พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องบังคับตามสัญญาและการผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องที่จำเลยได้ทำกับ ร.มีข้อความระบุว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ร.และบิดาจำเลย เนื่องจากบิดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยจะขอรับมรดกที่พิพาทส่วนของบิดา เมื่อได้รับ มรดกที่พิพาทหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ ที่พิพาทส่วนของบิดาที่รับมรดกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ให้แก่ ร.ส่วนร. จะโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยต่อมามีการบันทึกเพิ่มเติมว่า จำเลยได้รับ ส.ค.1 ที่เชิงทะเลไปแล้ว จำเลยจะโอนที่พิพาทให้แก่พวกลูก ร.เมื่อถึงเวลาพวกลูกของ ร.ต้องการ จำเลยจะโอนให้ทันที ดังนี้เมื่อขณะทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อบิดาจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดอยู่ ทั้งสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อรับโอนมรดกแล้วข้อตกลงตามสัญญา จึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร. ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ ร. ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสอง ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์มีผลผูกพันบังคับได้ หากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
คำว่า "ทรัพย์สินอย่างใด ๆ ดังว่ามานี้ก็ดี" และคำว่า "ทรัพย์สินเช่นว่านั้นก็ดี" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 นั้นหมายถึงทรัพย์ต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในวรรคต้น ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์มีผลผูกพันบังคับได้ หากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
คำว่า 'ทรัพย์สินอย่างใด ๆ ดังว่ามานี้ก็ดี' และคำว่า 'ทรัพย์สินเช่นว่านั้นก็ดี' ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองนั้น หมายถึงทรัพย์ต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในวรรคต้น ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: การชำระหนี้บางส่วนด้วยการเข้าปลูกสร้าง และการพิสูจน์ข้อตกลง
บรรยายฟ้องว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันและว่าให้แต่ละฝ่ายถือเอาที่ดินแลกเปลี่ยนกันได้และจะได้ไปจดทะเบียนกันภายหลังดังนี้ย่อมเป็นเรื่องจะแลกเปลี่ยนที่ดินกันหาใช่เป็นการแลกเปลี่ยนกันเด็ดขาดแล้วไม่
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินจะทำเป็นหนังสือก็ได้ หรือวางประจำก็ได้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ได้
การที่เข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเขามอบให้เพื่อแลกเปลี่ยนแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนแก่กันแล้วซึ่งศาลชั้นต้นจำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นแล้วพิพากษาต่อไป
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินจะทำเป็นหนังสือก็ได้ หรือวางประจำก็ได้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ได้
การที่เข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเขามอบให้เพื่อแลกเปลี่ยนแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนแก่กันแล้วซึ่งศาลชั้นต้นจำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นแล้วพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินของเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจึงผูกพัน เมื่อยังไม่ผูกพันเด็ก ผู้รับมรดกก็ไม่อาจถูกบังคับตามสัญญาได้
บิดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร ได้ทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินของบุตร กับที่ดินของโจทก์แต่ยังไม่ทันได้ร้องขออนุญาตต่อศาล บุตรก็ตายลงเสียก่อน ที่ดินของบุตรจึงตกเป็นมรดกได้แก่บิดา ดังนี้ โจทก์จะฟ้องบิดาให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมไม่ได้ เพราะบิดาเป็นแต่เพียงผู้ทำสัญญาแทนเด็กและเมื่อสัญญายังไม่ผูกพันเด็ก ก็ย่อมไม่ผูกพันบิดา ผู้ซึ่งเป็นผู้รับมรดกด้วย
(ประชุมใหญ่) ครั้งที่ 9/2494
(ประชุมใหญ่) ครั้งที่ 9/2494
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินโดยผู้แทนชอบธรรม สัญญาไม่ผูกพันเมื่อบุตรเสียชีวิตก่อนได้รับอนุมัติศาล
บิดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร ได้ทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินของบุตร กับที่ดินของโจทก์ แต่ยังไม่ทันได้ร้องขออนุญาตต่อศาล บุตรก็ตายลงเสียก่อนที่ดินของบุตรจึงตกเป็นมรดกได้แก่บิดา ดังนี้ โจทก์จะฟ้องบิดาให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมไม่ได้ เพราะบิดาเป็นแต่เพียงผู้ทำสัญญาแทนเด็ก และเมื่อสัญญายังไม่ผูกพันเด็ก ก็ย่อมไม่ผูกพันบิดา ผู้ซึ่งเป็นผู้รับมรดกด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: การฟ้องขับไล่เมื่อยังไม่ได้รับเงินส่วนเพิ่ม
ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกันโดยฝ่ายหนึ่งตกลงจะเพิ่มราคาที่ดินให้ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้รับเงินส่วนที่เพิ่มให้ แม้จะได้รับที่ดินมาแล้วก็ยังถือว่าเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนเท่านั้น ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. 142 ทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินกัน เมื่อต่างได้รับที่ดินไปแล้ว จะมาฟ้องขอให้ขับไล่กันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15097/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน: เจตนาคู่สัญญาและลักษณะของสัญญาจะแลกเปลี่ยน
ป.พ.พ. มาตรา 519 บัญญัติว่า "บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายนั้น ท่านให้ใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วย โดยให้ถือว่าผู้เป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นผู้ขายในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้ส่งมอบ และเป็นผู้ซื้อในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้รับในการแลกเปลี่ยนนั้น" แม้หนังสือแบ่งแยกโฉนดที่ดินจะระบุชื่อสัญญาว่าเป็นหนังสือแบ่งแยกโฉนดที่ดิน อันอาจจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาดก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาโจทก์กับจำเลยตกลงกันว่าจะแลกโฉนดที่ดินกัน โดยจำเลยจะแบ่งที่ดินคืนให้โจทก์ 12 ไร่เศษ ตามจำนวนที่จำเลยแบ่งขาย จึงไม่ใช่สัญญาที่ตกลงกันให้ความเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโอนไปทันทีที่มีการทำสัญญา แต่จำเลยยังมีหน้าที่แบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าโจทก์กับจำเลยมีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่แลกเปลี่ยนกันในภายหลัง หามีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่แลกเปลี่ยนกันโอนทันทีในวันทำสัญญาไม่ หนังสือแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง หาใช่สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาดซึ่งจะตกเป็นโมฆะเพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใดไม่