คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาชดใช้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6786/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการทุจริตบัตรภาษี: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปีตามป.พ.พ.มาตรา 193/30
ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี จำเลยที่ 1 ให้สัญญาแก่โจทก์ว่า กรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่กรมศุลกากรไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น และโจทก์ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาดังกล่าวโดยต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามมูลค่าบัตรภาษีทั้ง 7 ฉบับ ที่เกิดจากการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความโดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หาใช่เป็นกรณีที่จะถือว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในกรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6785/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอชดเชยภาษีอากรเท็จ & สัญญาชดใช้ความเสียหาย: จำเลยต้องคืนเงินและชดใช้ดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าออกทั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีสำหรับใบขนสินค้าขาออกทั้งสองฉบับดังกล่าว เมื่อบัตรภาษีดังกล่าวจำเลยที่ 2 นำไปใช้ชำระภาษีอากรแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนบัตรภาษีซึ่งขอรับโอนบัตรภาษีโดยให้สัญญาต่อโจทก์ว่าถ้าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี เนื่องจากมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกทั้งสองฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 คืนเงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญา มิได้ฟ้องในลักษณะเรียกคืนลาภมิควรได้ ฉะนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรับโอนบัตรภาษีไว้โดยสุจริตหรือไม่และมีบัตรภาษีเหลืออยู่หรือไม่ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญา แต่สัญญามิได้กำหนดเวลาคืนเงินไว้ จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยต่อเมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน แล้วจำเลยที่ 2 ไม่คืนให้ตามเวลาที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และ 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 รับบัตรภาษีจากโจทก์
ตามป.พ.พ. และ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวนี้ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการเรียกคืนลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิด: ศาลอุทธรณ์ตีความตามเจตนาสุจริตและปกติประเพณีได้
แม้จำเลยที่ 3 มิใช่ผู้ที่กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 3 ได้ทำบันทึกการตกลงค่าเสียหายว่าจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 3 สมัครใจเข้าทำสัญญากับโจทก์รับที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์จากการถูกผู้อื่นกระทำละเมิด เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ให้ต้องรับผิดตามสัญญา ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 3 นำสืบในสำนวนความมาวินิจฉัยโดยตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตของคู่กรณีและโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 368 จึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8891/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ราชการ: การมีสัญญาเป็นหนังสือเป็นสาระสำคัญ
ตามระเบียบการลาศึกษาต่อของโจทก์แสดงให้เห็นว่าต้องมีการทำสัญญาเป็นหนังสือระบุเงื่อนไขในการรับราชการชดเชย เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้มีการทำสัญญาเป็นหนังสือระบุเงื่อนไขให้จำเลยที่ 1 รับราชการชดเชยเป็นสองเท่าไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับราชการชดเชยเป็นสองเท่าตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสงวนสิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายหลังเกิดอุบัติเหตุ และผลของการทำสัญญาแทนผู้เยาว์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน90,000 บาทโจทก์ที่ 5 และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตกลงใช้เงินจำนวน150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5แทนผู้เยาว์ทั้งสามซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1574(8) เดิม(มาตรา 1574(12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไว้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา: การบังคับใช้สัญญาเฉพาะเจาะจงเหนือกว่าระเบียบทั่วไป
จำเลยที่1ได้รับทุนมูลนิธิฟุลไบร์ทไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์มีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันซึ่งตามสัญญาดังกล่าวข้อ4ระบุว่า"ในกรณีที่ข้าพเจ้า(จำเลยที่1)ผิดสัญญาหรือข้าพเจ้า(จำเลยที่1)ไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใดๆก็ดีข้าพเจ้าจะชดใช้คืนให้แก่ผู้รับสัญญา(โจทก์)ซึ่งทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรือเงินอื่นใดทั้งสิ้นที่ข้าพเจ้าได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรมนอกจากนี้ข้าพเจ้าจะจ่ายเงินเป็นเบี้ยปรับให้แก่ผู้รับสัญญาอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับเงินที่ข้าพเจ้าจะต้องชดใช้คืน"ข้อความในสัญญาดังกล่าวหมายความว่ากรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาจะต้องชดใช้ทุนหรือชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มหรือเงินอื่นใดให้แก่โจทก์และเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นเมื่อจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันชดใช้เงินเดือนที่ได้รับจากโจทก์รวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าให้แก่โจทก์แล้วจำเลยที่1ย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชดใช้คืนทุนที่ได้ใช้จ่ายในการศึกษาให้แก่โจทก์อีกและแม้ตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาดูงานในต่างประเทศจะระบุว่าจำเลยที่1จะต้องรับผิดชดใช้ทั้งเงินทุนและเงินเดือนและเงินอื่นใดที่ทางราชการจ่ายให้พร้อมทั้งเบี้ยปรับแก่โจทก์มิใช่ชดใช้แต่เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามแต่เมื่อมิได้ระบุความดังกล่าวไว้ในสัญญาโจทก์จะอ้างระเบียบมาบังคับให้จำเลยที่1ต้องรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5631/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาชดใช้ทุนรัฐบาล: เริ่มนับเมื่อมีสิทธิเรียกร้อง การยอมรับหนี้ไม่เกิดขึ้นจากโทรเลข
