พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การเบิกเงินเกินบัญชี, และการรับรองหนี้จากเอกสารแจ้งหนี้
ธ. ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำหนังสือมอบอำนาจให้ม. ฟ้องคดีแทนโจทก์แม้ต่อมาธ. ได้พ้นจากการเป็นผู้แทนโจทก์ม. ก็มีอำนาจฟ้องคดีโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวส่วนการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ก็เพราะภายหลังโจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจำเลยมิได้นำสืบหักล้างข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมถูกยกเลิกไป ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันเท่าใดแต่ละเดือนมีหนี้ต้องชำระเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องด้วยฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง จำเลยมีคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันและคำขอใช้บัตรเครดิตโดยให้ใช้บัญชีกระแสรายวันเป็นบัญชีเดินสะพัดและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใน15วันนับแต่วันรับหนังสือหากพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันเลิกกันเมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วแต่ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนดสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนด คำเบิกความของจำเลยเจือสมพยานโจทก์ที่เบิกความว่าในการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโจทก์จะแจ้งรายการที่ใช้ให้จำเลยทราบเป็นประจำทุกเดือนและโจทก์ยังได้แจ้งรายการของบัญชีเดินสะพัดให้จำเลยทราบเป็นประจำทุกเดือนข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับใบแจ้งหนี้จากโจทก์แล้วซึ่งการที่จำเลยไม่คัดค้านข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และถือว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90วรรคสี่(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการเบิกเงินเกินบัญชีและการเลิกสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และหลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาต่อกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 สัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องเลิกกันไปโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์2535 ขอให้บังคับทรัพย์จำนองจึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานไม่ขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขา, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, อายุความ, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การผ่อนเวลาลูกหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการยอมผ่อนปรนแก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทน โดยให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการเรื่องหนี้สินให้เรียบร้อยนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์หาได้ไม่ และตามข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่1 ต้องกระทำการต่าง ๆ ก็หาได้ระบุไว้ในสัญญาว่าจะต้องกระทำ ณ เวลาใดอันเป็นกำหนดแน่นอนไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว และยังกระทำผิดสัญญาในเรื่องการให้กู้ยืมกับให้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ก็ยังไม่เลิกสัญญาทันทีนั้น ก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองเป็นประกันการที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์สำหรับความเสียหายทั้งปวง จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายและเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง(อ้างฎีกา658-659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีที่เท่าใดยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วยดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้นเป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกันและมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายและเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง(อ้างฎีกา658-659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีที่เท่าใดยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วยดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้นเป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกันและมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดต่ออายุโดยปริยาย & ดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา 1 ปี 6 เดือน แต่หลังจากนั้นคู่สัญญายังติดต่อให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ถือว่าเลิกกันเมื่อเจ้าหนี้บอกกล่าวบังคับจำนอง เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยทบต้นหลังจากนั้นอีกไม่ได้
คำสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลสั่งในคำพิพากษาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาในฟ้อง
คำสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลสั่งในคำพิพากษาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21063/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในการใช้บัตรเครดิต และการแปลงหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
พ. และโจทก์ทำสัญญาใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองของจำเลยที่ 1 โดย พ. ถือบัตรหลัก โจทก์ถือบัตรเสริม ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวระบุไว้ว่า ในกรณีที่ธนาคารจำเลยที่ 1 อนุมัติให้ออกบัตรเสริมแก่ผู้ถือบัตรหลักรายใดแล้ว ผู้ถือบัตรหลักและผู้ถือบัตรเสริมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรนั้นอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายสัญญาในช่องผู้ให้สัญญา ย่อมเป็นการตกลงเข้าร่วมรับผิดกับ พ. ในการใช้บัตรหลักด้วยอย่างลูกหนี้ร่วมโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 297
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตมีข้อตกลงกันว่า กรณีการเรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิต พ. ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันของ พ. แต่พฤติการณ์ที่ พ. ขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในวันเดียวกับที่สมัครขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต และจำเลยที่ 1 ให้ พ. เปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่มีการใช้เช็คเพื่อเบิกถอนเงิน แสดงว่าเป็นบัญชีกระแสรายวันใช้เฉพาะเพื่อชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต จึงไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตมีข้อตกลงกันว่า กรณีการเรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิต พ. ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันของ พ. แต่พฤติการณ์ที่ พ. ขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในวันเดียวกับที่สมัครขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต และจำเลยที่ 1 ให้ พ. เปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่มีการใช้เช็คเพื่อเบิกถอนเงิน แสดงว่าเป็นบัญชีกระแสรายวันใช้เฉพาะเพื่อชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต จึงไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด