พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนหลังหย่า: การโอนทรัพย์สินและการชำระหนี้ต้องควบคู่กัน
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกไว้ท้ายทะเบียนการหย่าว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ตกเป็นของโจทก์ทั้งหมด ส่วนหนี้สินอื่น ๆ กับสถาบันการเงินภายในสองจังหวัดดังกล่าวที่เกิดขึ้นก่อนวันหย่า โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระหนี้ทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะเป็นเรื่องของการจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แต่จำเลยต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้โจทก์ และโจทก์ต้องชำระหนี้แทนจำเลย ถือได้ว่ามีการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อมิได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยจะต้องโอนทรัพย์สินให้โจทก์ก่อน โจทก์จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงพร้อมกันไป การที่โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิไม่ยอมโอนทรัพย์สินให้โจทก์ ตามมาตรา 369 โจทก์จะยกข้อตกลงเฉพาะที่เป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวมาบังคับจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การบังคับชำระหนี้เมื่อโอนทรัพย์สินแล้ว และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 7 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จึงไม่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8673/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน: การชำระหนี้กู้ยืมควบคู่กับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา
โจทก์และจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยชำระเงินกู้ให้โจทก์ทั้งหมดครบถ้วนแล้ว โจทก์ตกลงยินยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์อยู่ให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนในวันที่จำเลยชำระหนี้ครบถ้วน หนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นหนี้ที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องชำระตอบแทนซึ่งกันและกันทันทีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ มิใช่เพียงข้อผูกพันที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะแยกการชำระหนี้ออกจากกันได้ กรณีจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 คือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินทั้งหมดแก่โจทก์โดยไม่ได้เสนอว่าโจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญากู้เงินตอบแทนด้วยจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้กู้ยืมเงินให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะขอชำระหนี้ตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8673/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนและการชำระหนี้ตามสัญญา สัญญาจะบังคับได้ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายพร้อมชำระหนี้ซึ่งกันและกัน
สัญญากู้เงินข้อ 4 ระบุไว้ชัดว่า "หากผู้กู้ชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมดให้แก่ผู้ให้กู้ครบถ้วนแล้ว ผู้ให้กู้ตกลงยินยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนที่ตนเองถือกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 265906 ให้แก่ผู้กู้ในวันที่ผู้กู้ชำระหนี้ครบถ้วน?" ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขโดยชัดแจ้งว่าหากจำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ตกลงยินยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงินดังกล่าวให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนในวันที่จำเลยชำระหนี้ครบถ้วน ทำให้หนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นหนี้ที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องชำระหนี้ตอบแทนซึ่งกันและกันทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ มิใช่เพียงข้อผูกพันที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายสามารถแยกการชำระหนี้ออกจากกันได้ กรณีจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 คือ คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินทั้งหมดแก่โจทก์ โดยไม่ได้เสนอว่าโจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญากู้เงินข้อ 4 ตอบแทนแก่จำเลยด้วย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้กู้ยืมเงินตามข้อ 1 ให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะขอชำระหนี้ตอบแทนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3916/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: การตีความสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และสิทธิเมื่อผิดสัญญา
ที่ดินที่เช่าเป็นที่ดินเปล่าและเป็นท้องนาลึกประมาณ 1 เมตร จำเลยเช่าที่ดินเพื่อใช้วางอุปกรณ์ก่อสร้างของจำเลย การที่จำเลยถมที่และล้อมรั้วสังกะสีเสาไม้รอบที่ดินที่เช่าตามที่สัญญาเช่ากำหนดไว้ ก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยผู้เช่า ส่วนข้อสัญญาเช่าที่กำหนดว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าปลูกสร้างบ้านพักคนงานและสถานประกอบการใดลงบนพื้นที่ซึ่งให้เช่าได้ ก็ไม่ใช่ข้อบังคับให้ผู้เช่าต้องกระทำ แต่เป็นการให้สิทธิผู้เช่าจะปลูกสร้างได้ แม้สัญญาเช่าจะระบุว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้สิ่งที่กระทำลงนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทันทีเว้นแต่โครงเหล็กสองชั้นก็ตาม เมื่อการถมที่และสร้างรั้วเป็นการทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าเอง ส่วนบ้านพักคนงานที่จำเลยผู้เช่าปลูกสร้างขึ้นตามสิทธิของจำเลยก็เป็นอาคารชั่วคราว ราคาไม่สูง และเมื่อที่ดินที่เช่าเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา ตั้งอยู่ตำบลประเวศ อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร สามารถให้เช่าเดือนละไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท การที่สัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท ก็เพื่อให้เหมาะสมกับการที่จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผิดสัญญา vs. ละเมิด: สัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่จำเลยตกลงจะปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ ลงในที่ดินของโจทก์ โดยให้โจทก์และจำเลยได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ตามสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งนอกเหนือจากที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. บรรพ 3 ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญา ต้องใช้เบี้ยปรับแก่โจทก์ตามสัญญา เป็นการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยผิดสัญญา ไม่ใช่ฟ้องเรื่องจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและพ้นวิสัยในการชำระหนี้จากสัญญาต่างตอบแทน กรณีไฟไหม้โรงสี
ปัญหาว่าการที่จำเลยส่งมอบข้าวสารไม่ได้เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จำเลยเป็นผู้กล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาขนส่ง, สัญญาต่างตอบแทน, ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ, และประเด็นนอกฟ้อง
แม้คำให้การจะถือว่าเป็นคำคู่ความเช่นเดียวกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) แต่การพิจารณาว่าคำให้การที่จำเลยยื่นต่อศาลเป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(4) และ มาตรา 177 กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าในกรณีที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีเอง แต่มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินคดีแทนจำเลยจะต้องบรรยายไว้ในคำให้การด้วยว่ามอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินคดีแทนและต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจมาพร้อมกับคำให้การด้วย เมื่อจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือและยื่นต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และในคำให้การจำเลยได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดโดยแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งเมื่อจำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งต้องมีผู้กระทำการแทนและตามใบแต่งทนายความของจำเลยระบุว่าผู้แต่งทนายความคือ "บริษัท น. โดย ร. ผู้รับมอบอำนาจจำเลย" ขอแต่งตั้งให้ว. เป็นทนายความและลงลายมือชื่อ ร. ในช่องผู้แต่งทนายความ ถือว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทนจำเลยและต่อมาจำเลยยื่นคำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและยื่นสำเนาเอกสาร จำเลยก็ได้ส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจซึ่งรับรองสำเนาถูกต้อง ร. จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความแทนจำเลย ว. ในฐานะทนายความจึงมีอำนาจทำคำให้การและลงชื่อในคำให้การยื่นต่อศาลได้
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผิดนัดโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีโดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องได้ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับว่าศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องก่อนมีคำสั่ง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ลำดับการบังคับคดีตามสัญญาต่างตอบแทน และสิทธิในการขอปฏิบัติการชำระหนี้ก่อน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยสามประการ ประการแรกคือบังคับให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องชำระเงินตอบแทนแก่จำเลย ประการที่สองคือบังคับให้ใช้ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิในที่ดินพิพาทได้ และประการที่สามคือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท สำหรับสิทธิของโจทก์ในประการแรกและประการที่สองการบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีที่อาจเลือกการชำระหนี้ได้ เมื่อที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้สิทธิบังคับในประการแรกคือให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับในประการที่สองให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์เพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระค่าเสียหายจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย