คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาเงินกู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาซื้อขายเงินกู้, การผิดสัญญา, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
หนังสือสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 1 มีข้อความว่า "ผู้จะขายยอมตกลงขายที่นาฝากไว้... เป็นราคาเงิน 200,000 บาท มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาถึงวันที่ 1 เมษายน 2543 หากไม่มีเงิน 200,000 บาท มาคืนให้ผู้ซื้อ ผู้ขายยอมให้ที่นาจำนวน 15 ไร่ ตามสัญญาให้แก่ผู้จะซื้อ ณ วันที่ 1 เมษายน 2543" มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 จะยอมให้กรรมสิทธิ์ในที่นาตกไปยังโจทก์ทั้งสองก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงิน 200,000 บาท คืนแก่โจทก์ทั้งสองเมื่อถึงเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้กรรมสิทธิ์ในที่นาตกไปยังโจทก์ทั้งสองทันทีโดยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 อาจไถ่ที่นานั้นคืนได้ในภายหลัง อันจะต้องด้วยลักษณะของสัญญาขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวนหนึ่งไปจากโจทก์ทั้งสองและตกลงว่าจะชำระคืนให้ อันเข้าลักษณะเป็นการกู้เงิน และหนังสือสัญญาดังกล่าวย่อมใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวมาในคำฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินแก่โจทก์ทั้งสอง ก็เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเท้าความถึงข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญา ซึ่งโจทก์แนบสำเนามาท้ายคำฟ้องเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าต้องด้วยบทกฎหมายใด โดยเฉพาะโจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องขอให้บังคับคดีเกี่ยวกับที่ดิน คงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินคืนท่านั้น
โจทก์อุทธรณ์ว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนหากวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาเอกสารหมาย จ.1 เป็นสัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะ ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 บังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่โจทก์ในฐานะที่เป็นลาภมิควรได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาว่า ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์มิใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น เพราะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยตรง มิใช่เป็นฎีกาที่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7282/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: การปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยนั้น ได้ความตามฟ้องว่านับแต่จำเลยกู้และรับเงินไปจากโจทก์ จำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์เป็นประจำทุกๆ เดือนตามสัญญา ค้างชำระติดต่อกันหลายงวดซึ่งโจทก์ถือว่าจำเลยผิดสัญญา และจากเอกสารบัญชีเงินกู้ก็ได้ความว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่งวดเดือนเมษายน 2545 เป็นต้นมา และโจทก์ได้ปรับดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 8.11 เป็น 13.5 นับแต่เดือนกรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเกิดขึ้นหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดอกเบี้ยจำนวนนี้เป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ดอกเบี้ยไม่ชัดเจน ศาลใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระบุว่า ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราตามที่ธนาคาร ก. กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชี โดยจะชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนจนกว่าจะได้ชำระต้นเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามข้อตกลงดังกล่าวเพียงแต่ตกลงกันว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน แต่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งในสัญญาว่าอัตราเท่าไร เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคาร ก. กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชีไม่แน่นอนย่อมขึ้นลงได้ตามประกาศธนาคาร ก. จึงต้องใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่กำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ที่จะตกเป็นโมฆะไปทั้งหมด และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้, อัตราดอกเบี้ยสูงสุด, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างบริษัทเงินทุนโจทก์กับจำเลยในข้อ 3 วรรคหนึ่ง ระบุว่า ผู้กู้ตกลงชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละ 13.25 ต่อปี และวรรคสองระบุว่า อัตราดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่ง ผู้ให้กู้มีสิทธิเปลี่ยนแปลงให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า แต่ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดไว้ ข้อ 7 ระบุว่า ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้อันเป็นเหตุให้ผู้ให้กู้มีสิทธิดำเนินการตามข้อ 8 และข้อ 8 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาดังกล่าวในข้อ 7 ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดที่ผู้ให้กู้ได้มีประกาศกำหนดให้เรียกเก็บจากผู้กู้ยืมได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย นับตั้งแต่วันที่ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาข้อตกลงตามข้อ 7 และข้อ 8 มีลักษณะเป็นการกำหนดเพื่อทดแทนค่าเสียหายของโจทก์ล่วงหน้าสำหรับกรณีเมื่อจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาที่ไม่ผ่อนชำระเงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีปกติตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 วรรคสอง
จำนองเป็นเพียงอุปกรณ์ของหนี้ที่เป็นประกัน การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในหนี้ที่มีจำนองนั้นเป็นประกันในอัตราเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับหนี้ที่จำนองนั้นเป็นประกันหรือหนี้ประธาน โจทก์จึงไม่อาจนำอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองมาใช้เรียกจำเลยได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 เพียงแต่กำหนดให้ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน แต่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเบี้ยปรับให้ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามปกติที่โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามสัญญาคืออัตราร้อยละ 13.25 ต่อปี จึงมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหาได้มีผลเป็นการยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไม่ โจทก์ยังมีหน้าที่ที่จะนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานให้ศาลเห็นว่าคดีโจทก์มีมูลที่จะเรียกให้จำเลยรับผิดตามฟ้องได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายด้วยและศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์พึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระจากจำเลยได้ตามกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินบังหน้าสัญญาเงินกู้ การนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์เจตนาที่แท้จริง
แม้จำเลยจะได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์กับโจทก์และได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็ตาม เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฉบับดังกล่าว จำเลยก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่า ความจริงเป็นการทำสัญญากู้เงินกัน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการนำสืบว่า สัญญาซื้อขายนั้นเป็นนิติกรรมอำพราง ต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญากู้เงิน
การที่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดินและให้ปากคำว่าต้องการซื้อขายกันจริงโดยยินยอมเสียค่าธรรมเนียมต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามระเบียบ เป็นการยืนยันเจตนาแท้จริงของจำเลยที่ต้องการขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ต้องการขายที่ดินพิพาทให้โจทก์จริงดังจำเลยอ้าง ก็น่าจะทำสัญญาจะซื้อขายกันไว้เป็นหลักฐานก็พอ ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเงินกู้ ธนาคารพาณิชย์ การคิดดอกเบี้ยโมฆะ
โจทก์จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกันวันที่ 13 มกราคม 2535 ส่วนประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2535 จึงไม่ใช่ประกาศที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใดที่ให้สิทธิโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์จะเป็นธนาคารพาณิชย์มิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินโดยไม่ปรากฏว่ามีประกาศของโจทก์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงเป็นปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีในสัญญากู้ยืมเงินจึงตกเป็นโมฆะ
เงินที่จำเลยได้ชำระมาและโจทก์นำไปหักดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงเป็นต้นเงินตามรายการในการ์ดบัญชี เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุโมฆะแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแล้วไปหักดอกเบี้ยได้ จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาจึงต้องนำไปหักต้นเงินอย่างเดียว และไม่เป็นการชำระดอกเบี้ยอันไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ปลอมและพิรุธ โจทก์ฟ้องผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยได้กู้เงินไปเพียง 30,000 บาท แต่โจทก์กลับไปกรอกข้อความในสัญญาเงินกู้เป็นเงินถึง 109,000 บาท โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม สัญญากู้จึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์ไม่อาจนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีได้ เมื่อเงินกู้จำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้มาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้: ศาลปรับลดดอกเบี้ยสูงเกินส่วนได้ แม้สถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศ
โจทก์และจำเลยทำสัญญากู้เงินกันไว้เป็นหลักฐานโดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์กำหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะทำสัญญา อัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปในอัตราร้อยละ 18.75 ต่อปี และอัตราสูงสุดหากจำเลยประพฤติผิดเบี้ยปรับในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 19.75 ต่อปี จึงเป็นข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ เข้าลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยอันเป็นเบี้ยปรับสูงเกินส่วนก็ปรับลดลงมาเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและ พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 654 ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าไม่เป็นเบี้ยปรับ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 8.75 ต่อปีของต้นเงิน เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปอันเป็นอัตราปกติที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ก่อนผิดนัด จึงมีผลเท่ากับเป็นการงดเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์เสียทั้งสิ้นซึ่งไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้, เบี้ยปรับ, อัตราดอกเบี้ย, การผิดนัดชำระหนี้, ศาลลดเบี้ยปรับ
แม้สัญญากู้ยืมเงินเลิกกันไปแล้วตามการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ เพราะจำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้เงินกู้ยืมก็ตาม โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 ซึ่งเป็นอัตราลอยตัวได้ ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิมตามข้อสัญญาต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และประกาศธนาคารโจทก์ที่ออกตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กับยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับจากจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาได้ด้วยเช่นกัน ตามข้อสัญญาและ ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่ แต่สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เป็นเบี้ยปรับ อันได้แก่ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 กับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75 ถึง 3.25 ต่อปี นั้น เมื่อได้คำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดีและทางได้เสียของโจทก์ประกอบกับภาวะดอกเบี้ยในตลาดการเงินในปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงดอกเบี้ยขาลงแล้วเห็นว่าสูงเกินไป จึงสมควรกำหนดให้โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นเบี้ยปรับได้อีกเพียงร้อยละ 0.50 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 ต่อปี หรือเท่ากับดอกเบี้ยอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2.50 ต่อปี
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้, การบังคับชำระหนี้, และสิทธิเรียกร้องค่าเบี้ยประกันภัย
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 1 มีใจความว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญาในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ได้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารฯ สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใดส่วนที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฯซึ่งมีข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่เรียกจากลูกค้าและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและจะเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศไม่ได้นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ เท่านั้น ไม่รวมถึงโจทก์ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ฯ การที่โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงินข้อ 1 โดยมิได้ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยนี้ก่อน จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้
โจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
of 16