คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างเหมา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาจ้างเหมา: ตัวแทนโดยปริยายและเจตนาผูกพัน
จำเลยที่ 1 เป็นบุตรเขยจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 รับราชการ มีอายุมากแล้ว จำเลยที่ 1 ทำสัญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ลงบนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขออนุญาตทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าวต่อเทศบาลด้วยตนเอง เมื่อก่อสร้างเสร็จ ท. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์ตกลงซื้ออาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 2 จำนวน 1 ห้อง โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้จะขายในสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ การที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าหนี้ตามฟ้องคดีนี้ไม่ถูกต้อง เพราะต้องหักเงินค่ามัดจำและค่าหินขัดออกก่อนนั้น หากจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวข้องกับการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้วเหตุใดจึงจะยอมให้มีการหักเงินกันได้ เพราะไม่ใช่หนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 เคยติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์กับโจทก์ กรณีดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เรื่องตัวแทนเชิด เพราะการเป็นตัวแทนเชิดนั้น ตัวการไม่ปรารถนาที่จะผูกพันกับบุคคลภายนอกสำหรับการกระทำของตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นตัวแทนโดยปริยาย สัญญาจ้างเหมา การรับผิดในหนี้สัญญา และการหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ก่อนแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์กับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 2 กรณีดังกล่าวมิใช่เรื่องตัวแทนเชิดเพราะการตัวแทนเชิดนั้นตัวการไม่ปรารถนาที่จะผูกพันกับบุคคลภายนอกสำหรับการกระทำของตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาจ้างเหมา: ตัวแทนโดยปริยาย และการเกี่ยวข้องกับการทำสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นบุตรเขยจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 รับราชการ มีอายุมากแล้ว จำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ลงบนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขออนุญาตทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าวต่อเทศบาลด้วยตนเอง เมื่อก่อสร้างเสร็จ นางสาว ท. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์ยังตกลงซื้ออาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 2 จำนวน 1 ห้อง โดยจำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้จะขายในสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ก็อ้างว่าหนี้ตามฟ้องคดีนี้ไม่ถูกต้อง เพราะต้องหักเงินค่ามัดจำและค่าหินขัดออกก่อน ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวข้องกับการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้วเหตุใดจึงจะยอมให้มีการหักเงินกันได้ เพราะไม่ใช่หนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 เคยติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์กับโจทก์ กรณีดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เรื่องตัวแทนเชิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา ค่าจ้างเพิ่มเติม การส่งมอบงานล่าช้า และสิทธิในการฟ้องคดีใหม่
หนังสือสัญญาจ้างมีข้อความว่า "เมื่อผู้รับจ้างได้ทำการแล้วเสร็จตามงวดงานผู้รับจ้างจะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าจ้างให้ทราบแล้วให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนไปตรวจรับงานในงวดนั้น ๆ ภายในกำหนดเวลา 5 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้รับจ้างหากผู้ว่าจ้างไม่ทำการตรวจรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวหรือไม่ยอมรับงานโดยไม่แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบเกินกว่ากำหนด ให้ถือว่าผู้ว่าจ้างได้ตกลงรับมอบงานไว้ครบถ้วนถูกต้องตามงวดงานนั้น ๆ ว่าเรียบร้อยแล้วทุกประการ" การที่โจทก์จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ทราบเพื่อตรวจรับงานตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จะต้องทำการก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนด้วย มิใช่ว่าเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ตรวจรับงานโดยที่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจรับงานภายใน 5 วัน จะถือว่าตรวจรับงานไว้ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างได้
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 8 บางส่วน โจทก์ทั้งสองมิได้นำสืบให้แน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 คนละเท่าใด จึงให้ยกคำขอส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องบังคับตามคำขอดังกล่าวภายในกำหนดอายุความ นั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้ไม่สมฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำขอส่วนนี้เสียทั้งหมดเพราะสามารถที่จะวินิจฉัยให้คดีนี้ได้อยู่แล้ว การที่ศาลชั้นต้นให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองฟ้องใหม่ในประเด็นนี้อีกจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แต่เลือกที่จะฟ้องคดีใหม่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีใหม่ โจทก์ทั้งสองจะขอให้ศาลฎีกากลับให้สิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นการไม่ชอบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ผู้รับจ้างต้องแก้ไขงานชำรุดตามสัญญา หากไม่ทำตาม ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่น แต่ต้องแจ้งให้แก้ไขก่อน
ตามหนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเอกสารหมาย จ. 6 ข้อ 6 ระบุว่า "ภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานนี้จากผู้รับจ้างเป็นต้นไป ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายแก่งานจ้างนี้โดยผู้รับจ้างทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สัมภาระที่ไม่ดี ผู้รับจ้างจะทำการแก้ไขใหม่ทันทีโดยไม่คิดราคาสิ่งของสัมภาระและค่าแรงงานจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพริ้วไม่จัดการแก้ไขหรือซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำแทนต่อไป โดยผู้รับจ้างยินยอมจ่ายเงินค่าจ้างในการแก้ไขเท่าที่สร้างจริงโดยสิ้นเชิง" จากข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายว่า ภายใน 12 เดือน นับแต่วันรับมอบงานที่ก่อสร้าง ถ้ามีความชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานที่ก่อสร้าง โจทก์มีอำนาจจ้างผู้อื่นแก้ไขซ่อมแซมงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างให้แก้ไขซ่อมแซมภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไขซ่อมแซม แต่หนังสือที่โจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงหนังสือแจ้งเกี่ยวกับเรื่องจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบางรายการไม่ถูกต้องตามแบบ ไม่ดำเนินการเก็บงานให้เรียบร้อย จะให้บริษัท ป. เข้าดำเนินการตรวจสอบซ่อมแซมและก่อสร้างให้เรียบร้อยถูกต้องตามแบบโดยจำเลยที่ 1 ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเท่านั้น ถึงจะมีบางฉบับระบุด้วยว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นความเสียหายส่วนใดของงานก่อสร้าง และแม้บางฉบับโจทก์จะได้สรุปความเสียหายให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงรายละเอียดงานก่อสร้างซ่อมแซม และขอให้จำเลยที่ 1 ส่งผู้ควบคุมงานเพื่อตรวจสอบงานก่อสร้างบางอย่างที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ก็ตาม แต่ในขณะที่โจทก์มีหนังสือฉบับดังกล่าวก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่โจทก์ตัดสินใจให้บริษัท ป. เข้าซ่อมแซมงานก่อสร้างแล้ว ดังนั้น หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดเสียหายงานก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดตาม เงื่อนไขในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เอกสารหมาย จ. 6 ข้อ 6 เท่ากับว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้แก้ไขซ่อมแซมงานก่อสร้างที่ชำรุดเสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมางาน: โจทก์ต้องแจ้งให้จำเลยแก้ไขงานชำรุดก่อนบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำสัญญารับจ้างเหมางานก่อสร้างสถานีบริการและติดตั้งอุปกรณ์ตามฟ้องจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันความเสียหายให้แก่โจทก์ ต่อมามีเหตุชำรุดเสียหายแก่งานที่ก่อสร้างหลายรายการ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาจ้างดังกล่าว ข้อ 6 ซึ่งระบุว่าถ้ามีความชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานที่ก่อสร้าง โจทก์มีอำนาจจ้างผู้อื่นแก้ไขซ่อมแซมงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างให้แก้ไขซ่อมแซมภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไขซ่อมแซม เมื่อหนังสือที่โจทก์แจ้งจำเลยที่ 1 เป็นเพียงหนังสือแจ้งเกี่ยวกับการเก็บงานที่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการให้เรียบร้อยโดยเท้าความถึงเอกสารอื่น แม้จะระบุว่ามีความเสียหายเพิ่มเติมเกิดขึ้นอีกแต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นความเสียหายส่วนไหนของงานก่อสร้างและหนังสือดังกล่าวแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์จะให้บริษัท ป. เข้าดำเนินการตรวจสอบ ซ่อมแซม รวมทั้งเก็บรายละเอียดงานก่อสร้างที่ยังบกพร่องอยู่ให้เรียบร้อยแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้นอีกทั้งโจทก์จะให้บริษัท ป. ดำเนินการซ่อมแซมแทนจำเลยที่ 1 ในงานก่อสร้างที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่องทันทีและในส่วนที่อาจเกิดขึ้นอีกในภายหลัง โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายอันเป็นกรณีตามสัญญาข้ออื่น โจทก์ไม่อาจนำเงื่อนไขในสัญญาจ้าง ข้อ 6 มาใช้กับข้อสัญญาข้ออื่นได้ หนังสือที่โจทก์แจ้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้ออื่น ไม่ใช่หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดเสียหายงานก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขในสัญญาจ้าง ข้อ 6 เท่ากับว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องรับผิดด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ฎีกา แต่หนี้อันเกิดจากการค้ำประกันเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438-2439/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมางาน: การชำระค่าจ้างล่าช้าและการละทิ้งงานส่งผลให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียน กำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดรวม 7 งวด จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 1 ถึงที่ 4 ภายในกำหนดแก่โจทก์ โจทก์รับมอบงานและชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ครบถ้วน ส่วนงวดที่ 4 โจทก์ชำระค่าจ้างไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงกัน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้บอกเลิกสัญญา หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแล้ว โจทก์ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระในงวดที่ 4 ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยอมรับค่าจ้างดังกล่าว จากนั้นจำเลยที่ 1 ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 5 และที่ 6 โจทก์ก็ยอมรับมอบงานและชำระค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจ้างต่อไป โดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ แต่จำเลยที่ 1 กลับดำเนินการก่อสร้างงานงวดที่ 7 ไม่แล้วเสร็จก็ละทิ้งงานทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า ในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับวันละ 5,946 บาท แต่เมื่อครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาจ้างแล้ว คู่กรณีโดยจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ โจทก์ก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จเท่านั้น
ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเป็นการเรียกค่าเสียหายเพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 หากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 เมื่อจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 โจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อเดือนกันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ 4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างบุคคลภายนอกให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือเมื่อเดือนมีนาคม 2540 หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏเหตุผลแห่งความล่าช้า ดังนี้ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นดังกล่าวย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์โดยใช่เหตุรวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340-8341/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าไฟฟ้า: กรณีไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าทั่วไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตโจทก์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไปดังเช่นการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โจทก์ไม่ได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยในเชิงการค้า หากแต่เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างเหมาขุดดินและถ่านลิกไนต์ระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งนอกจากโจทก์จะต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยดังกล่าวตามสัญญาแล้ว โจทก์ยังต้องจัดหาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วส่งถึงบริเวณถังน้ำมันของเหมืองแม่เมาะให้แก่จำเลยด้วย ข้อตกลงเรื่องกระแสไฟฟ้าระหว่างโจทก์และจำเลยตามเงื่อนไขของสัญญา จึงเป็นเรื่องเฉพาะกิจ ไม่ได้ทำเป็นปกติธุระ เช่นจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) ประกอบกับหนี้คดีนี้เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนจำเลย จึงคิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดตกบกพร่องเท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อหนี้ส่วนนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: การแบ่งงานเป็นส่วนๆ และอายุความในการเรียกร้องค่าจ้าง
ข้อกำหนดในการชำระเงินตามสัญญาจ้างข้อ 6.1 ระบุว่าผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ ตามปริมาณงานที่ทำแล้วเสร็จตามแบบและรายการประกอบแบบ ไม่มีข้อความระบุให้เห็นชัดว่าโจทก์และจำเลย ได้ตกลงแบ่งเนื้องานที่จะรับส่งกันเป็นส่วนอย่างไร มีปริมาณงานแต่ละส่วนเท่าใด และระบุค่าจ้างของงานแต่ละส่วนเป็นจำนวนเท่าใด ตารางรายละเอียดมูลค่าจ้างเหมาก็เป็นเพียงวิธีการคิดจำนวนค่าจ้าง ไม่ใช่การแบ่งเนื้องานออกเป็นส่วน ๆ ประกอบกับสัญญาจ้างข้อ 6.2 ระบุว่าให้ผู้รับจ้างต้องรายงานผลการปฏิบัติงานที่แล้วเสร็จทุกวันสิ้นเดือนเพื่อส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้าง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามผลงานที่ทำแล้วเสร็จนั่นเอง ไม่ใช่กรณีการจ้างเหมาที่มีกำหนดว่าจะส่งรับงานกันเป็นส่วน ๆ และได้ระบุสินจ้างไว้เป็นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างได้เมื่อจำเลยรับมอบงานที่เป็นผลสำเร็จแห่งการที่โจทก์ทำตามมาตรา 587

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมางาน: การขยายเวลา และผลกระทบต่อการคิดค่าปรับ
++ เรื่อง จ้างทำของ ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ จำเลยทั้งสามฎีกา
++ ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี ตกลงค่าจ้างเป็นราคาเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวง จำนวน 63,900,000 บาท มีการแบ่งเนื้องานที่ว่าจ้างออกเป็น 10 งวด และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดรวม 10 งวด ตามราคาเนื้องานในแต่ละงวด และแต่ละงวดได้กำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จเป็นจำนวนวันต่อเนื่องกันไปโดยมีระยะเวลาห่างกัน30 วันในแต่ละงวด โดยงวดที่ 1 กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันและในงวดที่ 10 งวดสุดท้ายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน แต่ทุกงวดจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกัน
++ ในสัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา ได้มีการกำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม2537 มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
++ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับกำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง ตามสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี เอกสารหมาย จ.3
++ มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างดังกล่าวในจำนวนเงิน 3,195,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่า หากโจทก์ได้ขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 หรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดแผกไปจากเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมด้วย ตามหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.6
++ ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 ก่อนครบอายุสัญญาจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอขยายอายุสัญญา วันที่ 14 กรกฎาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3โดยตกลงแก้ไขงวดงานและการจ่ายเงินในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10และมีข้อสัญญาเพิ่มเติมข้อ 3 ว่า โจทก์ตกลงขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม และในข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ตกลงไม่ปรับจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำการประปาหนองแค (ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี สัญญาเลขที่ 238/2536ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2536 (ฉบับที่ 1) เอกสารหมาย จ.18 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำตามสัญญาทุกงวดแล้วเสร็จและส่งมอบแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ได้ขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว
++ ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานในงวดที่9 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 งวดที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538และงานในงวดที่ 5 และที่ 6 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2538 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2537 อันเป็นวันกำหนดเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเดิมแล้วล่วงเลยไป 162 วัน และในการจ่ายเงินค่าจ้างในงวดที่ 9 งวดที่3 งวดที่ 5 และงวดที่ 6 โจทก์ได้บันทึกข้อความขอสงวนสิทธิในการปรับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้าด้วย ต่อมาโจทก์จึงเรียกร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นเงินวันละ 63,900 บาท จำนวน162 วัน เป็นเงิน 10,351,800 บาท และเรียกให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.18 ถือเป็นการขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ทั้งสัญญา หรือขยายระยะเวลาเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
++ เห็นว่า แม้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 ข้อ 4 จะระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงไม่ปรับผู้รับจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการ อันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ถือว่ากำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงวดสามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้มีข้อความเป็นทำนองว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาสำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ได้เท่านั้น
++ แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 เป็นเพียงส่วนประกอบของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนั้น การตีความในข้อความของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องตีความให้สอดคล้องและไม่ให้ขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3ข้อ 1 ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าจ้าง ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค จังหวัดสระบุรีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา และในสัญญาข้อ 4 ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องค่าจ้างและการจ่ายเงิน ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน 63,900,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนเงิน 4,180,373.83 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆและค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือเอาราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ และกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด ๆ ดังนี้ สัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จและสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญาได้ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานที่รับจ้างภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 และจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3ธันวาคม 2537 ถ้าผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลาหรือไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือจะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับ ระบุว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง
++ จากข้อตกลงว่าจ้างและข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3เป็นสัญญาจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ โดยผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นเป็นเงิน 63,900,000 บาท ข้อกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันทำสัญญา และต้องทำงานให้เสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 แม้ในรายละเอียดของงวดงานทั้ง 10 งวดตามสัญญา จะได้กำหนดจำนวนวันที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จในแต่ละงวดไว้แตกต่างกัน แต่กำหนดเวลาเริ่มต้นทำงานของงานแต่ละงวดจะนับตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกันหมด โดยมิได้กำหนดให้เริ่มทำงานในงวดที่ 1 ก่อนและกำหนดให้ส่งมอบงานในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เรียงกันไป ทั้งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าปรับ 63,900 บาทต่อวันแล้ว ปรากฎว่าตามสัญญาได้ใช้จำนวนค่าจ้างของงานทั้งหมดมาเป็นฐานคำนวณค่าปรับในอัตราร้อยละ .1 ของค่าจ้างทั้งหมดจำนวนเดียว ย่อมมีความหมายว่าผู้รับจ้างจะเริ่มทำงานในงวดใดก่อนก็ได้ และจะทำงานงวดใดให้เสร็จเป็นงวดสุดท้ายก็ได้ แต่งานทุกงวดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 หากงานงวดใดงวดหนึ่งเสร็จล่าช้าเกินไปกว่าวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ต้องถือว่างานทั้งหมดล่าช้า ต้องเสียค่าปรับวันละ 63,900 บาท
++ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ว่า เป็นสัญญาจ้างทำของในลักษณะจ้างเหมาโดยถือเอาความสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ การแบ่งงวดงานออกเป็น 10งวด ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างซึ่งจะแบ่งจ่ายแก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆเท่านั้น ดังนั้น กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ก็คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 ที่กำหนดให้ทำงานเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เมื่อตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 ได้มีการแก้ไขเนื้องานเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 โดยมีการตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาจ้างเดิมในข้อ 3 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ว่าจ้างตกลงขยายระยะเวลาให้ผู้รับจ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 6 ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.3 โดยการขยายระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ออกไปทั้งสัญญา
++ แม้ตามความในข้อ 4ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จะมีข้อความในทำนองที่ว่า การขยายระยะเวลาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการขยายระยะเวลาให้สำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ที่มีการแก้ไขเนื้องานเท่านั้น ส่วนงานในงวดอื่น ๆ หากมีการส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาจ้างเดิม ต้องถูกปรับตามอัตราค่าปรับตามสัญญาจ้างเดิมโดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนของอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามสัญญาจ้างเดิมในแต่ละงวด ทั้งมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นในสัญญาจ้างเดิมอีก ความในข้อ 4 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จึงไม่สอดคล้องและขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีผลบังคับ
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานทุกงวดภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาได้ ++
of 12