พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเข้ารับราชการ: การบรรจุข้าราชการกลาโหมพลเรือนขัดต่อสัญญาระบุประเภทข้าราชการทหาร ถือเป็นการไม่ผูกพันตามสัญญา
ข้าราชการกระทรวงกลาโหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการทหารกับข้าราชการกลาโหมพลเรือนซึ่งจะไม่ได้รับยศทันทีที่เข้ารับราชการ จำเลยที่ 1 สมัครเข้ารับราชการในโรงงานเภสัชกรรมทหารพร้อมกับทำสัญญากับโจทก์มีข้อความระบุไว้ว่าเป็นสัญญาการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งหมายความว่า มิใช่สัญญาการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน การที่ทางราชการบรรจุแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนจึงมิได้เป็นไปตามข้อกำหนดสัญญาที่ทำกันไว้ ข้อสัญญาที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องอยู่ปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงไม่มีผลบังคับเมื่อจำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการก่อนครบกำหนด 3 ปี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาขัดแย้งกัน การสืบพยานไม่เป็นการแก้ไขเอกสาร และเอกสารที่ใช้ฟ้องคดีได้แม้ไม่มีอากรแสตมป์
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายอ้อย ข้อความในสัญญาข้อหนึ่งระบุว่าผู้ขายได้รับชำระราคาค่าอ้อยไปจากผู้ซื้อในวันทำสัญญา แต่อีกข้อหนึ่งระบุว่า เมื่อผู้ซื้อตัดอ้อยส่งโรงงานเรียบร้อยแล้วผู้ซื้อจะรีบนำเงินค่าอ้อยมาชำระแก่ผู้ขาย ดังนี้เป็นกรณีที่ข้อความในสัญญาระบุถึงเรื่องการชำระเงินค่าอ้อยไว้ขัดแย้งกัน ไม่อาจรับฟังให้ยุติไปในทางใดได้ คู่สัญญาต้องนำสืบให้เห็นว่า แท้จริงเรื่องนี้ได้ตกลงกันไว้อย่างไร การที่โจทก์นำสืบว่าในวันทำสัญญาซื้อขายอ้อยไม่มีการชำระเงินกันหลังจากทำสัญญาจำเลยตัดอ้อยส่งโรงงาน 3 ครั้ง จำเลยชำระราคาอ้อยเพียง 2 ครั้งครั้งสุดท้ายยังไม่ชำระ ดังนี้ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 แม้สัญญาซื้อขายหมาย จ.1 ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์แต่ตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามหมาย จ.1 จึงไม่ใช่กรณีที่จะต้องใช้เอกสารหมาย จ.1 เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขัดแย้งกัน ไม่อาจฟังยุติ ต้องสืบข้อเท็จจริงตามที่ตกลงกันจริง สัญญาไม่ติดอากรแสตมป์ใช้ฟ้องได้
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเอง ไม่อาจฟังเป็นยุติไปในทางใดได้กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีต้องนำสืบให้เห็นว่าแท้จริงแล้วได้ตกลงกันไว้อย่างไร ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การจำเลยรับว่า ได้ทำสัญญาซื้อขายกันจึงไม่ใช่กรณีที่จะต้องใช้สัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานแม้สัญญาซื้อขายดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิทธิลูกจ้าง สัญญาที่ขัดแย้งกับกฎหมายไม่มีผลบังคับ และการสละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทำได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างและเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างยังมีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่หรือไม่ก็ตาม นายจ้างลูกจ้างจะทำข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้ไม่ ดังนั้น สัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำกับจำเลยนายจ้างสละสิทธิหรือไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลย ซึ่งหมายถึงค่าจ้างเพิ่มที่โจทก์จะพึงเรียกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมาย สัญญาที่ขัดแย้งกับกฎหมายไม่มีผลบังคับ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างและเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างยังมีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่หรือไม่ก็ตาม นายจ้างลูกจ้างจะทำข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้ไม่ ดังนั้น สัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำกับจำเลยนายจ้างสละสิทธิหรือไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยซึ่งหมายถึงค่าจ้างเพิ่มที่โจทก์จะพึงเรียกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าว ไม่มีผลใช้บังคับ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขัดแย้งกัน ศาลต้องสืบพยานเพื่อหาเจตนาจริงของคู่สัญญา
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเองและไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ศาลจะให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียโดยพิจารณาแต่เพียงตัวสัญญาเท่านั้นย่อมไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลต้องสืบพยานต่อไปตามข้อต่อสู้ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขัดแย้ง – เจตนาไม่ชัดเจน – ศาลต้องสืบพยาน
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเอง และไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ศาลจะให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียโดยพิจารณาแต่เพียงตัวสัญญาเท่านั้นย่อมไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลต้องสืบพยานต่อไปตามข้อต่อสู้ของจำเลย