พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมความผิดนัดชำระหนี้ เบี้ยปรับและดอกเบี้ย ศาลยืนตามสัญญาเดิม
เดิมโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน850,000บาทพร้อมดอกเบี้ย ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมแล้วซึ่งมีผลทำให้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852โดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันคือโจทก์ยอมลดเงินต้นเหลือ780,000บาทจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในเงินต้นดังกล่าวแก่โจทก์และชำระเงินต้นคืนเป็นการตอบแทนแต่ถ้าจำเลยผิดนัดให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีและให้โจทก์บังคับเอาเงินต้นจากจำเลยเป็นเงิน850,000บาทจึงเห็นได้ว่ากรณีผิดนัดจำเลยจะต้องถูกบังคับให้ชำระหนี้เพิ่มจากเงินต้นตามสัญญาอีก70,000บาทซึ่งเงินจำนวนนี้ก็คือเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381นั่นเองตามบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยผิดนัดนอกจากโจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้วโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับได้อีกด้วยจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจากต้นเงิน780,000บาทตามสัญญาต่อไปอีกจนกว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์เสร็จสิ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล แม้มีการทำสัญญายอมความและมีผู้ค้ำประกันรายใหม่ เพราะจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ตามเงื่อนไข
ผู้ร้องค้ำประกันลูกหนี้ตามคำพิพากษาชั้นทุเลาการบังคับคดีระหว่างลูกหนี้อุทธรณ์ซึ่งตามสัญญามีผลจนคดีถึงที่สุด โดยนำโฉนดมาวางประกัน ชั้นฎีกาถือหลักประกันเดิม ระหว่างฎีกาโจทก์จำเลยยอมความกันแบ่งชำระหนี้ 18 งวด มีผู้อื่นเข้าค้ำประกันอีกด้วย สัญญาข้อ 8 ยอมคืนโฉนดต่อเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้งวดที่ 7 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินงวดที่ 7 และเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยฝ่ายเดียว จำเลยไม่มีสิทธิที่จะสละและไม่ได้สิทธิอะไรจากสัญญา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 หนี้เดิมจึงยังคงมีอยู่ดังนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เหตุที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าวอีก ไม่มีผลทำให้ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญายอมความที่ยังไม่ปลอดจำนองและอาคารชำรุด ศาลฎีกาพิพากษางดการบังคับคดี
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังมิได้ทำที่ดินและอาคารพิพาทให้ปลอดจำนองตามสัญญาและโจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทชำรุดบกพร่อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์ขำระค่าที่ดินและอาคารพิพาทตามคำขอของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบและเมื่ออาคารพิพาทยังไม่ปลอดจำนอง จึงมีเหตุสมควรงดการบังคับคดีไว้ก่อน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2521)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงในสัญญายอมความ ศาลมีอำนาจบังคับตามเจตนาแม้ข้อความในสัญญาไม่ชัดเจน
ในกรณีที่คู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ต่อศาลเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาว่ามีความหมายตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาอย่างไร ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อตีความให้เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
ข้อความในสัญญายอมความ ซึ่งคู่สัญญาตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกัน ระบุให้ห้องแถวไม้สองชั้น 10 ห้องเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าข้อความดังกล่าวพิมพ์ตกคำว่า "พร้อมด้วยที่ดิน" ซึ่งตามเจตนาแท้จริงของคู่สัญญาหมายรวมถึงที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องแถวนั้นด้วย เมื่อศาลเห็นว่า ตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาหมายถึงห้องแถวดังกล่าวพร้อมด้วยที่ดินแล้วก็มีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามนั้น
ข้อความในสัญญายอมความ ซึ่งคู่สัญญาตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกัน ระบุให้ห้องแถวไม้สองชั้น 10 ห้องเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าข้อความดังกล่าวพิมพ์ตกคำว่า "พร้อมด้วยที่ดิน" ซึ่งตามเจตนาแท้จริงของคู่สัญญาหมายรวมถึงที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องแถวนั้นด้วย เมื่อศาลเห็นว่า ตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาหมายถึงห้องแถวดังกล่าวพร้อมด้วยที่ดินแล้วก็มีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมความ ยักยอกทรัพย์ ฟ้องแย้งค่านายหน้า: การระงับคดีอาญาด้วยสัญญายอมความ และการฟ้องแย้งที่ไม่ชัดเจน
จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายรถแทรกเตอร์ของโจทก์ เก็บเงินค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์จากผู้เช่าซื้อลูกค้าของโจทก์ได้แล้วเบียดบังยักยอกไม่นำส่งให้โจทก์ขาดบัญชีไป แล้วต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงให้ไว้กับพนักงานและทนายความของบริษัทโจทก์ยอมรับค้างชำระเงินที่ไม่นำส่ง และยอมขอผ่อนชำระให้อันมีลักษณะครบถ้วนเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ภายหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำผิดฐานยักยอกเช่นนี้หาได้ไม่ เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
ฟ้องแย้งเรียกค่าบำเหน็จนายหน้าในการเป็นผู้แทนจำหน่ายรถแทรกเตอร์จากจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องให้จำเลย ชำระค่าเช่าซื้อที่จำเลยเก็บได้จากผู้เช่าซื้อแล้วไม่นำส่งให้โจทก์หลายราย โดยคำฟ้องแย้งไม่มีรายละเอียดว่าจะได้จากเงินค่าเช่าซื้อที่เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อคนใด เป็นจำนวนเท่าใดและคิดเป็นบำเหน็จอย่างไรเป็นแต่กล่าวอ้างคลุม ๆ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่านั้นเป็นคำฟ้องแย้งที่เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่มีทางจะทราบและแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้
ฟ้องแย้งเรียกค่าบำเหน็จนายหน้าในการเป็นผู้แทนจำหน่ายรถแทรกเตอร์จากจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องให้จำเลย ชำระค่าเช่าซื้อที่จำเลยเก็บได้จากผู้เช่าซื้อแล้วไม่นำส่งให้โจทก์หลายราย โดยคำฟ้องแย้งไม่มีรายละเอียดว่าจะได้จากเงินค่าเช่าซื้อที่เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อคนใด เป็นจำนวนเท่าใดและคิดเป็นบำเหน็จอย่างไรเป็นแต่กล่าวอ้างคลุม ๆ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่านั้นเป็นคำฟ้องแย้งที่เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่มีทางจะทราบและแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกที่ดินตามสัญญายอมความ ต้องใช้สิทธิสุจริต โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จำเลยจะได้รับจากที่ดินที่เหลือ
สัญญายอมในศาลมีความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ลงชื่อในโฉนดเลขที่ 3371 มีส่วนเนื้อที่ 1 ไร่ โดยให้โจทก์เลือกเอาที่ทางส่วนไหนของที่ดินก็ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลือกชี้เอาได้โดยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน1 ไร่ตามสัญญา แต่การเลือกชี้เอานั้นต้องกระทำอย่างสุจริต มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งจำเลย ถ้าโจทก์เลือกชี้เอาอย่างไม่สุจริตใจแล้ว ศาลก็ย่อมไม่บังคับแบ่งให้ตามนั้น ข้อที่จำเลยไม่ยอมโดยหาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตก็เพียงแต่จำเลยให้เหตุผลว่าที่ดินส่วนที่เหลือ จำเลยใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลยถือไม่ได้ว่าเป็นการที่โจทก์เลือกชี้เอาโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกที่ดินตามสัญญายอมความ การเลือกที่ดินต้องสุจริต ไม่กลั่นแกล้ง และต้องไม่ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือใช้ประโยชน์ไม่ได้
สัญญายอมในศาลมีความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ลงชื่อในโฉนดเลขที่ 3371 มีส่วนเนื้อที่ 1 ไร่ โดยให้โจทก์เลือกเอาที่ทางส่วนไหนของที่ดินก็ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลือกชี้เอาได้โดยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน1 ไร่ตามสัญญา แต่การเลือกชี้เอานั้นต้องกระทำอย่างสุจริต มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งจำเลย ถ้าโจทก์เลือกชี้เอาอย่างไม่สุจริตใจแล้ว ศาลก็ย่อมไม่บังคับแบ่งให้ตามนั้น ข้อที่จำเลยไม่ยอมโดยหาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตก็เพียงแต่จำเลยให้เหตุผลว่าที่ดินส่วนที่เหลือ จำเลยใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่โจทก์เลือกชี้เอาโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและผลของสัญญายอมความ: ศาลยกฟ้องในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเดิม แต่เปิดทางบังคับคดี
ตามฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปขุดดินทำไร่ไถนาในที่ดินของโจทก์ภายในเขตเสาหินที่เจ้าพนักงานปักไว้. ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่รู้แนวเขตที่ของโจทก์จำเลยแน่ชัด. จำเลยเข้าใจว่าเป็นเขตที่ดินของตนเอง ไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินโจทก์.ดังนี้ จำเลยจะมายกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย. เพราะโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์. เนื่องจากยังมิได้มีการทำสัญญาแบ่งแยกนั้นหาได้ไม่. เพราะเป็นข้อที่มิได้กล่าวอ้างมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์. และทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด.
