คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาขายฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7478/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ขัดแย้งกัน แม้มีการอ้างกรรมสิทธิ์ทั้งจากสัญญาขายฝากและครอบครองปรปักษ์
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายได้ข้อเท็จจริงแจ้งชัดว่า โจทก์ทั้งสองตกลงจดทะเบียนขายฝากที่ดินทั้งสองแปลงตามคำฟ้องให้ไว้ต่อจำเลยที่ 1 โดยสมัครใจ ส่วนที่บรรยายว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีเจตนาให้เกิดผลบังคับตามสัญญานั้น ก็เป็นเพียงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสองยกขึ้นมากล่าวในคำฟ้องเท่านั้น โดยโจทก์ทั้งสองหาได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงเจตนาที่อ้างอันซ่อนอยู่ในใจของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นเหตุให้สัญญาขายฝากที่ดินทั้งสองแปลงตกเป็นโมฆะตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 154 ไม่ แต่คงรับฟังตามการบรรยายฟ้องได้ว่า สัญญาขายฝากที่ดินทั้งสองแปลงเป็นนิติกรรมสองฝ่ายได้กระทำถูกต้องตามกฎหมาย โดยการแสดงเจตนาด้วยความสมัครใจของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 การบรรยายฟ้องเช่นนี้ย่อมบ่งชี้แล้วว่าโจทก์ทั้งสองยอมรับว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงได้โอนไปยังจำเลยที่ 1 โดยผลแห่งนิติกรรมขายฝากที่มีต่อกัน ส่วนการบรรยายฟ้องในตอนหลังที่โจทก์ทั้งสองยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินทั้งสองแปลงคืนให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็ได้ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ก็เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในภายหลังต่อเนื่องกันมาเพื่อปรับเข้าข้อกฎหมายในเรื่องครอบครองปรปักษ์เพื่ออ้างเหตุการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงกลับคืนมาจากจำเลยที่ 1 การบรรยายฟ้องทั้งหมดของโจทก์ทั้งสองจึงมิใช่มีสองนัยอันขัดแย้งกันอยู่ในตัวดังที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่เป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8591/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก: ราคาขายฝากที่แท้จริง, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร, สิทธิไถ่, การชำระหนี้ไม่ถูกต้อง
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 12 ไม่ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ การที่จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมบ้านกับโจทก์เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2541 ก่อน พ.ร.บ. ดังกล่าว และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง มีผลใช้บังคับ จึงนำ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและ ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ที่ให้สิทธิแก่ผู้ขายฝากไถ่ทรัพย์ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมผลประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปีมาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมบ้านระบุราคาขายฝากไว้จำนวน 310,000 บาท การที่จำเลยอ้างตนเองและบุคคลอื่นสืบเป็นพยานเพื่อแสดงถึงราคาขายฝากที่แท้จริงว่ามีราคาเพียง 200,000 บาท เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) จึงต้องฟังว่าคู่สัญญากำหนดสินไถ่ไว้เป็นเงิน 310,000 บาท แต่จำเลยขอไถ่ในราคา 230,000 บาท อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่ชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิครอบครองจริง สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ต้องจดทะเบียน
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากวัด พ. แต่โจทก์ยังไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า ส่วนจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ ส. มารดาจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมมาก่อน แม้สัญญาเช่าระหว่าง ส. กับวัด พ. ระงับไปแล้วถือว่าจำเลยอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน มิใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยลำพัง
ส่วนที่ ส. ทำสัญญาขายฝากบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทแก่ ล. ภริยาโจทก์ แม้ระบุชื่อสัญญาว่าสัญญาขายฝากเฉพาะสังหาริมทรัพย์ แต่เนื้อหาสัญญาระบุขายฝากบ้านพร้อมที่ดินพิพาท ทั้งเมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน ล. อาศัยสัญญาขายฝากไปทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากวัด พ. ทันที และคำฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะประสงค์เข้าอยู่อาศัยในบ้านพิพาทเอง พฤติการณ์มีเหตุผลน่าเชื่อว่า ล. รับซื้อฝากบ้านพิพาทเพื่ออยู่อาศัย มิใช่รื้อถอนไปอย่างสังหาริมทรัพย์จึงเป็นการขายฝากบ้านในลักษณะอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคู่สัญญาทำสัญญากันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 491โจทก์ไม่ใช่เจ้าของบ้านพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลซื้อขาย & สิทธิบุคคลภายนอกสุจริต: สัญญาขายฝากไม่ผูกพันเจ้าของเดิมที่บอกล้างโมฆียะ
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ให้ ผ. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน แม้จำเลยที่ 1 จะหลอกลวงกลฉ้อฉลโจทก์และ ผ. จนโจทก์และ ผ. ตกลงทำสัญญาซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ และโจทก์บอกล้างแล้วก็ตามแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน การที่ภายหลังโจทก์ไปขอไถ่ถอนที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะไปไถ่ถอนคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตามสัญญา และจำเลยที่ 2ไม่ยอมให้โจทก์ไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่อาจยกเอาเหตุกลฉ้อฉลต่อโจทก์และ ผ. อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะที่โจทก์ได้บอกล้างแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและได้ที่ดินพิพาทมาโดยมีค่าตอบแทนก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นเพียงกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สัญญาเดิมตกเป็นโมฆะ
โจทก์และจำเลยมีเจตนาทำสัญญากู้ยืมเงินกันโดยจำเลยนำโฉนดที่ดินมาวางเป็นหลักประกันตั้งแต่ต้น มิได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านพิพาท สัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่) ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรคสอง (มาตรา 155 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) โดยถือว่าจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น แต่จำเลยยังชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วนจำเลยยังไม่มีสิทธิขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาท และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อปิดบังการกู้ยืมเงิน โมฆะและบังคับตามสัญญากู้ยืม
โจทก์จำเลยเจตนาผูกพันในเรื่องการกู้ยืมเงิน สัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 เดิม วรรคสองโดยถือว่าจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ทั้งจะต้องฟังว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะดังกล่าวแล้วก็ต้องพิพากษาให้เพิกถอนเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาขายฝาก โมฆะ และต้องคืนเงินตามจำนวนที่รับจริง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โจทก์กู้เงินจากมารดาจำเลยหลายครั้ง โจทก์มอบโฉนดที่ดินให้มารดาจำเลยไว้เป็นประกัน ต่อมามารดาจำเลยแจ้งว่าโจทก์ค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและในวันเดียวกันนั้น โจทก์กับจำเลยก็ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทที่บ้านของมารดาจำเลยในราคา 180,410 บาท เจตนาของโจทก์จำเลยที่แท้จริง คือต้องการขายฝากที่ดินพิพาท โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาท สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสองและมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะคู่สัญญาคือโจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ คือ โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิเสธในยอดหนี้ที่มารดาจำเลยกล่าวอ้าง อีกทั้งยอมไถ่ถอนที่ดินพิพาทในราคา 180,410 บาท ตามคำขอท้ายฟ้อง ต้องถือว่ามีการรับเงินหรือหักกลบลบหนี้กันตามจำนวนดังกล่าว เมื่อสัญญาตกเป็นโมฆะโจทก์จึงต้องคืนเงินจำนวน 180,410 บาท แก่จำเลย แต่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์คืนเงินเพียง 180,000 บาท ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาเกินไปจากคำขอฎีกาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก โมฆะตามกฎหมาย และต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์จำเลยเจตนาทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทที่ทำกันไว้สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่งส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้โดยสัญญาขายก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสอง และมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะ โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมกรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยโจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: สิทธิทายาท vs. ผู้ครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาขายฝากแต่ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาในคดีก่อนที่ถึงที่สุดซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ อ. และ จ. เป็นโจทก์ฟ้อง พ. วินิจฉัยว่า พ. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ที่ดินยังเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ที่ตกทอดแก่ทายาท จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิในที่ดินดีกว่า พ. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งแม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้พิพากษาเพิกถอนสัญญาขายฝากระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในใบแทนโฉนดที่ดินที่ พ. ขอออกมาใหม่ โดยฟังว่าโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริตและจดทะเบียนไว้โดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเพราะ พ. ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะทำสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. และ จ. ส่งมอบโฉนดอันเป็นเอกสารสิทธิของที่ดินและการที่จำเลยทั้งสามยึดถือโฉนดที่ดินไว้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก-ซื้อขาย: สิทธิไถ่-ผู้รับโอนสิทธิ-ผลสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่ ภ. บิดาโจทก์ ระหว่างที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ ต่อมา จำเลยทำสัญญากับ ภ. ว่าไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและขอสละสิทธิไถ่ถอน ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ภ. ถือได้ว่า เป็นการขายขาดที่ดินให้แก่ ภ. โดยทำสัญญากันเอง จึงไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่และภายในกำหนดระยะการขายฝาก จำเลยย่อมมีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ที่ดินได้
of 20