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนของรัฐบาลประเทศออสเตรเลีย ภายใต้แผนโคลัมโบเพื่อไปศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย โดยมีข้อสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องกลับมารับราชการกับโจทก์ หากไม่กลับมายอมคืนเงินค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนทันที โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2512 และโจทก์อนุมัติให้ลาศึกษาต่อที่ประเทศหกรัฐอเมริกาอีก 2 ปี หลังจากครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์ตามสัญญา ดังนี้ ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการอายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2514 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2532 จึงพ้นกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164เดิมแล้ว
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาการที่จำเลยที่ 1 ส่งโทรเลขถึงโจทก์ว่า ได้ทราบข้อความในจดหมายแล้วจะกลับมาติดต่อกับโจทก์โดยเร็วนั้น ข้อความในโทรเลขเป็นเพียงการตอบโจทก์ว่าจะติดต่อกับโจทก์เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ และถือไม่ได้เป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยว่ายอมรับสภาพหนี้ต่อโจทก์อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการศึกษาต่อต่างประเทศ แม้ทุนไม่ผ่านโจทก์ ก็ผูกพันจำเลยหากมีเจตนาให้กลับมาใช้ทุน
แม้มูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ทุนการศึกษาแก่จำเลยที่ 1โดยไม่ผ่านโจทก์และเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันใด ๆรวมทั้งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จะให้จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นเวลา 2 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา ก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ เนื่องจากขณะที่จำเลยที่ 1 ขออนุมัติลาไปศึกษา ต่อนั้นจำเลยที่ 1 ยังรับราชการในสังกัดโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่าง ที่ลานั้น ก็ด้วยความประสงค์ของโจทก์ที่ว่า ต้องการให้จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการในสังกัดเดิมภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาแล้วหาเกี่ยวข้องกับมูลนิธิแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้รับทุนศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาดังกล่าวนี้เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเดินทางที่จ่ายให้อันเนื่องจากการศึกษาต่อนั้นไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การใด ก็รวมอยู่ในความหมายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนโจทก์ ฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินทุน และค่าใช้จ่าย ๆ รวมตลอดทั้งค่าเดินทางที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในการลาศึกษาต่อนั้น หามีข้อยกเว้นในสัญญา ว่าให้ใช้เฉพาะกับผู้รับทุนซึ่งผ่านรัฐบาลไทยหรือโจทก์เท่านั่น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นเป็นข้อตกลง อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นที่ประจักษ์ ว่าเพื่อต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นการชอบธรรม และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวจึงมีมูลหนี้ต่อกันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติราชการครบกำหนดตามสัญญา จึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชอบค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เป็นหลัก และสัญญาเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์จึงเป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่า หาใช่ทุนของโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้อง อันเป็นเหตุให้ยกฟ้อง จำเลยฎีกาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเหรียญสหรัฐเมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดเบี้ยปรับและดอกเบี้ยในสัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการลาศึกษาต่อ ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้
จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ลาไปศึกษาต่อภายในประเทศโดยสัญญาว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะกลับมารับราชการใช้หนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ หากผิดสัญญาจะต้องชำระเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จะต้องชดใช้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยกลับมารับราชการใช้หนี้โจทก์บางส่วนเพียง 1 ใน 3 ของกำหนดเวลาที่ต้องทำงานใช้หนี้โจทก์ จึงสมควรลดเบี้ยปรับลง 1 ใน 3 ส่วน จำเลยตกลงใช้เงินที่ยังมิได้ชำระและเบี้ยปรับกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปีของเงินที่ยังมิได้ชำระแก่โจทก์ ถือว่าดอกเบี้ยเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าหากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนกรณีทุนส่วนตัว-ทุนรัฐบาล: ศาลฎีกาตัดสินว่าจำเลยไม่ต้องชดใช้ทุนส่วนตัวที่ได้รับโดยตรง
การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนของสภาประชากรแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนตัวโดยมิได้ผ่านทางหน่วยงานราชการ แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากับโจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาแล้วไม่กลับมารับราชการหรือกลับมารับราชการเป็นเวลาน้อยกว่า 3 เท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือที่ได้รับเงินเดือน รวมทั้งเงินเพิ่มสุดแต่เวลาใดจะมากกว่ากัน จำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้คืนซึ่งทุน และหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรือเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากทางราชการในระหว่างเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรืออบรม รวมทั้งเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็มีผลเพียงต้องชดใช้เงินเดือนที่ได้รับระหว่างศึกษาต่อพร้อมเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ไม่ต้องชดใช้ทุนคืนให้โจทก์แต่อย่างใด เพราะเงินทุนดังกล่าวมิได้เป็นเงินที่ได้รับจากทางราชการในระหว่างได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรม และมิได้เป็นทุนที่เจ้าของทุนมอบให้ทางรัฐบาลไทยหรือสถาบันในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยเช่นกัน
of 2