โจทก์เคยเป็นความกับจำเลยมาก่อนในคดีแดงที่ 211/2505ของศาลจังหวัดนครปฐม. ซึ่งผลที่สุดได้ตกลงทำสัญญายอมความแบ่งที่พิพาทกัน. และศาลได้พิพากษาตามสัญญายอมอันถึงที่สุดแล้วเช่นนี้. เมื่อปรากฏว่าจำเลยขัดขืนไม่ยอมไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกต่อสำนักงานทะเบียนที่ดิน. ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินการบังคับคดีให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงในคดีเดิมนั้นเอง. การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินอันเป็นประเด็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทรายเดียวกันนี้อีก. จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
โจทก์เคยเป็นความกับจำเลยมาก่อนในคดีแดงที่ 211/2505ของศาลจังหวัดนครปฐม. ซึ่งผลที่สุดได้ตกลงทำสัญญายอมความแบ่งที่พิพาทกัน. และศาลได้พิพากษาตามสัญญายอมอันถึงที่สุดแล้วเช่นนี้. เมื่อปรากฏว่าจำเลยขัดขืนไม่ยอมไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกต่อสำนักงานทะเบียนที่ดิน. ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินการบังคับคดีให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงในคดีเดิมนั้นเอง. การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินอันเป็นประเด็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทรายเดียวกันนี้อีก. จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าตามสัญญายอมความ แม้มีการโอนทรัพย์สิน สัญญาผูกพันตลอดชีวิตบิดามารดา
บุตรสามคนซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล. ตกลงจัดผลประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าวโดยการให้เช่าและให้บุตรคนหนึ่งเป็นผู้เก็บค่าเช่าส่งมอบให้บิดามารดาคนละครึ่งจนตลอดชีวิตของบิดามารดา. โดยหักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าภาษีออกเสียก่อน. สัญญานี้เป็นสัญญาจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374. เมื่อบิดาแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ตามสัญญานั้นแล้ว. แม้ต่อมาบุตรทั้งสามคนนั้นจะตกลงกันเลิกสัญญาและโอนขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกไป. บุตรซึ่งรับเป็นผู้เก็บค่าเช่าก็ยังต้องรับผิดส่งเงินให้แก่บิดาไปจนตลอดชีวิต. โดยคำนวณเงินที่จะต้องส่งจากส่วนเฉลี่ยของค่าเช่าที่เคยเก็บหักด้วยส่วนเฉลี่ยค่าภาษีที่เคยเสีย. บุตรหาอาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่.
การที่ศาลประมาณเงินค่าเช่าที่บิดาควรได้จากบุตรโดยวินิจฉัยจากจำนวนค่าเช่าสูงสุดกับต่ำที่สุดเป็นหลักคำนวณส่วนเฉลี่ยนั้น. มิใช่เป็นการกะประมาณเอาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438. ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิด.
การที่บุตรทั้งสามคนโอนขายทรัพย์ซึ่งตกลงกันจัดผลประโยชน์ให้แก่บุคคลภายนอกไป. จะอ้างว่าค่าเช่าที่โจทก์จะได้ต้องระงับโดยเป็นหนี้ที่พ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 หาได้ไม่. เพราะบุตรโอนขายทรัพย์ไปเอง.
จำเลยฎีกาว่า โจทก์นำสืบจำนวนค่าเช่าไม่ได้แน่นอนสมฟ้อง. แต่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในฎีกาเลยว่า. โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องประการใดบ้าง. เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249. ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
การที่ศาลประมาณเงินค่าเช่าที่บิดาควรได้จากบุตรโดยวินิจฉัยจากจำนวนค่าเช่าสูงสุดกับต่ำที่สุดเป็นหลักคำนวณส่วนเฉลี่ยนั้น. มิใช่เป็นการกะประมาณเอาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438. ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิด.
การที่บุตรทั้งสามคนโอนขายทรัพย์ซึ่งตกลงกันจัดผลประโยชน์ให้แก่บุคคลภายนอกไป. จะอ้างว่าค่าเช่าที่โจทก์จะได้ต้องระงับโดยเป็นหนี้ที่พ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 หาได้ไม่. เพราะบุตรโอนขายทรัพย์ไปเอง.
จำเลยฎีกาว่า โจทก์นำสืบจำนวนค่าเช่าไม่ได้แน่นอนสมฟ้อง. แต่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในฎีกาเลยว่า. โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องประการใดบ้าง. เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249. ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909-910/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของสัญญายอมความแบ่งมรดกและการสละสิทธิของโจทก์เมื่อได้รับส่วนแบ่งตามคำพิพากษา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกกันและตกลงให้แบ่งมรดกส่วนหนึ่งแก่บุคคลภายนอกโจทก์ไม่ต้องการทรัพย์อีก และไม่ขอเกี่ยวข้อง ซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นไปตามยอมนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแบ่งมรดกของโจทก์ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว การบังคับคดีเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ก็เป็นอันเสร็จสิ้นโจทก์ย่อมไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป