พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชดใช้หนี้สัญญาข้าราชการศึกษาต่อ: พิจารณาจากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้เป็นหลัก
จำเลยมีภาระต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเป็นเวลา 5 ปี 10 เดือน 24 วัน คิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน 160,089.99 บาท และต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน 2 วัน คิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน 556,199.90 บาท ซึ่งในการพิจารณาว่าหนี้รายใดจะตกหนักที่สุดแก่จำเลยนั้นจะต้องพิจารณาจากภาระที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นประเด็นสำคัญ แม้ระยะเวลาทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศยาวนานกว่าก็ตาม แต่กรณีได้ผ่านพ้นระยะเวลาที่จะต้องทำงานชดใช้ไปแล้วเนื่องจากโจทก์อนุญาตให้จำเลยลาออกจากราชการ จำเลยจึงมีหน้าที่เพียงชดใช้เงินให้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศจึงเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลยจึงต้องให้หนี้ตามสัญญาดังกล่าวได้เปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 โดยนำเวลาที่จำเลยกลับเข้าทำงานชดใช้เป็นเวลา3 ปี 1 เดือน 24 วัน ไปชดใช้เวลาที่จำเลยต้องทำงานชดใช้จำนวน 1 ปี6 เดือน 2 วัน ก่อน ซึ่งยังเหลือเวลาที่จำเลยทำงานชดใช้ไว้อีก 1 ปี 7 เดือน22 วัน และถือว่าจำเลยได้ทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรมณ ต่างประเทศครบตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้สัญญาข้าราชการทุน, การนำเวลาทำงานชดใช้หนี้มาหักหนี้รายที่ตกหนักที่สุด
จำเลยมีภาระต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเป็นเวลา5ปี10เดือน24วันคิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน160,089.99บาทและต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศเป็นเวลา1ปี6เดือน2วันคิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน556,199.90บาทซึ่งในการพิจารณาว่าหนี้รายใดจะตกหนักที่สุดแก่จำเลยนั้นจะต้องพิจารณาจากภาระที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นประเด็นสำคัญแม้ระยะเวลาทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศยาวนานกว่าก็ตามแต่กรณีได้ผ่านพ้นระยะเวลาที่จะต้องทำงานชดใช้ไปแล้วเนื่องจากโจทก์อนุญาตให้จำเลยลาออกจากราชการจำเลยจึงมีหน้าที่เพียงชดใช้เงินให้แก่โจทก์เท่านั้นดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยดังนั้นหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรืออบรมณต่างประเทศจึงเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลยจึงต้องให้หนี้ตามสัญญาดังกล่าวได้เปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328โดยนำเวลาที่จำเลยกลับเข้าทำงานชดใช้เป็นเวลา3ปี1เดือน24วันไปชดใช้เวลาที่จำเลยต้องทำงานชดใช้จำนวน1ปี6เดือน2วันก่อนซึ่งยังเหลือเวลาที่จำเลยทำงานชดใช้ไว้อีก1ปี7เดือน22วันและถือว่าจำเลยได้ทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศครบตามสัญญาแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการศึกษาต่อ – ศาลลดเบี้ยปรับได้เมื่อสูงเกินควร
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ข้อ 7 ก. ข้อ 8และข้อ 9 ความว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่ 1 ยุติลง และเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการ จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ เงินทุน เงินเดือน และเงิน-อื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมด พร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีอีกด้วย ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้ว หากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี รวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่ง ย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไป ศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อ การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน และการลดเบี้ยปรับตามกฎหมาย
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศข้อ7ก.ข้อ8และข้อ9ความว่าในกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่1ยุติลงและเป็นเหตุให้จำเลยที่1ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการจำเลยที่1จะต้องชดใช้เงินทุกเงินเดือนและเงินอื่นใดที่จำเลยที่1ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่1ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์นอกจากนี้จำเลยที่1ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ12ต่อปีอีกด้วยข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาให้จำเลยที่1ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่1ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้วหากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นเบี้ยปรับอัตราร้อยละ12ต่อปีรวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไปศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่างประเทศ ผิดสัญญาทุน เงินเดือน ค่าปรับ ดอกเบี้ย เริ่มนับเมื่อใด
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติซึ่งให้แก่รัฐบาลไทยผ่านทางกรมวิเทศสหการให้ไปศึกษาต่อมีกำหนด2 ปี โดยจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ว่าเมื่อเสร็จการศึกษาจำเลยที่ 1จะกลับมารับราชการต่อไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับทุน หากผิดสัญญายอมชดใช้คืนเงินทุนและเงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากทางราชการพร้อมเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินที่ต้องชดใช้คืน และจะชำระให้เสร็จภายใน 30 วัน ถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง หากไม่ชำระภายในกำหนดยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังไม่ได้ชำระอีกร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยที่ 1 ศึกษาครบ 2 ปี แล้วไม่สำเร็จ ได้ลาศึกษาต่อด้วยเงินส่วนตัวเป็นเวลาอีก 7 เดือน 2 วันจำเลยที่ 1 กลับมารับราชการต่อเพียง 34 วัน แล้วลาออกจากราชการจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินทุนคืนตามส่วนของเวลาที่รับราชการขาดไปเฉพาะส่วนที่ลาศึกษาต่อโดยรับเงินทุนขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ส่วนเวลาที่จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อด้วยเงินส่วนตัวจะเอามารวมกับระยะเวลาที่ศึกษาต่อโดยเงินทุนขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติไม่ได้ จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกจากราชการก่อนเจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งต่อโจทก์ถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้แก่โจทก์ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่ถูกต้อง เป็นเรื่องภายในระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างข้อบกพร่องดังกล่าวเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดตามสัญญาไม่ได้ คู่สัญญากำหนดวิธีการคิดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้วว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญายอมชดใช้เงินทุน เงินเดือน หรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากทางราชการพร้อมเบี้ยปรับให้เสร็จภายใน 30 วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง หากไม่ชำระภายในกำหนดยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังไม่ได้ชำระอีกร้อยละ 15 ต่อปี จึงต้องคิดดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1ลาออกจากราชการไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้วันที่ 1 ธันวาคม 2520 ระบุให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1มีสิทธิชำระหนี้ให้โจทก์ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2520 แต่ไม่ชำระจำเลยที่ 1 จึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2521 ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2520 ยังคลาดเคลื่อนอยู่ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก แต่เงินทุนและค่าปรับของเงินทุนเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - ความผิดสัญญาข้าราชการ - เหตุสุดวิสัย - การไล่ออกก่อนทำสัญญา
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษาหรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ. ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการจึงไม่ใช่กรณีที่พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ. นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งให้ พ. ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ. ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าวเมื่อพ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6165/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยประเด็นการบังคับคดีหนี้สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ประเด็นดอกเบี้ยผิดนัด และการปรับลดค่าขึ้นศาล
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ ข้อ 7 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ยังค้างชำระซึ่งเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยอาศัยข้อตกลงอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดส่งดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนท้าย และข้อตกลงเช่นว่านี้หาใช่เป็นสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ที่ศาลจะมีอำนาจปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383 ได้