พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ระงับข้อพิพาทเดิม ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ตกลงกับโจทก์จะระบุว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับว่า ได้เรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้วมิได้นำส่งให้โจทก์เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 446,855.47 บาท ขอยอมรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนโจทก์ และขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์โดยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้รวม 6 งวด งวดแรกชำระในวันรุ่งขึ้น ส่วนที่เหลือชำระในเดือนต่อ ๆ ไป โดยไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่จะตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้ตามสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ตามสัญญาตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายรับผิดชอบหนี้ซื้อขาย แม้รับเงินจากผู้ซื้อโดยตรง การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำได้โดยส่ง ณ สถานที่ที่จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 ตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทั้งที่ชำระเงินไปแล้วและได้มีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
เงินจำนวน 2,239,140 บาท รวมต้นเงินจำนวน 1,859,853 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเข้าด้วยกัน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,239,140 บาท จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทั้งที่ชำระเงินไปแล้วและได้มีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
เงินจำนวน 2,239,140 บาท รวมต้นเงินจำนวน 1,859,853 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเข้าด้วยกัน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,239,140 บาท จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจ่าย: สัญญาตัวแทน vs. การดูแลกิจการ
จำเลยแต่งตั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 นิติสัมพันธ์ระหว่างบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. กับจำเลยหาใช่เป็นเรื่องที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. ประกอบการค้าในการดูแลกิจการของจำเลยแต่อย่างใดไม่ เพราะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยอันเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนในกิจการของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. ทดรองจ่ายแทนจำเลย จึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของจำเลยหรือรับทำการงานต่าง ๆ ของจำเลย คดีโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายวันที่ 19 กันยายน 2540 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญาตัวแทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญา และการคิดค่าเสียหาย
จำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เป็นผู้ติดต่อหาลูกค้า เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้า โจทก์จะส่งคำสั่งซื้อของลูกค้ามายังจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองก็จะแจ้งกลับไปยังโจทก์ว่าจะส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้เมื่อใด โจทก์จึงแจ้งให้ลูกค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อชำระราคาสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยทั้งสองจัดส่งสินค้าแล้วก็จะเรียกเก็บเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ลูกค้าเปิดไว้เห็นได้ว่าลูกค้ามิได้สั่งซื้อและรับสินค้ากับชำระราคาสินค้าแก่โจทก์โดยตรง ราคาสินค้าที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้าก็คือราคาที่จำเลยทั้งสองขายให้แก่ลูกค้า โดยจำเลยทั้งสองจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ 3 ถึง ร้อยละ 7 ของจำนวนสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อ โจทก์มิได้ขายสินค้าของจำเลยที่ 2 ในนามของตนเองจึงไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของจำเลยทั้งสอง แต่การที่จำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนขายสินค้าในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและฮ่องกงและโจทก์ตกลงทำการดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะของสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นจึงตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวแทน จำเลยทั้งสองในฐานะตัวการย่อมมีสิทธิถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทนเสียเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคแรก ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองแจ้งแก่โจทก์ขอให้เลิกสัญญาโดยไม่ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนอีกต่อไปย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและมีผลตามกฎหมายทันที ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาได้ส่วนความเสียหายอันเกิดจากการบอกเลิกสัญญาตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์นั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งไม่อาจถือว่าการที่จำเลยทั้งสองถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทนโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการถอนตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนประกันภัยแม้ไม่ได้รับอนุญาตก็มีผลผูกพัน หากมีการรับมอบหมายหน้าที่และรับค่าตอบแทน
การที่จำเลยที่ 1 หารถยนต์มาเอาประกันภัยกับโจทก์โดยได้รับบำเหน็จตอบแทนในอัตราร้อยละ 12 โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำกรมธรรม์ไปส่งให้แก่ลูกค้าและรับเบี้ยประกันภัยจากลูกค้ามามอบให้โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอันมีผลให้การกระทำของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 31 (13) และมาตรา 63 ก็ตาม แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกัน ตัวแทนจะอ้างบทกฎหมายดังกล่าวเพื่อไม่ต้องรับผิดคืนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับไว้จากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญารับสภาพหนี้และค้ำประกันไม่ได้ และการเป็นตัวแทนก็มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตัวแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันบังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาตัวแทน: การบังคับชำระค่าจ้างตามข้อตกลงและหลักฐาน
หนังสือเสนอราคาที่โจทก์มีไปถึงจำเลยถือเป็นคำเสนอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 ส่วนหนังสือแต่งตั้งและว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำเครื่องจักรไปส่งให้จำเลยที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังได้รับคำเสนอแล้ว แม้จะไม่ได้อ้างถึงหนังสือเสนอราคาแต่ก็มิได้มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยแต่อย่างใดจึงย่อมเป็นคำสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง และเมื่อคำบอกกล่าวสนองของจำเลยไปถึงโจทก์ผู้เสนอแล้วย่อมเป็นสัญญาขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 361 วรรคแรก ในสัญญาตัวแทน ตัวการและตัวแทนมักมีความเกี่ยวพันกันเป็นส่วนตัวหรือหน้าที่การงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 803 จึงวางหลักไว้ว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกิจการที่ตนทำไปแทนตัวการ แต่สำหรับสัญญาจ้างทำของนั้น มีอยู่เสมอที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมิได้รู้จักผูกพันกันมาก่อนเหตุที่ทำสัญญากันก็เนื่องมาจากผู้ว่าจ้างต้องการผลสำเร็จของงานซึ่งผู้รับจ้างมีความถนัดและมักประกอบเป็นอาชีพโดยหวังสินจ้างเป็นสำคัญอันเป็นเรื่องของธุรกิจการค้าการบริการ โจทก์และจำเลยไม่รู้จักเกี่ยวพันกันมาก่อนต่างเป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการค้าการให้บริการโดยมุ่งหวังผลกำไร สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจำกัดประเด็นข้อพิพาท และผลของการวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่าย
โจทก์จำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงกัน และตกลงให้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยเอกสารฉบับที่พิพาท เพียงประเด็นเดียวว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อย อันจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ หากข้อสัญญาดังกล่าวไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์และหากข้อสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะ โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองโดยไม่ต้องมีการ สืบพยานกันต่อไป ข้อตกลงเช่นนี้ถือได้ว่ามีลักษณะ เป็นคำท้า หรือมีการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แล้ว หาจำต้อง มีข้อความว่าคู่ความตกลงท้ากันหรือให้ถือเอาเป็นประเด็น ข้อแพ้ชนะแห่งคดี จึงจะเป็นคำท้าไม่ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองในเรื่องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนให้สัญญากับโจทก์ ในฐานะตัวการว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองใน ราคาและเงื่อนไขที่กำหนด เรื่องการส่งเงินค่าปุ๋ยแก่โจทก์ ในกรณีขายเงินสด ขายเงินเชื่อ หากมีเงินค้างชำระยอมให้ คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นตามอัตราที่ตกลงกัน และข้อปฏิบัติในเมื่อ สัญญาสิ้นสุดลง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อตกลงที่เป็นพันธะ ผูกพันระหว่างคู่กรณี มิได้เกี่ยวข้องหรือกระทบไปถึงผลประโยชน์ ส่วนได้เสียของประชาชนโดยทั่วไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อตกลง นี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามฟ้องตามคำท้า โดยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีในประเด็นข้ออื่นที่คู่ความตกลง สละแล้วต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าทดรองจ่ายในสัญญาตัวแทน: ใช้มาตรา 164 ไม่ใช่ 165(7)
จำเลยที่ 1 แต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ตามมาตรา 816 วรรคหนึ่งซึ่งในกรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องใช้อายุความสิบปี ตามมาตรา 164(เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ไม่ใช่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองจากจำเลยทั้งสอง ตามมาตรา 165(7)(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย: สิทธิของตัวการเมื่อตัวแทนผิดสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า ภายหลังจากที่จำเลยรับมอบปุ๋ยจากโจทก์แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่ชำระค่าปุ๋ยตามกำหนดเวลาในสัญญา ไม่ทำรายงานจำนวนปุ๋ยที่จำหน่ายไปแล้วและปุ๋ยคงเหลือ และไม่ส่งบัญชีรายชื่อผู้ซื้อปุ๋ยให้โจทก์ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนตามแบบที่โจทก์กำหนดอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องของสัญญาข้อ 13 และข้อ 15 ที่ตกลงว่าหากจำเลยผิดสัญญาในส่วนนี้ย่อมมีผลตามสัญญาข้อ 17 ที่ระบุว่า ถ้าตัวแทนซึ่งหมายถึงจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือตัดสิทธิการเป็นตัวแทนและมีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 18.1 หรือเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินทันทีตามสัญญาข้อ 18.2 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่ตัวการเสร็จสิ้นเท่านั้น ซึ่งตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยดังกล่าวไม่มีข้อใดระบุว่า เมื่อจำเลยผิดสัญญาจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายอีกตันละ 500 บาทดังกรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยมิได้คืนปุ๋ยแก่โจทก์ และโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าปุ๋ยทั้งหมด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการคืนปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ถูกต้อง กรณีไม่อาจที่จะแปลว่าเมื่อจำเลยไม่คืนปุ๋ยย่อมฟังเป็นปริยายว่าปุ๋ยขาดจำนวนไปจากการดูแลรักษาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย: การผิดสัญญาชำระค่าปุ๋ยและผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า ภายหลังจากที่จำเลยรับมอบปุ๋ยจากโจทก์แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่ชำระค่าปุ๋ยตามกำหนดเวลาในสัญญาไม่ทำรายงานจำนวนปุ๋ยที่จำหน่ายไปแล้วและปุ๋ยคงเหลือ และไม่ส่งบัญชีรายชื่อผู้ซื้อปุ๋ยให้โจทก์ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนตามแบบที่โจทก์กำหนดอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องของสัญญาข้อ 13 และข้อ 15 ที่ตกลงว่าหากจำเลยผิดสัญญาในส่วนนี้อยู่มีผลตามสัญญาข้อ 17 ที่ระบุว่า ถ้าตัวแทนซึ่งหมายถึงจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือตัดสิทธิการเป็นตัวแทนและมีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 18.1 หรือเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินทันทีตามสัญญาข้อ 18.2 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่ตัวการเสร็จสิ้นเท่านั้นซึ่งตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยดังกล่าวไม่มีข้อใดระบุว่าเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายอีกตันละ 500 บาทดังกรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10 แต่อย่างใด ดังนี้เมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยมิได้คืนปุ๋ยแก่โจทก์ และโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าปุ๋ยทั้งหมด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการคืนปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ถูกต้อง กรณีไม่อาจที่จะแปลว่าเมื่อจำเลยไม่คืนปุ๋ยย่อมฟังเป็นปริยายว่าปุ๋ยขาดจำนวนไปจากการดูแลรักษาของจำเลย