คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างประเทศ, ใบมอบอำนาจ, การรับสภาพหนี้, อายุความ, และผลของการลงนามสัญญาโดยกรรมการผู้จัดการ
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแม้จะมิได้ระบุว่าให้ฟ้องคดีในศาลประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจก็มีอำนาจฟ้องคดีได้
สาระสำคัญของสัญญามีความว่า โจทก์ตกลงจะให้คำแนะนำช่วยเหลือจำเลยในการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบและช่วยฝึกฝนพนักงานของจำเลยในด้านเทคนิคและบริหารโรงงานทอกระสอบของจำเลยโดยจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปแก่โจทก์เป็นงานที่โจทก์ตกลงจะทำให้จำเลยหลายสิ่งหลายอย่างทั่ว ๆ ไปและไม่กำหนดให้งานนั้นสำเร็จอย่างไรเมื่อใด จึงไม่มีลักษณะเป็นการจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงนามในสัญญาพิพาทเพียงคนเดียวและไม่ประทับตามของบริษัท ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท แต่หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ได้ส่งพนักงานของโจทก์มาช่วยเหลือแนะนำจำเลยตามสัญญา จนการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบของจำเลยสำเร็จเรียบร้อยเปิดดำเนินการได้ และจำเลยได้ยอมรับเอาผลงานของโจทก์ไว้เป็นประโยชน์แล้วตลอดมา จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย เป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ตลอดมาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามสัญญา ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยและจำเลยก็ยอมรับเอาผลงานของโจทก์แล้ว เมื่อผู้แทนโจทก์มาเจรจาเรื่องหนี้ตามสัญญาพิพาท กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยก็เป็นผู้เจรจากับผู้แทนโจทก์ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าบริษัทจำเลยเชิดกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย
การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2514 ในนามบริษัทจำเลยถึงโจทก์รับรองจะชำระเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น เป็นการยอมรับสภาพหนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยพ้นจากตำแหน่งหรือไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้นับแต่วันที่ 24 เมษายน 2514 ซึ่งเป็นวันรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างประเทศ, ใบมอบอำนาจ, การลงนามสัญญาที่ไม่ถูกต้อง, อายุความหนี้, การยอมรับผลงาน
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแม้จะมิได้ระบุว่าให้ฟ้องคดีในศาลประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจก็มีอำนาจฟ้องคดีได้
สาระสำคัญของสัญญามีความว่า โจทก์ตกลงจะให้คำแนะนำช่วยเหลือจำเลยในการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบและช่วยฝึกฝนพนักงานของจำเลยในด้านเทคนิคและบริหารโรงงานทอกระสอบของจำเลย โดยจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปแก่โจทก์ เป็นงานที่โจทก์ตกลงจะทำให้จำเลยหลายสิ่งหลายอย่างทั่ว ๆ ไปและไม่กำหนดให้งานนั้นสำเร็จอย่างไรเมื่อใด จึงไม่มีลักษณะเป็นการจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงนามในสัญญาพิพาทเพียงคนเดียวและไม่ประทับตามของบริษัท ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท แต่หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ได้ส่งพนักงานของโจทก์มาช่วยเหลือแนะนำจำเลยตามสัญญา จนการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบของจำเลยสำเร็จเรียบร้อยเปิดดำเนินการได้ และจำเลยได้ยอมรับเอาผลงานของโจทก์ไว้เป็นประโยชน์แล้วตลอดมา จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย เป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ตลอดมาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามสัญญา ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย และจำเลยก็ยอมรับเอาผลงานของโจทก์แล้ว เมื่อผู้แทนโจทก์มาเจรจาเรื่องหนี้ตามสัญญาพิพาท กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยก็เป็นผู้เจรจากับผู้แทนโจทก์ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าบริษัทจำเลยเชิดกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย
การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2514 ในนามบริษัทจำเลยถึงโจทก์รับรองจะชำระเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น เป็นการยอมรับสภาพหนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยพ้นจากตำแหน่งหรือไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้นับแต่วันที่ 24 เมษายน 2514ซึ่งเป็นวันรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต่างประเทศ การปรับราคาเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน และสิทธิของผู้ขาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากัน โดยมีข้อกำหนดในสัญญาว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจำเลยผู้ขายมีสิทธิแก้ไขและปรับราคาสินค้าใหม่ได้ข้อตกลงเช่นนี้เห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแม้ตามข้อตกลงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศใดเป็นหลัก แต่ก็ย่อมหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้านี้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามีเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่ 2สกุล คือเงินดอลล่าร์ของอเมริกาที่จำเลยใช้ชำระราคาสินค้ากับเงินมาร์คของเยอรมันเจ้าของสินค้าที่ซื้อขายกัน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์เปลี่ยนแปลงอันมีผลทำให้เงินมาร์คมีราคาสูงขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับราคาสินค้าที่ตกลงขายให้โจทก์สูงขึ้นได้ตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ และจะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายตามคำพรรณา: การคิดค่าเสียหายจากสัญญาต่างประเทศ
