คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาซื้อขายไฟฟ้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่โมฆียะ แม้จะถูกข่มขู่ หากการแจ้งหนี้และการงดจ่ายไฟเป็นสิทธิที่ทำได้ตามสัญญา
โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำละเมิด แต่เมื่อมีกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าของโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายงดจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อได้ทันที โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วยความสุจริตและจะไม่กระทำการใดๆ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้า การละเมิดการใช้ไฟฟ้า หมายถึง การทำลายหรือดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าและหรืออุปกรณ์ประกอบใดๆ ... ทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อน..." นอกจากนี้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามสัญญายังระบุว่า "กรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าทางด้านกิโลวัตต์ และหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ซื้อต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า..." ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยตามฟ้อง หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่ อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องเป็นโมฆียะดังที่โจทก์อ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการงดจ่ายไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไม่ถือเป็นการข่มขู่ทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่จำเลย หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14973/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า: ความรับผิดของผู้ใช้ไฟฟ้าและเจ้าของสถานที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครอง
เนื้อหาและเจตนารมณ์ของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและข้อบังคับของโจทก์ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานั้น ไม่ได้มีเพียงในเรื่องสิทธิคู่สัญญาที่จะได้รับการจ่ายไฟฟ้าให้ถูกต้องและการได้รับชำระเงินค่าไฟฟ้าที่ครบถ้วนเท่านั้น แต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยังมีหน้าที่และความรับผิดเรื่องอื่นอีก โดยโจทก์ยังมีหน้าที่และความรับผิดด้านการดูแลการจ่ายไฟให้ถูกต้องและปลอดภัยตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้ประกอบการ ให้บริการสาธารณะด้านการจ่ายไฟฟ้า ส่วนจำเลยก็ยังมีหน้าที่และความรับผิดในฐานะผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลสถานที่ใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นฝ่ายที่รู้เห็นเพียงฝ่ายเดียวเกี่ยวกับพฤติการณ์การใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในฐานะความเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง หรือผู้ดูแลบ้านที่ใช้ไฟฟ้าตามสัญญาที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ในข้อบังคับของโจทก์ข้อ 36 จึงตกลงกันไว้ชัดเจนว่า ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้บอกเลิกการใช้ไฟฟ้า แต่มีผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า ให้ถือว่าผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันในการชำระค่าไฟฟ้า เมื่อจำเลยซึ่งรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายบ้านของตนแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยตามสภาพปกติแล้วโจทก์ไม่อาจรู้ข้อเท็จจริงนี้ได้ จำเลยจึงต้องอยู่ในฐานะคู่สัญญาที่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญาให้ครบถ้วน การที่จำเลยไม่ดำเนินการบอกเลิกใช้ไฟฟ้าตามสัญญา แล้วต่อมามีผู้ใช้วิธีการตัดสายเช็คศูนย์ทางด้านไฟฟ้าเข้าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่บริเวณหัวเสาหน้าบ้าน และมีการนำไฟฟ้าเข้าไปใช้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านใช้ไฟฟ้าไปทั้งสิ้น 64,108 หน่วย แต่เครื่องวัดไฟฟ้าของจำเลยอ่านได้เพียง 29,660 หน่วย ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระค่าไฟฟ้าตามที่ควรได้รับตามปกติ จำเลยจึงต้องรับผิดตามเงื่อนไขแห่งสัญญาดังกล่าว
การฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าไฟฟ้าที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริง เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้ให้ถูกต้องโดยโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภค ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ตกลงทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาให้ครบถ้วนเป็นเหตุให้มีผู้อื่นทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเท่ากับค่าไฟฟ้าส่วนที่ขาดที่พึงได้ตามปกติ ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11027/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า: การชำระค่าไฟฟ้าเมื่อเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชำรุด และการลดเบี้ยปรับ
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อสินค้าไฟฟ้าจากโจทก์รับผิดชำระค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมแก่โจทก์ในกรณีที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าคลาดเคลื่อนตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อ 6 ซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าคลาดเคลื่อน ผู้ซื้อยินยอมชำระค่าไฟฟ้าประจำเดือนไปก่อน โดยให้นำค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของ 3 เดือนหลังสุดที่ถือว่าปกติติดต่อกัน หรือค่าไฟฟ้าที่คำนวณพื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้า โดยอาศัยหลักฐานข้อมูล ซึ่งตรวจสอบได้ในช่วงเวลานั้น มาเป็นค่าไฟฟ้าประจำเดือนของเดือนที่เริ่มมีการผิดพลาดเป็นต้นไป หากภายหลังการตรวจสอบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า มีผลแตกต่างจากที่เรียกเก็บไปแล้วนั้น คู่สัญญายินยอมให้เก็บเพิ่มหรือจ่ายคืน แล้วแต่กรณี" โจทก์มิได้อ้างในคำฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลังในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อเจตนากระทำหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำโดยมิชอบต่ออุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้าและหรือเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อ 9 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลังต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้กระทำหรือใช้ผู้อื่นกระทำโดยมิชอบต่ออุปกรณ์เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามสัญญาข้อ 9 นั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือในประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สืบพยานหลักฐานมาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 243 (1)
ดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ปรากฏตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าว่าเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าไฟฟ้าโดยกำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยอัตรานี้จึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีผิดสัญญา มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากศาลเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมพิจารณาลดลงเป็นจำนวนพอสมควรไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบเห็นถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าไฟฟ้าว่าสูงถึงจำนวนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ศาลฎีกาเห็นว่า เบี้ยปรับที่เป็นดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสูงเกินไป จึงเห็นสมควรลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี