คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาปลูกสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาปลูกสร้างบ้านและการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดสัญญา
สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมีใจความในข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 ว่าโจทก์จะชำระค่าจ้างในวันทำสัญญาเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท และให้ถือว่าเป็นการชำระเงินงวดที่ 1 และชำระเงินงวดอีกเป็นจำนวน 1,433,190 บาท โดยแบ่งชำระรวม 21 งวด ภายในวันที่ 20 ของเดือน และข้อ 2.4 มีว่า ส่วนที่เหลือจากการชำระตามข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 เป็นเงินจำนวน 3,694,110 บาท จะชำระเมื่องานก่อสร้างทุกอย่างแล้วเสร็จสมบูรณ์ แม้สัญญาดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านไปแล้วเสร็จไว้ก็ตาม ก็อนุมานได้ว่าภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่างวดครบ 22 งวด จำเลยจะต้องปลูกสร้างบ้านให้แก่โจทก์ให้ได้ไม่น้อยกว่าตามสัดส่วนของเงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับชำระจากโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยไม่ได้เริ่มลงมือปลูกสร้างบ้านแต่อย่างใด โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามไปยังจำเลยถึงความคืบหน้าในการปลูกสร้างบ้าน และให้จำเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จสมบูรณ์ของการปลูกสร้างบ้าน แต่จำเลยก็มิได้มีหนังสือชี้แจงหรือโต้แย้งคัดค้านอย่างใด โจทก์ให้เวลาจำเลยอีก 4 เดือนเศษ จำเลยก็ยังไม่ปลูกสร้างบ้านให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยของเงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนแก่โจทก์ไว้ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับชำระแต่ละงวดจนกว่าจะใช้คืนเสร็จ แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7
จำเลยให้การว่า บุคคลที่บอกเลิกสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านเป็นผู้ที่ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา โดยมิได้กล่าวอ้างว่าเพราะเหตุใดจึงไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเรื่องการมอบอำนาจให้ทนายความบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์: การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และค่าเสียหาย
โจทก์ จำเลยได้ทำสัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินโฉนดของจำเลย ตามสัญญาข้อ 13 ระบุไว้ว่า ผู้ก่อสร้างจะต้องสร้างตึกแถวได้ไม่ต่ำกว่า 90 - 110 ห้อง ตามสัญญาข้อ 15 ระบุว่าผู้ให้ก่อสร้างรับว่าจะอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการให้ความร่วมมือในการติดต่อกับทางราชการเพื่อให้การก่อสร้างและการเซ้งห้องเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว และตามสัญญาข้อ 17 ระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องได้ทันที ดังนั้น เมื่อโจทก์ผู้ก่อสร้างทำผังให้ปลูกตึกแถวในที่ดินโฉนดของจำเลยผู้ให้ก่อสร้างได้ 91 ห้องก็ถือได้ว่าถูกต้องตามสัญญา การที่จำเลยไม่ยอมลงชื่อในแบบพิมพ์คำขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวของทางราชการให้โจทก์ โจทก์ไม่อาจสร้างตึกแถวได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้
เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะตามที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ค่าเสียหายเรื่องขาดผลกำไรเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์: สิทธิในการเลิกสัญญาและค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินโฉนดของจำเลยตามสัญญาข้อ13ระบุไว้ว่าผู้ก่อสร้างจะต้องสร้างตึกแถวได้ไม่ต่ำกว่า90-110ห้องตามสัญญาข้อ15ระบุว่าผู้ให้ก่อสร้างรับว่าจะอำนวยความสะดวกต่างๆรวมทั้งการให้ความร่วมมือในการติดต่อกับทางราชการเพื่อให้การก่อสร้างและการเซ้งห้องเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและตามสัญญาข้อ17ระบุว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องได้ทันทีดังนั้นเมื่อโจทก์ผู้ก่อสร้างทำผังให้ปลูกตึกแถวในที่ดินโฉนดของจำเลยผู้ให้ก่อสร้างได้91ห้องก็ถือได้ว่าถูกต้องตามสัญญาการที่จำเลยไม่ยอมลงชื่อในแบบพิมพ์คำขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวของทางราชการให้โจทก์โจทก์ไม่อาจสร้างตึกแถวได้พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญากับจำเลยแล้วคู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะตามที่เป็นอยู่เดิมและโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391ค่าเสียหายเรื่องขาดผลกำไรเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอนศาลเห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับค่าเสียหายส่วนนี้.