คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจะซื้อจะขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายก่อนจดทะเบียน: การคุ้มครองสิทธิเหนือทรัพย์สินจากการบังคับคดี
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาครบถ้วนและเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว คงเหลือแต่การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น ถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และโดยเหตุที่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีอันเป็นการกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกสัญญา: การนัดโอนกรรมสิทธิ์หลังแจ้งเลิกสัญญาถือเป็นการแสดงเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาเดิม
ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา ผนังของห้องชุดพิพาทมีรอยแตกร้าวซึ่งจำเลยรับว่าจะแก้ไขให้เรียบร้อย และในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 มีการนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วเมื่อเดือนกันยายน 2539 การนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์ในเดือนกันยายน 2539 ซึ่งหลังจากนั้นจำเลยยังได้ยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจรับห้องชุดพิพาทว่ายังมีรอยแตกร้าวต้องซ่อมแซมแก้ไขและจำเลยได้นัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 แต่ในวันดังกล่าวไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันเนื่องจากจำเลยเรียกเงินจากโจทก์อีก 50,000 บาท อ้างว่าโจทก์รับโอนห้องชุดพิพาทล่าช้า หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทอีก เมื่อสัญญายังไม่เลิกกันและจำเลยไม่โอนห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8021/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและการคืนเงินมัดจำ/ค่าที่ดิน จำเลยไม่มีสิทธิริบเงินเมื่อสัญญาไม่ได้ระบุ
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ได้ชำระแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาโดยระบุว่าหากโจทก์ไม่ดำเนินการจะริบเงินทั้งหมดแล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะริบเงินดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยต้องให้โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไว้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง ดอกเบี้ยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการทดแทนความเสียหายอย่างหนึ่งเพื่อให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะที่เป็นอยู่เดิมจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งหรือดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422-7426/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: สัญญาจะซื้อจะขาย, การครอบครองแทน, และเจตนาเป็นเจ้าของ
น. ได้แบ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าเป็นบางส่วนที่ผู้ร้องแต่ละคนครอบครองอยู่พร้อมทั้งส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ผู้ร้องแต่ละคนเข้าทำประโยชน์ในที่ดินได้ โดย น. สัญญาว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องแต่ละคนในภายหลังตามเนื้อที่ที่ผู้ร้องแต่ละคนซื้อ แต่ น. ถึงแก่ความตายเสียก่อน โดยยังไม่ได้ดำเนินการแบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนให้แก่ผู้ร้องแต่ละคน แสดงว่า น. ผู้ขายที่ดินพิพาท และผู้ร้องทั้งห้า ผู้ซื้อที่ดินดังกล่าว ต่างมีเจตนาจะไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินที่ซื้อขายกันเฉพาะส่วนได้กระทำสำเร็จแล้ว การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับผู้ร้องทั้งห้า จึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การที่ผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่แต่ละคนครอบครองอยู่ จึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ น. ตามสัญญาจะซื้อจะขาย อันเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทน น. มิใช่การยึดถือในฐานะเจ้าของ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยัง น. ว่าไม่เจตนายึดถือที่ดินพิพาทแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 ได้ต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นว่าซื้อที่ดินจาก น. แต่ไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน และ น. มิได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าขายที่ดินให้ไว้ แต่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนกันในภายหลังเมื่อแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยว่าเป็นเพียงการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และการเข้าครอบครองที่พิพาทดังกล่าวเป็นการครอบครองแทน น. มิใช่การครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันหรือไม่: การชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาหากไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและอาคารของโจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า จำเลยครอบครองที่ดินและอาคารโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันด้วยว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วหรือไม่ หากสัญญาดังกล่าวเลิกกันโดยชอบย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น ปัญหาว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วโดยชอบหรือไม่ จึงเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยชำระราคาให้แก่โจทก์ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็รับชำระ แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระราคาไว้ การที่จำเลยไม่ชำระราคาในงวดถัดไปภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกันตามข้อตกลงในสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีข้อตกลงค่าปรับ หากไม่โอนกรรมสิทธิ์ ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันมาก่อน โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนที่ดินกันไว้ ต่อมาเมื่อโจทก์ชำระราคาให้จำเลยครบถ้วนแล้วจึงได้ทำสัญญาอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งแม้จะระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่ก็มีข้อตกลงกำหนดไว้ในสัญญาว่า หากถึงกำหนดจำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์ปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินที่ขาย แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินซื้อขายกันในภายหลังเช่นเดียวกับที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำต่อเนื่องกันมา แม้จำเลยจะส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายให้โจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมีเจตจนาที่จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกันให้เสร็จเด็ดขาดต่อไปสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หาใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดซึ่งจะตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637-6638/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการทำสัญญา สิทธิในการครอบครอง และข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหาย
โจทก์อ้างว่ามีการตกลงจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทกันตามคำฟ้องสำนวนแรก แต่จำเลยอ้างว่าตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกันตามคำฟ้องสำนวนหลัง และต่างโต้แย้งว่ามิได้มีการทำสัญญาตามที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง ดังนั้น การจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทซึ่งกำหนดไว้ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาท ย่อมจำเป็นต้องวินิจฉัยให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันตามข้ออ้างของฝ่ายใด และสัญญานั้นมีผลบังคับใช้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อเป็นหลักในการวินิจฉัยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาขึ้นวินิจฉัยว่า มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือไม่ จึงไม่นอกประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้
สำหรับฎีกาของจำเลยในเรื่องค่าเสียหายจากการที่จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทตามคำฟ้องในสำนวนแรก โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายก่อนวันฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท และค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 2,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากบ้านและที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การบังคับชำระหนี้เมื่อโอนทรัพย์สินแล้ว และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 7 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จึงไม่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้
การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 122 นั้น จะกระทำได้เฉพาะกรณีไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่า จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้ถือจะพึ่งได้รับไป ในกรณีที่จำเลย (ลูกหนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อผู้ร้องใช้สิทธิขอให้จำเลยโดยผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญา ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: จำเลยมีหน้าที่แบ่งแยกที่ดินก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ การไม่ทำตามถือเป็นการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ 3 ห้อง ซึ่งตามข้อตกลงเป็นการจะซื้อที่ดินพร้อมด้วยอาคารพาณิชย์มาเป็นของโจทก์แต่เพียงผุ้เดียวมิใช่จะซื้อส่วนเพื่อเข้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเท่านั้น เพราะมีผลแตกต่างกันซึ่งต้องมีการตกลงกันเป็นพิเศษโดยชัดแจ้ง จำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลง ๆ ตามพื้นที่ของอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จะซื้อและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่ละแปลงให้โจทก์ แต่เมื่อถึงวันนัดจดทะเบียนจำเลยมิได้แบ่งแยกที่ดินพร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ไปตามนัดและมีเงินพอที่จะชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่จำเลยจะริบเงินที่โจทก์จ่ายแล้วทั้งหมดตามข้อตกลงในสัญญาได้ สัญญายังคงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยชำระหนี้ตอบแทนกันอยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ในเวลาต่อมา แต่จำเลยไม่ไปตามนัด ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (3) และมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้จากจำเลยได้ตามมาตรา 380 อีกด้วย
of 33