คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาบริการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ จึงเป็นมูลคดีในเขตศาลชั้นต้น
เมื่อคำขอ/สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมเป็นอำนาจของสำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสัญญา และเมื่อได้อนุมัติสัญญาแล้ว พร้อมกันนั้นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ก็จะเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ หลังจากนั้นจำเลยก็จะสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมตามคำขอที่ยื่นไว้ได้ การอนุมัติและการเปิดสัญญาณโดยสำนักงานใหญ่ของโจทก์ในลักษณะนี้ จึงเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ แม้ถึงจะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยในลักษณะเช่นนี้ย่อมได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอโดยเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งมีผลทำให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสอง แต่ประการใดอีก ดังนั้น เมื่อสัญญาใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์จำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดผลเมื่อเปิดสัญญาณฯ แม้แจ้งจำเลยภายหลัง
การที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติคำขอ/สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ และเมื่ออนุมัติสัญญาแล้วพร้อมกันนั้นสำนักงานใหญ่ของโจทก์จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่สำนักงานใหญ่ และจะโทรศัพท์แจ้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์เพื่อแจ้งให้จำเลยผู้ขอใช้บริการทราบ จากนั้นจำเลยจึงจะสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมตามคำขอที่ยื่นไว้ได้เช่นนี้ กรณีย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยกรอกข้อความแล้วยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงคำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการวิทยุคมนาคม ส่วนการพิจารณาอนุมัติสัญญาและเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้นถือเป็นการอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ยื่นขอใช้บริการ แม้ถึงจะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอของจำเลยโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก ส่วนการที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์แจ้งให้สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์เพื่อแจ้งให้จำเลยทราบอีกครั้งหนึ่งก็เป็นการแจ้งให้ทราบภายหลังจากสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกิดสัญญาบริการวิทยุคมนาคมจากการเปิดสัญญาณ แม้ไม่มีการบอกกล่าวสนองรับโดยตรง และเขตอำนาจศาล
สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์สนองรับคำเสนออันได้แก่คำขอใช้บริการที่จำเลยได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ด้วยการเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมให้จำเลยใช้บริการที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ การพิจารณาอนุมัติคำขอและเปิดสัญญาคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นขอใช้บริการ แม้จะเป็นการแสดงเจตนาต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมกระทำกันในลักษณะนี้โดยไม่จำต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปยังจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอบังคับชำระหนี้จากสัญญาดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ โจทก์ฟ้องได้ที่ศาลในเขตนั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคลโจทก์จึงมีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์จากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ/สัญญาการใชบริการวิทยุคมนาคมดังกล่าวมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติเมื่ออนุมัติแล้วสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ จำเลยจึงจะใช้บริการตามคำขอที่ยื่นไว้ได้ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานใหญ่ถือได้ว่าเป้นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลย แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทนุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ จึงถือเป็นเขตอำนาจศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการจากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ / สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยกรอกข้อความแล้วยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำคำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติคำขอและเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นขอใช้บริการ แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็เป็นตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคม การกระทำในลักษณะนี้ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก ดังนั้น สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (6) และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: เหตุผลความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และลักษณะของสัญญาบริการ
หลังจากที่โจทก์ทราบว่าสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าได้รับความเสียหายจากพายุฝนแล้ว แม้โจทก์จะทราบถึงจำนวนสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทราบจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงได้จนกว่าจะได้มี การสำรวจค่าเสียหายก่อน ในวันที่โจทก์ได้ยื่นประมาณการกำไรสุทธินั้น โจทก์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายเท่าใด และไม่ทราบว่าโจทก์จะมีรายได้ที่จะได้รับจากค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้ แก่โจทก์เพียงใด อีกทั้งไม่ทราบว่าบริษัทประกันภัยจะไม่รับเอาสินค้าที่ได้รับความเสียหายไป จึงทำให้โจทก์มีกำไรจากการขายซากทรัพย์เพิ่มขึ้นอีก การที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ที่ได้รับจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ จึงมีเหตุอันสมควร
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดที่บริษัทต่างประเทศตกลงให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การบริหารการเงินและด้านการตลาดให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 และการรับจ้างทำของดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีการให้ใช้สิทธิในกรรมวิธี สูตร หรือ สิทธิในการประกอบกิจการอันเป็นความลับแต่อย่างใด แม้การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาจะกำหนดให้คิดคำนวณในอัตราร้อยละของยอดขายสินค้า ที่บริษัทต่างประเทศเป็นผู้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่บริษัทต่างประเทศก็มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนขายสินค้าที่มีชื่อตราสินค้าหรือผูกขาดยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ แต่ผู้เดียว กรณีที่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างประเทศจึงไม่ใช่ค่าให้ใช้สิทธิแห่งเครื่องหมายการค้า หรือค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นลักษณะทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) และสัญญาดังกล่าวก็ไม่ได้มีการตกลงที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์พิเศษ ซึ่งจะต้องไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอันเป็นวิทยาการเพื่อให้โจทก์นำไปใช้ จึงมิใช่การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ อันจะเป็นค่าสิทธิตามที่ระบุไว้ในข้อ 12 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศเดนมาร์ก เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และทุน เงินค่าบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนตามสัญญารับจ้างทำของ อันเป็นเงินได้ในลักษณะเป็นกำไรทางธุรกิจที่บริษัทต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และ ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยตามสัญญาข้อ 7 แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 กรณีสัญญาบริการรักษาความปลอดภัย
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 880 เป็นการห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิเรียกค่าทดแทนต่อบุคคลภายนอก ในเมื่อตนได้รับค่าทดแทนจากผู้รับประกันภัยแล้ว แต่เพื่อมิให้บุคคลภายนอกที่ทำความเสียหายขึ้นหลุดพ้นจากความรับผิดไปลอย ๆ กฎหมายจึงบัญญัติให้สิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอกนั้น ตกไปเป็นของผู้รับประกันภัยโดยวิธีการที่เรียกว่ารับช่วงสิทธิ โดยสิทธิของผู้เอาประกันภัยอันมีต่อผู้ทำความเสียหายนั้นอาจเป็นสิทธิเรียกร้องฐานละเมิดหรืออาจเป็นสิทธิตามสัญญาก็ได้ และผู้รับประกันภัยจะรับช่วงสิทธิก็ต่อเมื่อได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว
ทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม และจำเลยต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยที่ทำไว้ เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายดังกล่าว บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ทำละเมิดโดยตรงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาบริการอำนวยความสะดวกมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 10 ปี
การที่โจทก์แม้จะเป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันทีมีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปีด้วยถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2537 แล้วมิได้ชำระหนี้อีกเลยอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2537 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 3 ตุลาคม 2540 พ้นกำหนด 2 ปี แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
กรณีที่โจทก์ให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิตถือมิได้ว่า เป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราว ย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาบริการรักษาความปลอดภัย: สิทธิการปรับเพิ่มราคาตามประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ และการพิสูจน์ข้อตกลงการใช้บริการวิทยุสื่อสาร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประกาศซึ่งมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง
ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ระบุหมายเหตุไว้ว่าค่าบริการจะถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละเดียวกันกับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยให้มีผลในขณะเดียวกันกับที่ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นนั้นมีผลใช้บังคับ ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นได้เท่าจำนวนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มได้ทันทีเมื่อการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับ
ท. เป็นลูกจ้างของบริษัทควบคุมการก่อสร้างอาคารของจำเลยท. มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ ท. ตกลงกับโจทก์และโจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารให้พนักงานรักษาความปลอดภัยนำไปใช้เพื่อความสะดวกในการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญาบริการ: ไม่ใช่ดอกเบี้ยและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อกำหนดข้อ 5 ระบุถึงการชำระเงินในกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามปกติโจทก์อาจจะคิดเงินจากจำเลยทั้งสามจำนวน 300 บาท ที่จะทดแทนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของโจทก์หรือจำนวน 500 บาท เมื่อเช็คหรือดราฟท์แต่ละฉบับไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ภายในเวลา 3 เดือน สำหรับข้อกำหนดข้อ 6 ระบุถึงค่าปรับในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้โจทก์จะเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสามได้ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าและค่าบริการครบจำนวนตามที่แสดงไว้ในใบเก็บเงินในวันปิดบัญชีรายเดือนในเดือนถัดไป ซึ่งเป็นจำนวนยอดเงินค้างชำระจากงวดก่อน โดยค่าปรับประกอบด้วยค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ และค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงิน 2.5 เปอร์เซ็นต์ เห็นได้ว่า กิจการของโจทก์เป็นการให้บริการแก่สมาชิก ไม่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงิน ค่าปรับตามข้อกำหนดดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 และมาตรา 654 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
of 3