พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการชนท่าเรือ และความรับผิดของตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามข้อตกลงในคำร้องขอนำเรือเข้าท่าภายในอาณาบริเวณของโจทก์ที่จำเลยที่3ในฐานะตัวแทนจำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์โดยคำร้องดังกล่าวมีข้อความว่าข้าพเจ้ายอมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งเรือที่นำเข้าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพื่อนำเรือเข้ามาจอดซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่1ที่จะยอมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่เรือซัมเมอร์เบย์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งการแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่1และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164 จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลต่างประเทศมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยถือได้ว่าจำเลยที่1มีภูมิลำเนาประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71การที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่1ในประเทศไทยและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ให้ติดต่อกับโจทก์แทนจำเลยที่1ทำสัญญากับโจทก์แทนจำเลยที่1จึงไม่ใช่กรณีทำแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศอันจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824จำเลยที่2ที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและการที่จำเลยที่2และจำเลยที่3เข้าทำการเกี่ยวข้องกับโจทก์เป็นการทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่2และจำเลยที่3จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม-ฉ้อฉล-ข่มขู่: ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์การฉ้อฉลหรือข่มขู่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยยืมรถยนต์ของโจทก์ไปใช้แล้วขับรถยนต์ของโจทก์ไปชนคนเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหาย โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอปลาปาก โดยจำเลยสัญญาว่าจะขอรับรถยนต์ของโจทก์ไป และยอมชดใช้เงินเป็นค่ารถยนต์ให้โจทก์จำนวน 210,000 บาท เห็นว่าโจทก์บรรยายฟ้องโดยกล่าวถึงสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและบรรยายถึงเหตุแห่งข้อหาคือจำเลยยืมรถยนต์ของโจทก์ไปใช้แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม คำให้การจำเลยบรรยายแต่เพียงว่าโจทก์ใช้กลฉ้อฉลให้จำเลยสำคัญผิดมิได้บรรยายถึงเหตุแห่งการฉ้อฉลโดยชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ข้อนี้จึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนและการรับผิดของตัวแทนและตัวการ กรณีทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนรถยนต์ชนรถยนต์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนมาติดต่อตกลงเรื่องค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนได้ทำบันทึกชดใช้ค่าซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์ อันเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการไปโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทน ดังนี้ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง และตามคำฟ้องก็ไม่มีทางที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดได้ที่ศาลไม่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว
โจทก์ฎีกาขอให้รับฟ้องจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณา โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ไม่ใช่เสียตามจำนวนทุนทรัพย์
โจทก์ฎีกาขอให้รับฟ้องจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณา โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ไม่ใช่เสียตามจำนวนทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกจ้างในสัญญาชดใช้ค่าเสียหาย: ความรับผิดจำกัดเฉพาะกรณีที่อยู่ในวิสัยควบคุม
แม้ลูกจ้างจะมีข้อตกลงกับนายจ้างว่าลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือสูญหายของสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าก็ตาม แต่การตกลงเช่นนี้คู่กรณีย่อมคำนึงถึงความสามารถที่คู่กรณีจะรับผิดชอบได้ คงไม่มีเจตนาที่จะให้รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจและความสามารถของคู่กรณี เช่น อุบัติเหตุภัยพิบัติธรรมชาติโจรกรรมหรือเหตุสุดวิสัยด้วย ดังนั้น เมื่อสินค้าของนายจ้างหายไปโดยมิได้เกิดจากการยักยอกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างแล้วลูกจ้างก็ไม่ต้องรับผิดตามข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องพิจารณาคู่ความเดียวกัน และสัญญาชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
กรณีจะเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 นั้น คู่ความทั้งสองคดีต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อคดีก่อน ก. เป็นโจทก์มีโจทก์คดีนี้เป็นผู้ฟ้องแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ก. ผู้เยาว์ แต่คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่คู่ความเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
บันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยกระทำละเมิดต่ออำนาจปกครองของโจทก์โดยพรากผู้เยาว์ไปจากโจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าคู่กรณีประสงค์จะระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อแผ่นดิน สัญญาประนีประนอมยอมความตามบันทึกดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
บันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยกระทำละเมิดต่ออำนาจปกครองของโจทก์โดยพรากผู้เยาว์ไปจากโจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าคู่กรณีประสงค์จะระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อแผ่นดิน สัญญาประนีประนอมยอมความตามบันทึกดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150