คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างทนาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายโดยมีส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดหลักจริยธรรมและขัดต่อความสงบเรียบร้อย
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หลายประการ รวมทั้งการห้ามมิให้ผู้ที่มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่นอย่างผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงย่อมมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องกับหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแก่คู่ความดุจเป็นเจ้าหน้าที่ของศาล ทนายความไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตน ในลักษณะที่ตนเองมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนาย: การเลิกสัญญา, ค่าสินจ้าง, และเบี้ยปรับ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุดและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่าย สินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้สัญญาจ้างระบุว่า "ผู้ว่าจ้างจะไม่ถอนทนายหรือผู้แทนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หากมีการถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุด ผู้ว่าจ้างตกลงที่จะชำระค่าสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้างนี้" ก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนายเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างให้ผู้รับจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้น ข้อตกลงนี้จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่การที่ผู้ว่าจ้างได้ถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุดเช่นนี้ถือว่าผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จซึ่งผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานนั้น ๆ รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่ผู้รับจ้างด้วย ข้อตกลงที่ว่าหากมีการถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุดผู้ว่าจ้างยอมใช้ค่าสินจ้างเต็มจำนวนเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าทำนองเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายที่มีข้อตกลงผลประโยชน์จากการเป็นความกัน เป็นโมฆะขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อตกลงตาม สัญญาจ้างว่าความที่ให้โจทก์เป็น ทนายความของจำเลยในคดีฟ้องขับไล่โดยจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีกับให้โจทก์ออกเงินทดรองเป็นค่าขึ้นศาลค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆในระหว่างดำเนินคดีไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุดถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืนโจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะและเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายที่แบ่งส่วนจากทรัพย์สินที่ได้จากการฟ้องร้องเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมาย
สัญญาที่จำเลยจ้าง โจทก์ให้ว่าความ กำหนดค่าจ้างว่าความส่วนที่ยังมิได้ชำระเป็นจำนวนเงินสิบเปอร์เซ็นต์ ของเงินที่จำเลยจะได้ รับจากการฟ้องแย้ง เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดย วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้ แก่ลูกความ อันมีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) จึงตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 113 ดังนี้ แม้ต่อมาจะได้ มี พ.ร.บ. ทนายความพ.ศ. 2528 ยกเลิกกฎหมายข้างต้นแล้ว และตาม บทเฉพาะกาล มาตรา 86 ของพ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความตาม มาตรา 53 ซึ่ง มิได้มีการกำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ ก็ไม่ทำให้สัญญาซึ่ง เป็นโมฆะแต่ ต้น กลับสมบูรณ์ขึ้นดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความที่เหลือจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายโดยคิดค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินที่ได้จากการดำเนินคดี เป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายทนายความ
สัญญาจ้างว่าความโดยคิดค่าจ้างร้อยละสามสิบของเงินที่ได้มาทั้งหมด เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความจึงมีวัตถะประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2477 มาตรา12(2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508ไปแล้ว และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 53 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างว่าความที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้วกลับสมบูรณ์ได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนาย หากแก้ต่างไม่สำเร็จต้องคืนเช็ค ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน และมีอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างว่าความโดยมีข้อสัญญาว่า จำเลยจะ ต้องทำหน้าที่ทนายความแก้ต่างจนทำให้ ส. พ้นโทษมิฉะนั้นจำเลย จะต้องคืนเช็คให้แก่โจทก์เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีเพราะ ส. ถึงแก่ความ ตายไม่ใช่เพราะการแก้ต่างของจำเลยจำเลยจึงต้องคืนเช็คให้โจทก์ จำเลยโอนเช็คให้บุคคลภายนอกเป็นเหตุให้โจทก์ถูกฟ้องและศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ ใช้เงินได้ โดยมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายลักษณะแบ่งส่วนทรัพย์สินขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความซึ่งมีข้อความว่า ฟ้องเรียกทรัพย์สินเป็นมูลค่าประมาณ 24 ล้านบาท ขอคิดค่าจ้างรวมเป็นเงิน 12 ล้านบาท ถ้าเรียกร้องได้มากกว่านี้ก็ไม่เพิ่มขึ้นนั้น แม้จะเป็นการกำหนดค่าจ้างไว้ครึ่งหนึ่งของจำนวนทุนทรัพย์ที่จะฟ้องเรียกร้องจากจำเลยก็ตาม แต่ข้อความที่เขียนต่อไปว่า "แต่ถ้าได้น้อยกว่าที่กะประมาณไว้นี้ ให้ลดลงตามส่วนจำนวนเงินที่ได้มา" ดังนี้ เป็นการแสดงอยู่ว่า ถ้าศาลตัดสินให้น้อยกว่าจำนวนเงินที่ฟ้อง ทนายก็จะเรียกค่าจ้างเอาครึ่งหนึ่งของจำนวนทุนทรัพย์ที่ศาลตัดสินให้เสมอไป จึงเป็นการทำสัญญาเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่คู่ความนั่นเอง นอกจากนี้ตามพฤติการณ์ในเรื่องก็เห็นได้ชัดว่าทนายจัดทำสัญญาตลอดจนปฏิบัติต่อสู้ความ ได้กระทำไปเกินขอบเขตแห่งความเป็นธรรมอยู่มาก สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2477 มาตรา 12 อนุมาตรา 2 และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะตามกฎหมายทนายความและประมวลกฎหมายแพ่งฯ
สัญญาจ้างว่าความซึ่งมีข้อความว่า ฟ้องเรียกทรัพย์สินเป็นมูลค่าประมาณ 24 ล้านบาท ขอคิดค่าจ้างรวมเป็นเงิน 12ล้านบาทถ้าเรียกร้องได้มากกว่านี้ก็ไม่เพิ่มขึ้นนั้น แม้จะเป็นการกำหนดค่าจ้างไว้ครึ่งหนึ่งของจำนวนทุนทรัพย์ที่จะฟ้องเรียกร้องจากจำเลยก็ตามแต่ข้อความที่เขียนต่อไปว่า 'แต่ถ้าได้น้อยกว่าที่กะประมาณไว้นี้ ให้ลดลงตามส่วนจำนวนเงินที่ได้มา' ดังนี้ เป็นการแสดงอยู่ว่าถ้าศาลตัดสินให้น้อยกว่าจำนวนเงินที่ฟ้องทนายก็จะเรียกค่าจ้างเอาครึ่งหนึ่งของจำนวนทุนทรัพย์ที่ศาลตัดสินให้เสมอไป จึงเป็นการทำสัญญาเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่คู่ความนั่นเอง นอกจากนี้ตามพฤติการณ์ในเรื่องก็เห็นได้ชัดว่าทนายจัดทำสัญญาตลอดจนปฏิบัติต่อสู้ความ ได้กระทำไปเกินขอบเขตแห่งความเป็นธรรมอยู่มาก สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477 มาตรา 12 อนุมาตรา 2 และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม เนื่องจากมีการแบ่งส่วนจากทรัพย์สินพิพาท ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความซึ่งมีข้อความว่า ฟ้องเรียกทรัพย์สินเป็นมูลค่าประมาณ 24 ล้านบาท. ขอคิดค่าจ้างรวมเป็นเงิน 12ล้านบาท. ถ้าเรียกร้องได้มากกว่านี้ก็ไม่เพิ่มขึ้นนั้น. แม้จะเป็นการกำหนดค่าจ้างไว้ครึ่งหนึ่งของจำนวนทุนทรัพย์ที่จะฟ้องเรียกร้องจากจำเลยก็ตาม. แต่ข้อความที่เขียนต่อไปว่า 'แต่ถ้าได้น้อยกว่าที่กะประมาณไว้นี้ ให้ลดลงตามส่วนจำนวนเงินที่ได้มา'. ดังนี้ เป็นการแสดงอยู่ว่าถ้าศาลตัดสินให้น้อยกว่าจำนวนเงินที่ฟ้องทนายก็จะเรียกค่าจ้างเอาครึ่งหนึ่งของจำนวนทุนทรัพย์ที่ศาลตัดสินให้เสมอไป. จึงเป็นการทำสัญญาเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่คู่ความนั่นเอง. นอกจากนี้ตามพฤติการณ์ในเรื่องก็เห็นได้ชัดว่าทนายจัดทำสัญญาตลอดจนปฏิบัติต่อสู้ความ ได้กระทำไปเกินขอบเขตแห่งความเป็นธรรมอยู่มาก. สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477 มาตรา 12 อนุมาตรา 2. และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน. สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113. โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนาย: การถอนทนายความไม่ปลดเปลื้องภาระการจ่ายค่าจ้าง
จำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความว่าคดีให้จำเลย ครั้นคดีอยู่ในระหว่างฎีกา จำเลยขอถอนโจทก์จากการเป็นทนายโจทก์ไม่คัดค้าน ดังนี้ ไม่มีทางที่จะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความผูกพันในอันจะต้องชำระค่าจ้างว่าความให้แก่โจทก์
of 2