พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: ศาลวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงและนิยามจากแหล่งอ้างอิงที่วิญญูชนทั่วไปทราบได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้โทรศัพท์ซึ่งมีสายไฟสองสายต่อพ่วงเข้ากับโทรศัพท์ในตู้โทรศัพท์สาธารณะของผู้เสียหายแล้วโทรศัพท์ออกไป หลังจากนั้นศาลจึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยความหมายของคำว่า "โทรศัพท์" ตามที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 7 ให้ความหมายไว้ว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทาง ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งแล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยลอบใช้สัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ การวินิจฉัยของศาลจึงเป็นการสืบค้นจากหนังสืออ้างอิงที่วิญญูชนทั่วไปก็สามารถทราบได้เมื่อเปิดดูจากหนังสือดังกล่าว โดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปที่ศาลสามารถวินิจฉัยได้เอง กรณีมิใช่เป็นการรับฟังและวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์กระทบสาธารณูปโภค ลดโทษเมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ที่ส่งผ่านสายสัญญาโทรศัพท์ จากสายสัญญาณและตู้โทรศัพท์สาธารณะ 7,192 หน่วย มีมูลค่าราคารวม 7,192 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ลักษณะของการกระทำความผิดเป็นผลเสียต่อกิจการที่เป็นประโยชน์ในทางสาธารณะ เกิดผลกระทบต่อระบบการสื่อสารในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงลำพังแต่การที่จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว ยังไม่เหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์ - ความผิดหลายกรรมต่างวาระ - การลดโทษและการรวมโทษ
สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ชุมสายประจำภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ต่อผู้เสียหายรายเดียวกันลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกันและมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน และหลังจากกระทำแต่ละครั้งบรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนาแล้ว จำเลยก็เลิกกระทำโดยถอดเครื่องโทรศัพท์ออกจากสายสัญญาณโทรศัพท์ที่ต่อพ่วงเชื่อมติดกันไว้อันเป็นการเลิกกระทำความผิดในครั้งนั้น ๆ โดยเด็ดขาด การกระทำความผิดครั้งต่อไปต้องนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับสายสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายใหม่ทุกครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันอันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
ความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11,12(1),18 วรรคสอง,48,62 วรรคหนึ่ง,81 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก,336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน ทั้งการที่จะบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จะต้องเป็นกรณีที่หลังจากลดโทษแต่ละกระทงความผิดแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นที่จะลงแก่จำเลยเกิน 20 ปี มิใช่วางโทษทุกกระทงก่อนเมื่อเกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกได้เพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษภายหลัง กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 91(2)
จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ต่อผู้เสียหายรายเดียวกันลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกันและมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน และหลังจากกระทำแต่ละครั้งบรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนาแล้ว จำเลยก็เลิกกระทำโดยถอดเครื่องโทรศัพท์ออกจากสายสัญญาณโทรศัพท์ที่ต่อพ่วงเชื่อมติดกันไว้อันเป็นการเลิกกระทำความผิดในครั้งนั้น ๆ โดยเด็ดขาด การกระทำความผิดครั้งต่อไปต้องนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับสายสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายใหม่ทุกครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันอันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
ความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11,12(1),18 วรรคสอง,48,62 วรรคหนึ่ง,81 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก,336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน ทั้งการที่จะบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จะต้องเป็นกรณีที่หลังจากลดโทษแต่ละกระทงความผิดแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นที่จะลงแก่จำเลยเกิน 20 ปี มิใช่วางโทษทุกกระทงก่อนเมื่อเกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกได้เพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษภายหลัง กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 91(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 334 ไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (10) วรรคสาม จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริงคำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2541)
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริงคำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2541)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(10) วรรคสามปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: การตีความทางกฎหมายและขอบเขตความผิดฐานลักทรัพย์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(10) วรรคสาม จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริง คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักสัญญาณโทรศัพท์เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ การพิจารณาโทษและการรอการลงโทษ
คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่าโทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลย ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า จำเลยเป็นนักศึกษา อายุยังน้อย ประกอบกับได้ บรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วและเพิ่ง กระทำความผิดครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเห็นควรให้รอการลงโทษ จำเลยไว้ แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นสมควรลงโทษปรับด้วย