พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7970/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้รับประกันภัย, สัญญาประนีประนอม, การมอบอำนาจ, ความรับผิดของตัวแทน, การสูญหายของสินค้า
เมื่อผู้ส่งสินค้าทั้งห้ารายดังกล่าวติดต่อส่งสินค้ากับจำเลยทั้งสองมาเป็นเวลานาน ผู้ส่งสินค้าย่อมมีโอกาสตรวจดูเงื่อนไขข้อตกลงตามใบรับขนทางอากาศและทราบถึงเงื่อนไขข้อตกลงดังกล่าว และยังได้ความจากถ้อยคำของ ป. พยานจำเลยทั้งสองว่า พนักงานของจำเลยที่ 2 ได้อธิบายให้พนักงานของบริษัท อ. ทราบในหลายโอกาสว่าในใบรับขนทางอากาศด้านหลังมีข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งอยู่ ประกอบกับตามใบรับขนทางอากาศเอกสารหมาย จ.3 จ.7 จ.11 จ.15 และ จ.19 ในช่องหมายเลข 10 ซึ่งฝ่ายผู้ส่งสินค้าได้ลงชื่อไว้ในฐานะผู้ส่งสินค้ามีข้อความว่า ผู้ส่งสินค้าตกลงตามเงื่อนไขสัญญาที่ปรากฏอยู่ด้านหลังของใบรับขนทางอากาศนี้ แสดงว่าผู้ส่งได้รับทราบและยอมตกลงตามเงื่อนไขข้อตกลงที่ปรากฏอยู่ด้านหลังของใบรับขนทางอากาศดังกล่าว นอกจากนี้ตามใบรับขนส่งทางอากาศ เอกสารหมาย จ.3 ก็ปรากฏว่าบริษัท อ. ผู้ส่งตกลงเลือกส่งสินค้าแบบไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง โดยมีการแจ้งน้ำหนักสินค้า จึงมีการคิดค่าระวางตามน้ำหนักสินค้าที่แจ้งเท่านั้น ส่วนในการขนส่งสินค้าของผู้ส่งสินค้าอีก 4 รายที่เหลือก็ปรากฏตามใบรับขนทางอากาศเอกสารหมาย จ.7 จ.11 จ.15 และ จ.19 ว่าผู้ส่งตกลงเลือกส่งสินค้าแบบแจ้งมูลค่าเพื่อการขนส่ง ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าผู้ส่งสินค้าดังกล่าวทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศดังกล่าว ดังนั้น จึงรับฟังได้ว่าผู้ส่งสินค้าทั้งห้ารายดังกล่าวได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าว
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ส่งสินค้าทั้งห้ารายดังกล่าวได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าสินค้าทั้ง 5 รายการ สูญหายไปเพราะการทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งจำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์แต่อย่างใด เท่ากับจำเลยทั้งสองยอมรับในข้อเท็จจริงดังกล่าว กรณีจึงรับฟังได้ว่าสินค้าทั้ง 5 รายการ สูญหายไปเพราะการทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งตามฟ้อง ซึ่งตามเงื่อนไขด้านหลังใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย ล.5 กรณีนี้จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
เมื่อบริษัท บ. และบริษัท ก. ผู้ส่งได้บอกราคาแห่งของในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งว่ามีราคารายละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดและความรับผิดของจำเลยทั้งสองก็ย่อมจำกัดเพียงไม่เกินราคาที่บอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 ส่วนสินค้ารายผู้ส่ง คือ บริษัท อ. นั้น ตามใบรับขนทางอากาศสินค้ารายนื้เอกสารหมาย จ.3 ในช่องมูลค่าสำแดงเพื่อการขนส่งไม่ได้ระบุราคาสินค้าไว้ว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างใด ฉะนั้น จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองจำกัดความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้ารายนี้เป็นเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,404 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคสอง ได้ แต่เรื่องนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยแล้วว่า ผู้ส่งสินค้าได้บอกถึงสภาพของสินค้าไว้ในขณะที่ส่งมอบให้จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งแล้ว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โดยในข้อนี้โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมาใช้บังคับได้ดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามราคาสินค้า
แม้ตัวแทนทำการเกินอำนาจ แต่ทางปฏิบัติของตัวการย่อมทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนเช่นนี้ ตัวการย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ส่งสินค้าทั้งห้ารายดังกล่าวได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าสินค้าทั้ง 5 รายการ สูญหายไปเพราะการทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งจำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์แต่อย่างใด เท่ากับจำเลยทั้งสองยอมรับในข้อเท็จจริงดังกล่าว กรณีจึงรับฟังได้ว่าสินค้าทั้ง 5 รายการ สูญหายไปเพราะการทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งตามฟ้อง ซึ่งตามเงื่อนไขด้านหลังใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย ล.5 กรณีนี้จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
เมื่อบริษัท บ. และบริษัท ก. ผู้ส่งได้บอกราคาแห่งของในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งว่ามีราคารายละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดและความรับผิดของจำเลยทั้งสองก็ย่อมจำกัดเพียงไม่เกินราคาที่บอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 ส่วนสินค้ารายผู้ส่ง คือ บริษัท อ. นั้น ตามใบรับขนทางอากาศสินค้ารายนื้เอกสารหมาย จ.3 ในช่องมูลค่าสำแดงเพื่อการขนส่งไม่ได้ระบุราคาสินค้าไว้ว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างใด ฉะนั้น จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองจำกัดความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้ารายนี้เป็นเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,404 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคสอง ได้ แต่เรื่องนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยแล้วว่า ผู้ส่งสินค้าได้บอกถึงสภาพของสินค้าไว้ในขณะที่ส่งมอบให้จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งแล้ว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โดยในข้อนี้โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมาใช้บังคับได้ดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามราคาสินค้า
แม้ตัวแทนทำการเกินอำนาจ แต่ทางปฏิบัติของตัวการย่อมทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนเช่นนี้ ตัวการย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะถึงที่สุดแล้ว และฎีกาไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ปัญหาว่าค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นค่าภาษีอากรหรือค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องเป็นผู้ชำระตามข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ โจทก์และจำเลยทั้งสี่เคยโต้เถียงกันมาแล้วและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำพิพากษาว่าปัญหาดังกล่าวคู่ความมิได้โต้เถียงกันแล้วเนื่องจากโจทก์แถลงยอมรับว่าจะเป็นผู้ชำระเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวอีกเป็นการไม่ชอบและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ว่าคู่ความฝ่ายใดผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวย่อมเป็นอันยุติ และเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาและมีคำสั่งใหม่ว่าจำเลยทั้งสี่เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทนและคู่ความยกเลิกวันนัดชำระหนี้เดิมเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีท้องถิ่น ต่อมาศาลชั้นต้นได้ไกล่เกลี่ยคู่ความและแก้ไขเหตุโต้แย้งดังกล่าว คู่ความจะต้องกำหนดวันนัดให้จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และกำหนดวันให้โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยทั้งสี่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ไม่ปรากฏคู่ความหรือศาลชั้นต้นได้กำหนดวันชำระหนี้ขึ้นใหม่เพื่อให้คู่ความปฏิบัติแทนวันนัดเดิมตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อหน้าที่ในการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังไม่ถึงกำหนดชำระ จึงยังไม่มีคู่ความฝ่ายใดตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อเนื้อหาในฎีกาของจำเลยทั้งสี่ยกขึ้นกล่าวอ้างหาได้มีข้อความส่วนใดที่โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ แต่กลับฎีกากล่าวอ้างว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและภาษีธุรกิจเฉพาะก็เป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง เมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้ง ๆ ที่ปัญหาเช่นว่านั้นได้ถึงที่สุดไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฎีกาของจำเลยทั้งสี่เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ถือว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5301/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความโมฆะจากข้อมูลเท็จ การฟ้องซ้ำ และการหลอกลวง
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองและสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนเป็นโมฆะ และให้จำเลยทั้งสามชำระเงินค่าที่ดินงวดที่ 1 จำนวน 2,100,000 บาท ที่โจทก์ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยคืนแก่โจทก์ตามคำฟ้องดังกล่าวหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวอ้าง สัญญาจะซื้อจะขายและข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่อาจบังคับให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญาได้ และมีผลทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่สถานะเดิม จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินค่าที่ดินงวดที่ 1 ที่ได้รับชำระแล้วแก่โจทก์ และโจทก์ซึ่งได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์ได้และโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวด้วย
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินตามเช็คซึ่งโจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยทั้งสามได้จัดให้จำเลยที่ 3 เข้าแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ได้สิทธิเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองแล้ว เมื่อครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเกินกว่า 5 ปี มีสิทธิได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) หลังจากนั้นสามารถออกโฉนดที่ดินได้ทันที ทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าได้รับโอนที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 โดยชอบ และสามารถออกโฉนดที่ดินได้โจทก์จึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีลักษณะทำนองว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา และเงินค่าที่ดินงวดที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปแล้วเป็นลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยที่ 1 ต้องคือแก่โจทก์และการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลอกลวงโจทก์และกระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่ หลังจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลบังคับได้ ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินตามเช็คซึ่งโจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยทั้งสามได้จัดให้จำเลยที่ 3 เข้าแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ได้สิทธิเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองแล้ว เมื่อครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเกินกว่า 5 ปี มีสิทธิได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) หลังจากนั้นสามารถออกโฉนดที่ดินได้ทันที ทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าได้รับโอนที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 โดยชอบ และสามารถออกโฉนดที่ดินได้โจทก์จึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีลักษณะทำนองว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา และเงินค่าที่ดินงวดที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปแล้วเป็นลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยที่ 1 ต้องคือแก่โจทก์และการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลอกลวงโจทก์และกระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่ หลังจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลบังคับได้ ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลชี้สองสถาน: กรณีสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆียะกรรม
จำเลยที่ 5 ขอแก้ไขคำให้การเดิมโดยอ้างเพิ่มเติมว่า สัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 5 เนื่องจากขณะทำสัญญาจำเลยที่ 5 มีอายุเพียง 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์ มิได้รับความเห็นชอบหรือความยินยอมจากมารดาซึ่งเป็นผู้ปกครอง จึงมีผลเป็นโมฆียะกรรม และขอถือเอาคำให้การที่ขอแก้ไขนี้เป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม คำให้การที่ขอแก้ไขดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะอยู่ในข้อยกเว้นที่พึงอนุญาตให้จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังล่วงพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำในขณะที่ผู้เยาว์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาล และผลกระทบต่อสิทธิในกรรมสิทธิ์รวม
จำเลยที่ 12 ทำข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับโจทก์ อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลย 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยก ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรมซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดตำแหน่งของที่ดินที่จะขอแบ่งแยกเป็นของตนเองเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสิบสองไม่ได้โต้แย้งในเรื่องจำนวนที่ดินที่โจทก์พึงได้รับอีก จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดตำแหน่งของที่ดินที่จะขอแบ่งแยกเป็นของตนเองเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสิบสองไม่ได้โต้แย้งในเรื่องจำนวนที่ดินที่โจทก์พึงได้รับอีก จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการชน ย่อมตัดสิทธิผู้รับประกันภัยในการรับช่วงเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุ
จำเลยขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถยนต์กระบะของ ส. ที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย ซึ่งตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี นอกจากพนักงานสอบสวนจะทำบันทึกแจ้งข้อหาจำเลยเป็นคดีอาญาและเปรียบเทียบปรับอันทำให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันแล้ว พนักงานสอบสวนยังทำบันทึกเกี่ยวกับค่าเสียหายมีข้อความว่า คู่กรณีสมัครใจตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกค่าเสียหาย ตกลงกันเป็นที่พอใจแล้วจึงให้ ส. และจำเลยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน ดังนี้แสดงว่า ส. และจำเลยตกลงกันว่าไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน เป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างซ่อมรถที่เสียหายเอง ข้อตกลงเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ทำให้ ส. ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถของ ส. จะรับช่วงสิทธิของ ส. ได้เพียงเท่าที่ ส. ผู้เอาประกันภัยมีอยู่เท่านั้น แม้ ส. จะทำบันทึกตกลงกับจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก็ตาม แต่ ส. เป็นผู้ได้รับความเสียหายกรณีละเมิดถูกรถยนต์จำเลยเฉี่ยวชน ย่อมมีสิทธิที่จะทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่กับจำเลยด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน อันเป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อ ส. ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย ดังนี้ โจทก์ผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของ ส. ที่จะมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ส. ผู้เอาประกันภัยไปเป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ที่โจทก์ทำไว้กับ ส. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องกระทำภายในกำหนด หากเลยกำหนดต้องใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การอุทธรณ์คำพิพากษา
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม หากโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อใดขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 (3) โดยโจทก์ต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง คือภายใน 7 มีนาคม 2545 ตามมาตรา 229 แต่โจทก์หาได้อุทธรณ์ไม่ กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 โดยไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไว้วินิจฉัยด้วยเหตุดังกล่าวจึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของมาตรา 138 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอม ผู้โจทก์ต้องอุทธรณ์ตามกำหนด หากไม่ทำ ยื่นคำร้องเพิกถอนไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสอง และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญายอมข้อใดไม่ชอบ ทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ เข้าข้อยกเว้นที่โจทก์สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คำพิพากษานั้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง การที่โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจ จึงไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอให้เพิกถอน หาใช่เป็นอุทธรณ์ตามข้อยกเว้นของ ป.วิ.พ. มาตรา 138 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดเจนเป็นหนังสือหรือสัญญาประนีประนอม การวินิจฉัยศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อน
โจทก์กล่างอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกบันทึกคำให้การของ ล. ขึ้นวินิจฉัยว่ามีผลผูกพัน ล. เนื่องจากเป็นการประนีประนอมยอมความระหว่างทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา 850, 852 และมาตรา 1750 ทำให้ที่ดินมรดกส่วนของ ล. ตกแก่โจทก์ เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของ ล. ในชั้นศาลที่ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือที่เป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของ ล. ในชั้นศาลที่ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือที่เป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสหลังหย่า: สิทธิในการเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียวเมื่อคู่สมรสไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอลงชื่อร่วมในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสและขอค่าอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องการตกลงหย่าขาดและแบ่งสินสมรส ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวโจทก์และจำเลยตัองปฏิบัติดังนี้ ข้อ 1 จำเลยต้องขายที่ดินสองแปลงให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน แล้วนำเงินที่หักค่าใช้จ่ายมาชำระให้แก่โจทก์ ข้อ 2 จำเลยตกลงโอนที่ดิน 5 โฉนดให้แก่โจทก์ ข้อ 3 ที่ดินนอกจากนี้ให้เป็นของจำเลยข้อ 4 โจทก์จำเลยตกลงหย่ากัน เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามข้อ 1 และได้รับโอนตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยยังจำหน่ายที่ดินตามข้อ 1 ไม่ได้ และระยะเวลา 6 เดือนที่กำหนดไว้ผ่านไปแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครบถ้วน สถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย ยังคงมีผลตามกฎหมาย คู่สมรสคงต้องมีภาระหน้าที่รับผิดต่อบุคคลภายนอกหรืออาจได้รับความเสียหายจากการจัดการสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้เพื่อขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินสินสมรส ชอบที่โจทก์จะขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวและจัดการแยกสินสมรส จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและเป็นคนละประเด็นกัน