ขายตามคำพรรณาตกลงซื้อขายข้าวนึ่ง เปนซื้อขายตามคำพรรณา วิธีพิจารณาแพ่ง ลักษณพะยาน พะยานบุคคลมาอธิบายความหมายของถ้อยคำในสัญญาได้ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.8 แปลสัญญาเปนปัญหากฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15066/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: สัญญาต่างประเทศ, การเปลี่ยนแปลงรายได้, และการปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลครอบครัวแห่งรัฐนิวยอร์ก เขตปกครองเรนเซลาเออร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นบิดาของเด็กชาย อ. บุตรผู้เยาว์ และให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย อ. เป็นรายเดือนแก่โจทก์ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้เป็นไปตามสัญญา การที่จำเลยกลับมาประเทศไทยโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์มายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางให้จำเลยชำระเงินตามที่กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อข้อ 6 แห่งสัญญาระบุว่า สัญญานี้จะผูกพัน โจทก์จำเลยและบุตรผู้เยาว์ให้เป็นไปตามมาตรา 516 ของกฎหมายศาลครอบครัว ย่อมเห็นเจตนาของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีว่าประสงค์จะให้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับ ซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใด บังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ หรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี..." เมื่อข้อสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนชาวไทยตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ศาลไทยจึงรับพิจารณาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา และคำสั่งศาลครอบครัวแห่งรัฐนิวยอร์กได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันช่วงต่างประเทศ: การเกิดขึ้นของสัญญาตามกฎหมายไทย และอัตราดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือประกันการปฏิบัติตามสัญญาของกิจการร่วมค้า อ. ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยจำเลยยอมประกันช่วงผูกพันตนด้วยเงื่อนไขทำนองเดียวกันต่อโจทก์ (Instructions and Counter Guarantee) โจทก์ออกหนังสือประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Letter of Guarantee, Performance Security) ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว ต่อมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าได้บอกเลิกสัญญากับกิจการร่วมค้า อ. เพราะเหตุผิดสัญญา และขอให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือประกันดังกล่าว การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบและเรียกให้จำเลยชำระเงินจึงเป็นการปฏิบัติไปตามข้อตกลงในสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลย จำเลยรับทราบแล้วแจ้งกลับมายังโจทก์เพียงว่า ศาลในประเทศอิตาลีมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ และกิจการร่วมค้า อ. แจ้งจำเลยว่าจะเชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้ร่วมเจรจาระงับข้อพิพาทด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ขอให้โจทก์หยุดชำระเงินไว้ก่อน นั้น ทั้งสองเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุผลที่จะปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่มีต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือปลดเปลื้องจำเลยจากความรับผิดที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาประกันช่วงแต่อย่างใด เพราะเป็นข้ออ้างที่ขัดกับข้อความรับผิดตามหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงนั้นเอง การที่โจทก์ไม่พิจารณาคำทักท้วงดังกล่าวหรือสืบหาข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์ชำระเงินให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเมื่อถูกเรียกให้ชำระตามเงื่อนไขและภาระผูกพันในหนังสือประกันย่อมเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันช่วง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลยโดยการส่งโทรพิมพ์ (First Written Demand by Tested Telex) ตรงตามเงื่อนไขในสัญญาประกันช่วงแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่ระบุทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าคู่สัญญาแสดงเจตนากำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิกำหนดอัตราดอกเบี้ยฝ่ายเดียว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศอิตาลีทำคำเสนอทางโทรพิมพ์มายังโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย โจทก์ไม่ได้ตกลงรับว่าจะออกหนังสือประกันให้ตามที่จำเลยเสนอมาในทันที แต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในคำสนองว่าโจทก์จะออกหนังสือประกันให้ก็ต่อเมื่อจำเลยยอมประกันช่วงแก่โจทก์ว่าจำเลยจะชดใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้รับประโยชน์คืนให้แก่โจทก์ เมื่อคำสนองดังกล่าวมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย จึงถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับ ทั้งมีผลเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง แม้จำเลยได้รับโทรพิมพ์ดังกล่าวแล้ว สัญญาขอให้ออกหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังหาได้เกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลีดังที่จำเลยอ้างแต่อย่างใดไม่ เมื่อจำเลยมีโทรพิมพ์ ตอบกลับมายังโจทก์ว่าจำเลยให้อำนาจโจทก์ระบุข้อความรับผิดในการประกันช่วงดังกล่าวได้ โดยมิได้มีข้อความเพิ่มเติมหรือเงื่อนไขอย่างใดอีก โทรพิมพ์ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำสนองของจำเลย ดังนี้ สัญญาขอให้ออกหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่โจทก์ได้รับโทรพิมพ์ดังกล่าวที่ประเทศไทยตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคแรกจึงต้องใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญาเกิดคือกฎหมายไทยบังคับและต้องฟ้องคดีต่อศาลไทย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13