พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินปลอม การกู้เงินจริงไม่ตรงตามจำนวนที่ระบุในสัญญา ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนเงินกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลัง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวและแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย คงมีแต่จำเลยที่ 1 ฎีกายกเหตุดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลอมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงการกู้ยืม หากจำนวนเงินในสัญญากู้ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่กู้จริงและผู้กู้ไม่ยินยอม
จำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์โดยขณะกู้ยืมและขณะจำเลยลงลายมือชื่อหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทยังไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ไว้เลยต่อมาโจทก์กรอกข้อความและจำนวนเงินกู้ขึ้นเองในภายหลังเป็นจำนวนเงินมากกว่าที่กู้จริงโดยจำเลยไม่รู้เห็นและยินยอม ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินจึงเป็นสัญญากู้ปลอม ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะฟ้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสัญญาปลอมที่เคยวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 ให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน โจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่า ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ทั้งสอง แต่เป็นลายมือชื่อที่จำเลยทำปลอมขึ้นอันเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยฟังข้อเท็จจริงว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันจริง ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันและสัญญาทั้งสองฉบับเป็นโมฆะกรรม อันเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมบางส่วนก็ตาม แต่เมื่อประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นประเด็นเดียวกันว่า สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันทั้งสองฉบับเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ ดังนี้ การฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสัญญาปลอมที่เคยถูกวินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ห้ามฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 ให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันโจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่า ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ทั้งสองแต่เป็นลายมือชื่อที่จำเลยทำปลอมขึ้นอันเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันจริง ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันและสัญญาทั้งสองฉบับเป็นโมฆะกรรม อันเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมบางส่วนก็ตาม แต่เมื่อประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นประเด็นเดียวกันว่า สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันทั้งสองฉบับเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ ดังนี้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ – สัญญาปลอม – พยานหลักฐาน – น้ำหนักพยาน
คำเบิกความของโจทก์เจือสมกับข้อความที่เขียนลงไว้ในสัญญากู้และจำนวนเงินที่เขียนลงไว้ในสัญญากู้ตรงกับที่เขียนลงไว้ในสัญญาค้ำประกันทั้งยังมี ร. ผู้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เบิกความว่าเห็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ จ. ด้วยในขณะที่พยานหลักฐานของจำเลยที่1ทายาทของ จ. คงมีเฉพาะคำเบิกความของจำเลยที่1ซึ่งฟังไม่ได้ว่าสัญญากู้เป็นสัญญาปลอมหรือไม่กับ ส. ซึ่งมิได้รู้เห็นการกู้เงินด้วยตนเองโดยอ้างว่า จ. เคยเล่าให้ฟังว่ามิได้กู้เงินโจทก์ตามจำนวนดังฟ้องอีกทั้งจำเลยที่1ก็มิได้นำ ป. ผู้ค้ำประกันการกู้เงินซึ่งรู้เรื่องดังกล่าวมาเป็นพยานด้วยพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่1ฟังได้ว่าสัญญากู้มิได้เป็นสัญญาปลอมและ จ. ได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลอมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง การกู้ยืมเงินและค้ำประกันที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์กรอกข้อความและจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงแต่ลงลายมือชื่อให้โจทก์ไว้เกินไปจากความจริงโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยอมรับว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์15,000 บาท และจำเลยที่ 2 ค้ำประกันโจทก์ไว้ 15,000 บาท โจทก์ไม่อาจอาศัยสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ใช้เงินตามจำนวนที่กู้ยืมและค้ำประกันจริงได้ ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 15,000 บาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีโดยอ้างสัญญาปลอมต้องระบุเหตุผลแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การว่าจำเลยทั้งสามไม่เคยทำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกัน สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่โจทก์กับพวกร่วมกันปลอมขึ้นดังนี้ คำให้การของจำเลยทั้งสามเป็นการต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาปลอมเป็นสำคัญข้อที่ว่าจำเลยทั้งสามไม่เคยทำสัญญากับโจทก์ไม่ทำให้เปลี่ยนประเด็นเป็นอย่างอื่นเมื่อจำเลยทั้งสามไม่อ้างเหตุว่าปลอมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่มิได้ให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสอง จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นสัญญาปลอม และการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม
ประเด็นที่ว่า สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องมีข้อความและลายมือชื่อจำเลยปลอมหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในวันชี้สองสถานแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นนี้จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นในข้อนี้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามป.วิ.พ. 243(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลอมและการแก้ไขกระบวนพิจารณาเอกสาร: ศาลยืนตามข้อเท็จจริงที่จำเลยพิสูจน์ได้ว่ามีการแก้ไขสัญญากู้ยืม
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 30,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญากู้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 65,000 บาทโดยจำเลยมิได้ยินยอมสัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม และถือว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์ จำเลยไม่มีหลักฐานการกู้ยืมตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยได้เสียค่าอ้างพยานเอกสารภายหลังตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับการอ้างเอกสารซึ่งบกพร่องให้บริบูรณ์แล้ว เอกสารที่จำเลยอ้างจึงใช้ได้ และไม่ทำให้การพิจารณาและพิพากษาของศาลชั้นต้นเสียไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์สัญญาปลอม ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญากู้เอกสาร จ.1 เป็นเรื่องจำเลยซื้อที่ดินโจทก์และจำเลยค้างชำระค่าที่ดินแล้วทำสัญญากู้ให้สมมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้วให้โจทก์ยึดถือไว้แทนโดยตกลงกันว่าเมื่อจำเลยชำระราคาที่ดินแล้วโจทก์จะทำลายสัญญากู้ทิ้ง ต่อมาจำเลยชำระราคาที่ดินครบถ้วนและโจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยแล้ว โจทก์กลับนำสัญญากู้ดังกล่าวไปกรอกข้อความและนำมาเป็นหลักฐานฟ้องจำเลยดังนี้เป็นการนำสืบว่าสัญญากู้เป็นสัญญาปลอม และเป็นการนำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อทำลายล้างเอกสารทั้งฉบับ จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94