พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12705/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการและอำนาจวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ กรณีสัญญาพิพาทเป็นโมฆะ
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเกี่ยวกับคำร้องของจำเลยทั้งหกที่ขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ คู่ความแถลงรับว่าได้มีการทำสัญญาพิพาท และโจทก์รับด้วยว่าฝ่ายจำเลยได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ศาลชั้นต้นได้บันทึกข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา อันถือได้ว่าเป็นการไต่สวนตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 แล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ข้อตกลงระงับข้อพิพาทในสัญญาพิพาทระบุว่า ถ้ามีข้อพิพาทไม่ว่าชนิดใดก็ตามเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวกับหรือสืบเนื่องจากสัญญาหรือทำงานตามสัญญา ไม่ว่าระหว่างการทำงานหรือภายหลังจากที่ทำงานแล้วเสร็จและไม่ว่าก่อนหรือหลังการบอกเลิกสัญญาหรือยุติสัญญาด้วยวิธีอื่นซึ่งรวมถึงข้อพกพาทอื่นๆ ข้อพิพาทนั้นจะต้องเสนอไปยังวิศวกรที่ปรึกษาโดยคำตัดสินดังกล่าวสามารถถูกทบทวนโดยการยุติปัญหาด้วยการประนีประนอมหรือโดยอนุญาโตตุลาการ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะเนื่องจากโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวคู่สัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและต้องการให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ได้ไปจากโจทก์คืน จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเกี่ยวข้องกับสัญญาพิพาทดังกล่าวซึ่งต้องมีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก เมื่อโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะและส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย คู่สัญญาจึงต้องไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
ข้อตกลงระงับข้อพิพาทในสัญญาพิพาทระบุว่า ถ้ามีข้อพิพาทไม่ว่าชนิดใดก็ตามเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวกับหรือสืบเนื่องจากสัญญาหรือทำงานตามสัญญา ไม่ว่าระหว่างการทำงานหรือภายหลังจากที่ทำงานแล้วเสร็จและไม่ว่าก่อนหรือหลังการบอกเลิกสัญญาหรือยุติสัญญาด้วยวิธีอื่นซึ่งรวมถึงข้อพกพาทอื่นๆ ข้อพิพาทนั้นจะต้องเสนอไปยังวิศวกรที่ปรึกษาโดยคำตัดสินดังกล่าวสามารถถูกทบทวนโดยการยุติปัญหาด้วยการประนีประนอมหรือโดยอนุญาโตตุลาการ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะเนื่องจากโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวคู่สัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและต้องการให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ได้ไปจากโจทก์คืน จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเกี่ยวข้องกับสัญญาพิพาทดังกล่าวซึ่งต้องมีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก เมื่อโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะและส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย คู่สัญญาจึงต้องไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาพิพาท (Funding Agreement) ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน และศาลยืนตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ปี 2538 ผู้ร้องกับบริษัท ท. ร่วมกันจัดตั้งบริษัทกิจการร่วมค้า ตามคำคัดค้านชั้นอนุญาโตตุลาการ ปี 2544 บริษัทกิจการร่วมค้าดังกล่าวทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้คัดค้าน โดยผู้ร้องทำสัญญาพิพาทไว้กับผู้คัดค้านรับรองว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้โครงการของผู้กู้แล้วเสร็จ โดยเอกสารระบุว่าสัญญานี้อยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายไทย ซึ่งกฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติว่าจะต้องนำสัญญาดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อหน่วยงานของรัฐก่อนการมีผลใช้บังคับ แม้ผู้ร้องไม่ได้นำสัญญาไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ก็ไม่ทำให้ผู้ร้องบกพร่องความสามารถในการเข้าทำสัญญาตามกฎหมายไทย สัญญาพิพาทจึงสมบูรณ์ เมื่อสัญญาพิพาท ข้อ 2 ระบุว่าผู้ร้องให้คำรับรองว่าจะสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทกิจการร่วมค้า ผู้กู้ เพื่อให้สามารถทำโครงการจนแล้วเสร็จ และข้อ 3 ระบุว่าผู้ร้องจะชำระเงินแก่ผู้คัดค้านในฐานะผู้ให้กู้สำหรับการขาดทุน ต้นทุน ค่าใช้จ่าย และค่าเสียหายต่าง ๆ เนื่องจากผู้ร้องไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 2 ดังนั้น ข้อตกลงหลักของสัญญาพิพาทคือผู้ร้องมีหน้าที่สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้กู้ จะมีความรับผิดต้องชำระเงินแก่ผู้ให้กู้ต่อเมื่อผู้ร้องไม่ปฏิบัติหน้าที่ข้างต้น ไม่ใช่ข้อตกลงที่ผู้ร้องยอมผูกพันตนชำระหนี้แก่ผู้ให้กู้หากผู้กู้ไม่ชำระ สัญญาพิพาท (Funding Agreement) จึงไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นสัญญาทางแพ่งประเภทหนึ่งที่ไม่มีชื่อระบุใน ป.พ.พ. แม้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ ผู้ร้องก็ไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำชี้ขาดได้