คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาปรับโครงสร้างหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้หลังยื่นฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มีข้อตกลงว่า ภายหลังทำสัญญาหากมีเหตุการณ์กรณีมีการไม่ชำระเงินตามสัญญาหรือกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายได้ถูกริเริ่มขึ้น หรือลูกหนี้ถูกตัดสินชี้ขาดว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีการประชุมเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ตกลงชี้ขาดเป็นประการอื่นให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้ว และต้องชำระดอกเบี้ยค้างจ่ายที่คำนวณจากมูลหนี้เดิมก่อนทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยยอมรับว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว และต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่อาจชำระเงินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แก่เจ้าหนี้ได้อีกต่อไปเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิในการชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9) จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าถูกหนี้ไม่ชำระเงินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ และถูกตัดสินชี้ขาดว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ตกลงชี้ขาดเป็นประการอื่น ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องผูกพันปฏิบัติตามผลของสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยค้างชำระตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12802/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดเฉพาะตัวของผู้ค้ำประกันตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ การรับช่วงสิทธิ และขอบเขตความรับผิดร่วม
บริษัท ม. กับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ตามเอกสารหมาย จ.5 โดยในส่วนของโจทก์ต้องชำระเงินเพิ่มตามสัญญาข้อ 4.2 อันเนื่องมาจากโจทก์เคยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มาก่อนแล้วปฏิบัติผิดเงื่อนไข โดยยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ และบรรษัทดังกล่าวได้ยกเลิกสัญญาแล้ว ซึ่งเป็นข้อความจริงที่เกี่ยวถึงตัวโจทก์ผู้เป็นลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งโดยเฉพาะ ย่อมเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่โจทก์เท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 วรรคหนึ่ง ในข้อนี้สัญญาดังกล่าวในข้อ 4.2 ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้ค้ำประกันรายที่ 5 คือโจทก์จะต้องชำระหนี้เงินตามข้อ 4.2.1 จำนวน 570,000 บาท ภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2553 ข้อ 4.2.2 จำนวน 570,000 บาท ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ 23 มิถุนายน 2553 และ ข้อ 4.2.3 จำนวน 553,000 บาท ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ 23 มิถุนายน 2553 ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นความรับผิดเฉพาะตัวของโจทก์ มิฉะนั้นแล้วบรรษัทดังกล่าวคงไม่ตกลงไว้เช่นนั้น ดังนั้นโจทก์จะอ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันและให้จำเลยทั้งสี่ร่วมรับผิดด้วยโดยถือเป็นการรับช่วงสิทธิจากบรรษัทดังกล่าวมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสี่หาได้ไม่