พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8002-8012/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างและสิทธิในค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่ประสงค์ต่อสัญญา
ก่อนที่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกับจำเลยจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยได้ประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าบริษัท ก. ได้ขยายระยะเวลาว่าจ้างจำเลยออกไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 และให้ลูกจ้างทั้งหมดเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยต่อไปจนครบกำหนดระยะเวลาที่บริษัท ก. ขยายออกไป แต่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้ทำบันทึกเสนอต่อฝ่ายบุคคลของจำเลยว่าไม่ประสงค์ต่อสัญญากับจำเลยและคืนบัตรลูกจ้างในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาจ้างแล้วไม่ไปทำงานอีกเลย จำเลยมิได้กระทำการใดๆ เพื่อมิให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างงานชั่วคราวที่เข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน แม้สัญญาจะสิ้นสุดตามกำหนดระยะเวลา
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อไปอีก ถือว่าเลิกจ้าง ณ วันสิ้นสุดสัญญานั้น มิได้มีการแจ้งเหตุเลิกจ้างอื่นนอกไปจากนี้ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้าง มิได้ยกเหตุเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 มิได้ยกเหตุที่ว่าโจทก์กระทำความผิดโดยทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ซึ่งเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 ขึ้นเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ตามมาตรา 17 วรรคสาม ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยชอบแล้ว
ข้อยกเว้นที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นอกจากต้องเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นแล้ว ต้องเป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์เพียงว่าสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่แน่นอน และจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น โดยไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางว่า เป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยที่ 1 หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาล ดังนี้ ไม่ว่าจะวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ไปในทางใด ก็ไม่มีผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ข้อยกเว้นที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นอกจากต้องเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นแล้ว ต้องเป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์เพียงว่าสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่แน่นอน และจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น โดยไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางว่า เป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยที่ 1 หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาล ดังนี้ ไม่ว่าจะวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ไปในทางใด ก็ไม่มีผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6701/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาชอบด้วยกฎหมาย หากแจ้งล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไป
การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้าง มีบัญญัติเป็นหลักทั่วไปไว้ใน ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 6 มาตรา 582 ซึ่งมิได้กำหนดว่าการบอกเลิกจ้างจะต้องทำเป็นหนังสือ ส่วนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ว่า ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลานายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบนั้น ก็มิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้นายจ้างหรือลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจา เพียงแต่ให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อเป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าเท่านั้น การบอกเลิกจ้างจึงอาจทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ข้อตกลงหลังเกษียณ, และการผิดสัญญาหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
จำเลยทั้งสามติดต่อและตกลงรับโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ 1 เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ สามารถทำหน้าที่บริหารดูแลงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างงาน การเป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย หาใช่สาระสำคัญของสัญญาจ้างงานไม่ เพียงแต่ทำให้โจทก์ดูมีคุณสมบัติเด่นเป็นพิเศษ มีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจในการดูแลและบริหารงานมากยิ่งขึ้นเท่านั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นโมฆียะกรรม ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในทำนองว่าการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานของโจทก์ต้องอาศัยคุณสมบัติทางวิชาชีพที่น่าเชื่อถือ คุณสมบัติทางวิชาชีพจึงเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ถือเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อให้ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 รับโจทก์เข้ามาทำงานก็เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ไม่ใช่เพราะความรู้ความสามารถอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า การเป็นเนติบัณฑิต มลรัฐแคลิฟอร์เนียหรือไม่ เป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 อันจะทำให้สัญญาจ้างเป็นโมฆียะกรรมหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามหนังสือเลิกจ้างได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ถึง 12 ข้อ ซึ่งพอที่จะทำให้โจทก์เข้าใจได้แล้ว โดยเฉพาะในข้อ 1 ได้ระบุไว้ว่า โจทก์ฝ่าฝืนกฎและมาตรฐานการทำงานของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ พ.ศ.2522 ซึ่งโจทก์ได้อ่าน ยอมรับและตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ 1 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 13 ข้อ 15 และข้อ 16 โดยในข้อ 7 ของกฎและมาตรฐานความประพฤติ ระบุไว้ว่าห้ามมิให้พนักงานจัดเตรียมหรือยื่นแบบการให้ถ้อยคำ คำขอหรือเอกสารอื่น ๆ อันเป็นเท็จหรือไม่ถูกต้องแก่สำนักงาน ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าเหตุแห่งการเลิกจ้างโจทก์ประการหนึ่งมาจากการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า โจทก์ปกปิดหรือแจ้งคุณวุฒิเกี่ยวกับเนติบัณฑิตอันเป็นเท็จนั่นเอง หนังสือเลิกจ้างดังกล่าวจึงระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ตามมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แล้ว และการที่โจทก์สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยโลโยลา จำเลยที่ 2 ที่ 3 รู้จักโจทก์มาก่อน จำเลยที่ 3 เคยชักชวนโจทก์แต่แรกแล้วให้มาร่วมทำงานกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่โจทก์เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกทรัพย์สินทางปัญญา โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่เคยขอดูใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากโจทก์เลย ดังนี้ การที่โจทก์รับรองประวัติข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานของโจทก์ว่า เป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย อันเป็นเท็จ แม้จะเป็นการผิดหรือฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็ตามก็ไม่ใช่เป็นกรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) และเมื่อศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า กรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชักชวนลูกความของจำเลยที่ 1 ไปใช้บริการของบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ชักชวนพนักงานหรือลูกความของจำเลยที่ 1 ไปทำงานหรือใช้บริการสำนักกฎหมายอื่น และฟังไม่ได้ว่าโจทก์นำเอารายชื่อที่อยู่ลูกความ แฟ้มจดหมายติดต่อกับลูกความ แฟ้มความเห็นทางกฎหมาย ตัวอย่างแบบฟอร์มที่ใช้ในบริษัท จำเลยที่ 1 รายงานทางการเงินของจำเลยที่ 1 ไป ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิด จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (4)
โจทก์แจ้งคุณสมบัติด้านวิชาชีพอันเป็นเท็จต่อจำเลยที่ 1 ในใบสมัครงาน และในการทำงานโจทก์ให้ข้อมูลหรือรับรองข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิด้านวิชาชีพของโจทก์เป็นเท็จ การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และถือได้ว่าโจทก์กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยที่ 1 ชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามฟ้อง
ตามใบสมัครงานตอนท้ายมีข้อความสรุปไว้ว่า "นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายินยอมที่จะไม่ทำงานเพื่อหรือทำประโยชน์ให้กับสำนักงานกฎหมายอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 2 ปี ในกรณีที่ข้าพเจ้าได้ออกจากการทำงานที่ ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม (ประโยคข้างต้นดังกล่าวมิให้นำมาใช้กับทนายซึ่งทำงานให้กับบริษัท)" โดยข้อความในวงเล็บของต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษระบุว่า "(The preceding sentence dose not apply to lawyers engaged with the firm.)" คำในวงเล็บคำว่า "lawyers" นั้น ย่อมหมายถึง ทนายความผู้ทำหน้าที่ว่าความหรือให้คำปรึกษาเป็นการเฉพาะเท่านั้น โจทก์เข้าทำงานตำแหน่งหัวหน้างานทรัพย์สินทางปัญญาและตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการฝ่ายงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นตำแหน่งที่สามารถล่วงรู้ความลับในทางการค้าและข้อมูลการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในกิจการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างแล้ว โจทก์ไปทำงานกับบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี จำกัด อันเป็นสำนักงานกฎหมายในกรุงเทพมหานครจึงเป็นการผิดสัญญาข้อดังกล่าว
ตามหนังสือเลิกจ้างได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ถึง 12 ข้อ ซึ่งพอที่จะทำให้โจทก์เข้าใจได้แล้ว โดยเฉพาะในข้อ 1 ได้ระบุไว้ว่า โจทก์ฝ่าฝืนกฎและมาตรฐานการทำงานของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ พ.ศ.2522 ซึ่งโจทก์ได้อ่าน ยอมรับและตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ 1 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 13 ข้อ 15 และข้อ 16 โดยในข้อ 7 ของกฎและมาตรฐานความประพฤติ ระบุไว้ว่าห้ามมิให้พนักงานจัดเตรียมหรือยื่นแบบการให้ถ้อยคำ คำขอหรือเอกสารอื่น ๆ อันเป็นเท็จหรือไม่ถูกต้องแก่สำนักงาน ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าเหตุแห่งการเลิกจ้างโจทก์ประการหนึ่งมาจากการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า โจทก์ปกปิดหรือแจ้งคุณวุฒิเกี่ยวกับเนติบัณฑิตอันเป็นเท็จนั่นเอง หนังสือเลิกจ้างดังกล่าวจึงระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ตามมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แล้ว และการที่โจทก์สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยโลโยลา จำเลยที่ 2 ที่ 3 รู้จักโจทก์มาก่อน จำเลยที่ 3 เคยชักชวนโจทก์แต่แรกแล้วให้มาร่วมทำงานกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่โจทก์เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกทรัพย์สินทางปัญญา โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่เคยขอดูใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากโจทก์เลย ดังนี้ การที่โจทก์รับรองประวัติข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานของโจทก์ว่า เป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย อันเป็นเท็จ แม้จะเป็นการผิดหรือฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็ตามก็ไม่ใช่เป็นกรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) และเมื่อศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า กรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชักชวนลูกความของจำเลยที่ 1 ไปใช้บริการของบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ชักชวนพนักงานหรือลูกความของจำเลยที่ 1 ไปทำงานหรือใช้บริการสำนักกฎหมายอื่น และฟังไม่ได้ว่าโจทก์นำเอารายชื่อที่อยู่ลูกความ แฟ้มจดหมายติดต่อกับลูกความ แฟ้มความเห็นทางกฎหมาย ตัวอย่างแบบฟอร์มที่ใช้ในบริษัท จำเลยที่ 1 รายงานทางการเงินของจำเลยที่ 1 ไป ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิด จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (4)
โจทก์แจ้งคุณสมบัติด้านวิชาชีพอันเป็นเท็จต่อจำเลยที่ 1 ในใบสมัครงาน และในการทำงานโจทก์ให้ข้อมูลหรือรับรองข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิด้านวิชาชีพของโจทก์เป็นเท็จ การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และถือได้ว่าโจทก์กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยที่ 1 ชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามฟ้อง
ตามใบสมัครงานตอนท้ายมีข้อความสรุปไว้ว่า "นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายินยอมที่จะไม่ทำงานเพื่อหรือทำประโยชน์ให้กับสำนักงานกฎหมายอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 2 ปี ในกรณีที่ข้าพเจ้าได้ออกจากการทำงานที่ ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม (ประโยคข้างต้นดังกล่าวมิให้นำมาใช้กับทนายซึ่งทำงานให้กับบริษัท)" โดยข้อความในวงเล็บของต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษระบุว่า "(The preceding sentence dose not apply to lawyers engaged with the firm.)" คำในวงเล็บคำว่า "lawyers" นั้น ย่อมหมายถึง ทนายความผู้ทำหน้าที่ว่าความหรือให้คำปรึกษาเป็นการเฉพาะเท่านั้น โจทก์เข้าทำงานตำแหน่งหัวหน้างานทรัพย์สินทางปัญญาและตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการฝ่ายงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นตำแหน่งที่สามารถล่วงรู้ความลับในทางการค้าและข้อมูลการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในกิจการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างแล้ว โจทก์ไปทำงานกับบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี จำกัด อันเป็นสำนักงานกฎหมายในกรุงเทพมหานครจึงเป็นการผิดสัญญาข้อดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4777/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการจ้าง: การแข่งขันต้องอยู่ในขอบเขตธุรกิจเดียวกันและพื้นที่ดำเนินการใกล้เคียง
โจทก์ประกอบธุรกิจ ผลิต นำเข้า ขายและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการบริการบนเครื่องบิน โจทก์และจำเลยทำสัญญาจ้างข้อ 11 กำหนดว่าในกรณีที่สัญญาจ้างสิ้นสุดเนื่องจากการลาออกของลูกจ้าง ลูกจ้างตกลงว่าภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ลาออกลูกจ้างจะไม่เข้าร่วมทำงานในบริษัทหรือกิจการอื่นใดที่เป็นการแข่งขันโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับบริษัทโจทก์ ต่อมาจำเลยลาออกจากบริษัทโจทก์และไปทำงานที่เมืองฮ่องกงกับบริษัท ด. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์และประกอบกิจการเช่นเดียวกับโจทก์ ครั้นต่อมาอีกเดือนเศษจำเลยได้ลาออกจากบริษัท ด. และเข้าทำงานกับบริษัท ว. ซึ่งประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกวัสดุเกี่ยวกับบริการด้านอาหารที่เมืองฮ่องกงภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยลาออกจากบริษัทโจทก์ ดังนี้ ตามสัญญาจ้างข้อ 11 มิได้กำหนดพื้นที่กำหนดแต่ระยะเวลาห้าม และการกระทำที่ห้ามคือการเข้าทำงานในบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสายการบินแข่งขันกับโจกท์ เมื่อปรากฏว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และโจทก์ไม่มีสาขาหรือประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกง แม้บริษัท ด. ซึ่งประกอบธุรกิจที่อยู่ที่เมืองฮ่องกงจะเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ บริษัทดังกล่าวก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์เป็นเอกเทศ ถือไม่ได้ว่าธุรกิจของบริษัท ด. เป็นธุรกิจของโจทก์ และไม่ปรากฏว่าบริษัท ด. ประกอบธุรกิจโดยนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไปจำหน่ายแม้จะมีผู้ประกอบธุรกิจแข่งขันกับบริษัท ด. ก็ไม่มีผลกระทบถึงธุรกิจของโจทก์ การที่จำเลยเข้าทำงานกับบริษัท ว. ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกงจึงไม่เป็นการเข้าทำงานในบริษัทอื่นที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจของโจทก์ การกระของจำเลยไม่เป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ข้อ 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4777/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงห้ามแข่งขันต้องระบุขอบเขตพื้นที่ชัดเจน หากมิได้ระบุถือว่าไม่คุ้มครองการแข่งขันในต่างประเทศ
สัญญาจ้าง ข้อ 11 ที่จำเลยตกลงทำสัญญากับโจทก์ว่า ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยจะไม่ไปทำงานกับบริษัทซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับโจทก์หรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจการค้าของโจทก์ ข้อห้ามดังกล่าวมิได้กำหนดพื้นที่ กำหนดแต่ระยะเวลาห้ามและการกระทำที่ห้ามซึ่งในคดีนี้คือการเข้าทำงานในบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสายการบินแข่งขันกับโจทก์ เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีสาขาหรือประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกง แม้บริษัท ด. ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกง จะเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ บริษัทดังกล่าวก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์เป็นเอกเทศ ถือไม่ได้ว่าธุรกิจของบริษัท ด. เป็นธุรกิจของโจทก์และไม่ปรากฏว่าบริษัท ด. ประกอบธุรกิจโดยนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไปจำหน่าย แม้จะมีผู้ประกอบธุรกิจแข่งขันกับบริษัท ด. ก็ไม่มีผลกระทบถึงธุรกิจของโจทก์ การที่จำเลยเข้าทำงานกับบริษัท ว. ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกง จึงไม่เป็นการเข้าทำงานในบริษัทอื่นที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างต้องสมควร แม้มีสิทธิเลิกจ้างตามสัญญา
การที่จะพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่นั้น หาใช่พิจารณาแต่เพียงว่านายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่ากรณีการเลิกจ้างดังกล่าวมีเหตุแห่งการเลิกจ้างและเป็นเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้เป็นระบบทางคอมพิวเตอร์ จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุว่าโครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันจำเป็นและสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์
โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาเพิ่มค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงชอบที่จะทำเป็นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเป็นที่สุด ไม่รับอุทธรณ์โจทก์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์โจทก์
โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาเพิ่มค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงชอบที่จะทำเป็นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเป็นที่สุด ไม่รับอุทธรณ์โจทก์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานและการชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานโดยให้มีผลนับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2542 ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็หามีข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลไม่ จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการ: ข้อตกลงระงับข้อพิพาทเฉพาะสิทธิจากสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ครอบคลุมคดีค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ข้อตกลงที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อความเพียงว่า "ข้อโต้แย้งซึ่งไม่สามารถยุติลงได้ด้วยการประนีประนอมระหว่างคู่สัญญาให้ได้รับการชี้ขาดและยุติโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์ก" ไม่ได้ระบุแยกแยะข้อโต้แย้งที่จะให้ระงับโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์กไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเฉพาะข้อโต้แย้งที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติไว้ ไม่ใช่การฟ้องเกี่ยวกับสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่ใช่ข้อโต้แย้งตามข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลได้โดยไม่ต้องเสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้าง: สิทธิจากกฎหมายแรงงานไม่ต้องเสนออนุญาโตตุลาการ
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 12 มีข้อความเพียงว่า "ข้อโต้แย้งซึ่งไม่สามารถยุติลงได้ด้วยการประนีประนอมระหว่างคู่สัญญาให้ได้รับการชี้ขาดและยุติโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์ก" ซึ่งไม่ได้ระบุแยกแยะข้อโต้แย้งที่จะให้ระงับโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์กไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเฉพาะข้อโต้แย้งที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ใช่การฟ้องเกี่ยวกับสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงมิใช่ข้อโต้แย้งตามข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าว โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลได้โดยไม่ต้องเสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดก่อน