที่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ กล่าวคือนอกจากจะต้องขนส่งทุเรียนและส่งมอบทุเรียนให้แก่จำเลยที่ปลายทางตามสัญญาแล้ว ยังจะต้องส่งมอบทุเรียนในสภาพเรียบร้อยไม่เสียหายเสียก่อน จำเลยจึงจะชำระหนี้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปเพื่อจัดการในการขนส่ง เมื่อปรากฏว่าตู้สินค้าชำรุดบกพร่องไม่สามารถรักษาอุณหภูมิในระดับที่กำหนดในข้อตกลงในการขนส่งได้ตั้งแต่แรกในระหว่างอยู่ในความดูแลของโจทก์โดยความชำรุดบกพร่องดังกล่าวมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยผู้ส่งของ เป็นเหตุให้สินค้าทุเรียนสดเปียกน้ำ ชื้น มีราขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื้อสุกจนเละและผลทุเรียนปริแตก เมื่อพิจารณาจากลักษณะของสินค้าซึ่งเป็นทุเรียนสดประกอบกับสภาพความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นแล้ว ถือได้ว่าสินค้าทั้งหมดเกิดความเสียหายไม่สมประโยชน์ของจำเลย ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าระวางเรือและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8947/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งในสัญญาขนส่งทางทะเลและทางบก, ข้อจำกัดความรับผิด, และอำนาจศาล
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้บรรจุสินค้าที่ขนส่งเข้าตู้คอนเทนเนอร์แล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้รับมอบหมายให้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จากลานบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ไปยังท่าเรือกรุงเทพ พฤติการณ์ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้วเมื่อความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างความดูแลของจำเลยทั้งสองและเกิดจากความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองในฐานะ ผู้ขนส่งร่วมย่อมต้องรับผิดร่วมกันในความเสียหายดังกล่าว
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 บัญญัติว่า "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำดับได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่ใช้เรียกชื่ออย่างอื่น สินค้าที่ขนส่งเป็นขดลวดสแตนเลสและแยกบรรจุใส่ไว้ในลังไม้ รวมทั้งหมดจำนวน 130 ลัง แต่ละลังย่อมถือเป็นหน่วยการขนส่ง แม้สินค้าทั้งหมดจะแยกบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์จำนวนรวม 5 ตู้ ก็ไม่ถือว่าตู้คอนเทนเนอร์เป็นหน่วยการขนส่ง
ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางบก จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในส่วนที่ เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งและการคิดค่าเสียหายตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล มาใช้คำนวณค่าเสียหายของสินค้าได้ แต่ต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 625 ว่าด้วย การรับขนของมาใช้บังคับ เมื่อไม่ปรากฏตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกหรือในเอกสารหลักฐานแห่งสัญญารับขนอื่นใดว่ามีข้อตกลงจำกัดความรับผิด ของผู้ขนส่ง และผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดนั้นด้วยแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงต้อง รับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเต็มจำนวน
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาพิจารณาจนมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ในระหว่างการพิจารณาไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างว่าศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งหยิบยกปัญหา ดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะหยิบยกปัญหาเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาพิพากษาขึ้นมาเป็นข้ออุทธรณ์
แม้หากคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่จำเลยทั้งสองได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ร่วมกับโจทก์และจำเลยร่วมร้องขอให้โอนคดีนี้และสืบพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมาจนเสร็จสิ้นโดยมิได้ยก เรื่องอำนาจศาลขึ้นโต้แย้ง ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาผิดศาล ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกปัญหาเรื่องอำนาจศาลขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 บัญญัติว่า "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำดับได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่ใช้เรียกชื่ออย่างอื่น สินค้าที่ขนส่งเป็นขดลวดสแตนเลสและแยกบรรจุใส่ไว้ในลังไม้ รวมทั้งหมดจำนวน 130 ลัง แต่ละลังย่อมถือเป็นหน่วยการขนส่ง แม้สินค้าทั้งหมดจะแยกบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์จำนวนรวม 5 ตู้ ก็ไม่ถือว่าตู้คอนเทนเนอร์เป็นหน่วยการขนส่ง
ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางบก จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในส่วนที่ เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งและการคิดค่าเสียหายตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล มาใช้คำนวณค่าเสียหายของสินค้าได้ แต่ต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 625 ว่าด้วย การรับขนของมาใช้บังคับ เมื่อไม่ปรากฏตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกหรือในเอกสารหลักฐานแห่งสัญญารับขนอื่นใดว่ามีข้อตกลงจำกัดความรับผิด ของผู้ขนส่ง และผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดนั้นด้วยแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงต้อง รับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเต็มจำนวน
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาพิจารณาจนมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ในระหว่างการพิจารณาไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างว่าศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งหยิบยกปัญหา ดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะหยิบยกปัญหาเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาพิพากษาขึ้นมาเป็นข้ออุทธรณ์
แม้หากคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่จำเลยทั้งสองได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ร่วมกับโจทก์และจำเลยร่วมร้องขอให้โอนคดีนี้และสืบพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมาจนเสร็จสิ้นโดยมิได้ยก เรื่องอำนาจศาลขึ้นโต้แย้ง ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาผิดศาล ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกปัญหาเรื่องอำนาจศาลขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อผู้ส่งสินค้า กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งและการเวนคืนใบตราส่ง
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัทอ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่ง เป็นผู้รับขนไม่ โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534 ซึ่งขณะนั้น พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติ ถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตาม มาตรา 615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัทอ.แล้วโดยบริษัทอ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 615จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัทอ.ผู้ซื้อโดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลย ปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ 1 ปี สัญญาขนส่ง: ไม่ครอบคลุมกรณีเรียกคืนสินค้าที่ยังไม่สูญหาย/บุบสลาย
อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 ใช้บังคับแก่ความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าเนื่องจากการขนส่งอันเป็นความรับผิดตามสัญญาขนส่ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้าของโจทก์ส่งไปถึงสำนักงานของจำเลยที่กรุงเทพ แต่ติดต่อผู้รับสินค้าไม่ได้จึงเก็บสินค้าของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน 1 ปี หลังจากนั้นได้ส่งสินค้าไปที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยซึ่งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต แสดงว่าสินค้าของโจทก์มิได้สูญหายหรือบุบบสลายอันเนื่องมาจากการขนส่ง เมื่อผู้รับสินค้าแจ้งว่าไม่ได้รับสินค้าจากจำเลย โจทก์ได้ให้พนักงานติดตามสินค้าไปยังจำเลย จำเลยรับจะตรวจสอบสินค้าให้ เมื่อไม่ได้สินค้าคืนจึงฟ้องเป็นคดีนี้ให้จำเลยส่งมอบสินค้าคืน ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา โจทก์หาได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนส่ง: สินค้าไม่สูญหาย/เสียหายจากการขนส่ง ไม่ใช่อายุความ 1 ปี
ความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้านั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ส่งมอบหรือปีหนึ่งนับแต่วันที่ควรจะได้ส่งมอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีการทุจริต การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าให้โจทก์เพื่อส่งไปยังกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2538ซึ่งโจทก์หรือผู้รับสินค้าของโจทก์สามารถติดต่อรับได้ที่สาขากรุงเทพมหานครของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4เมษายน 2538 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถติดต่อกับบริษัทผู้รับสินค้าดังกล่าวได้ จึงได้เก็บสินค้าของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน 1 ปี หลังจากนั้นได้ส่งสินค้าดังกล่าวไปที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตแสดงว่าสินค้าของโจทก์มิได้สูญหายหรือบุบสลายอันเนื่องมาจากการขนส่ง ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1ขนส่งสินค้า เมื่อบริษัทผู้รับสินค้าแจ้งว่าไม่ได้รับสินค้าจากจำเลยทั้งสี่ โจทก์ได้ให้พนักงานติดตามสินค้าไปยังบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 รับจะตรวจสอบสินค้าให้เมื่อไม่ได้สินค้าคืนจึงฟ้องเป็นคดีนี้ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันส่งมอบสินค้าคืน ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาหาได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับได้