พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหายจากการเช่าต่อเนื่อง, และการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าช่วงที่ดินพิพาทจากโจทก์ครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ก่อสร้างอาคารตามสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การและต่อสู้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและโจทก์ตกลงจะให้จำเลยเช่าช่วงมีกำหนดเวลา 30 ปี บัดนี้ยังไม่ครบกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้สนองคำมั่นของโจทก์ก่อนสิ้นกำหนดเวลาเช่า คำมั่นจึงสิ้นผลโดยมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้น ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 247 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าโจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าช่วงกันอีก การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าตลอดมา ถือว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามป.พ.พ. มาตรา 570 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสัญญาเช่าช่วงย่อมระงับลงจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์อ้างว่าการที่จำเลยยังคงประกอบกิจการอยู่ในที่ดินที่เช่า ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งมอบที่ดินคืนแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนนั้น เห็นว่า ค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยคงอยู่ในที่ดินที่เช่าแต่เป็นค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษในกรณีไม่ชำระหนี้ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้คาดเห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ได้
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าโจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าช่วงกันอีก การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าตลอดมา ถือว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามป.พ.พ. มาตรา 570 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสัญญาเช่าช่วงย่อมระงับลงจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์อ้างว่าการที่จำเลยยังคงประกอบกิจการอยู่ในที่ดินที่เช่า ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งมอบที่ดินคืนแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนนั้น เห็นว่า ค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยคงอยู่ในที่ดินที่เช่าแต่เป็นค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษในกรณีไม่ชำระหนี้ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้คาดเห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่าช่วงและการรับฟังพยานหลักฐานจากคำรับของจำเลย
การที่วัด ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนย่อมมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วแก่โจทก์ที่ 1 เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัด ป. ยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยพร้อมบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยไม่ยอมออกไปโจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นเจ้าหนี้ที่แท้จริง เน้นประเด็นสัญญาเช่าระหว่างโจทก์-จำเลย
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทจากโจทก์และประพฤติผิดสัญญาหรือไม่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาเช่าระหว่างบริษัทอ.กับส.สิ้นสุดลงแล้วหรือไม่และผู้ใดเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริงของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าแก่โจทก์แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวมาก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นการมิชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงและหน้าที่ชำระค่าเช่า การกระทำของจำเลยไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์
หลังจากส. ทำสัญญาเช่าสถานที่ของโจทก์กับจำเลยแล้วส. ได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์อีกฉบับหนึ่งส.กับโจทก์ย่อมผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาเช่าซึ่งในส่วนการชำระค่าเช่าระบุไว้ว่าจะชำระค่าเช่าณสำนักงานของผู้ให้เช่าส. จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ที่สำนักงานของโจทก์การที่ส. นำค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์และโจทก์ไม่ได้รับค่าเช่าไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเอาสถานที่ของโจทก์ไปให้ส. เช่าส่วนที่ส. นำค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ภายใต้เงื่อนไขว่าเพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ที่แท้จริงตามคำพิพากษาถึงที่สุดเพราะหลังจากที่ส. ทำสัญญากับโจทก์แล้วจำเลยเรียกร้องให้ส. ชำระค่าเช่าให้จำเลยอีกทำให้ส. สับสนไม่แน่ใจว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิที่จะให้เช่าสถานที่เช่าที่แท้จริงก็เป็นเรื่องของส. ไม่เกี่ยวกับโจทก์โจทก์จะนำมาเป็นข้ออ้างว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าช่วงและระยะเวลาการเช่าตามสิทธิของผู้ให้เช่าช่วง โดยอิงตามสัญญาก่อสร้างและสัญญาเช่าเดิม
ตามสัญญาก่อสร้างอาคารใช้สิทธิแก่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าได้มีกำหนดเวลา20ปีนับแต่วันลงนามในสัญญาคือวันที่20พฤศจิกายน2513ถึงวันที่20พฤศจิกายน2533โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงต่อมาย่อมมีสิทธิการเช่าตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าวจึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าได้เพียงเท่าระยะเวลาการเช่าที่ตนมีสิทธิและตามสัญญาจองอาคารระหว่างโจทก์จำเลยได้เท้าความถึงเรื่องที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทขึ้นบนที่ดินราชพัสดุโดยโจทก์ได้สิทธิเช่าช่วงมาจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราดังนี้ตามสัญญาจองอาคารที่ระบุให้มีอายุการเช่า20ปีจึงย่อมเป็นที่เข้าใจระหว่างคู่สัญญาแล้วว่าหมายถึงอายุการเช่า20ปีตามที่โจทก์มีสิทธิตามสัญญาก่อสร้างอาคารหากให้เริ่มนับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญาเช่ากันในภายหลังจะทำให้มีอายุการเช่ามากกว่า20ปีเกินกว่าสิทธิที่โจทก์ให้เช่าช่วงได้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ขณะทำสัญญาจองอาคารโจทก์ยังไม่ได้รับสิทธิการเช่าต่ออีก5ปีเพิ่งได้รับสิทธิดังกล่าวในภายหลังเพราะเกิดมีกรณีพิพาทระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำให้การก่อสร้างล่าช้าวัสดุก่อสร้างเสียหายเพื่อชดเชยความเสียหายนี้กระทรวงการคลังจึงได้ขยายระยะเวลาการเช่าออกไปให้อีก5ปีซึ่งไม่เกี่ยวกับจำเลยจึงถือว่าอายุการเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่กระทำกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจองอาคารสิ้นสุดลงเพียงวันที่20พฤศจิกายน2533จำเลยจึงบังคับให้โจทก์ทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยมีอายุ20ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่ามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: การใช้สิทธิเลิกสัญญาที่ไม่สุจริตและการชดใช้ค่าเสียหาย
พระราชบัญญัติแร่ฯ มาตรา 76 และ 77 มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับตั้งแต่ที่โจทก์จำเลยตกลงกัน ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้นหาใช่สัญญายังไม่เกิดเพราะยังไม่ได้รับคำสั่งอนุญาตจากรัฐมนตรีไม่ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามแต่ก็เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเกิดขึ้นได้ หากยังไม่ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตจากรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาทสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6กรกฎาคม 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง: ฝ่ายใดผิดสัญญาเมื่อมีคดีความและไม่จดทะเบียน, การคืนเงินค่าตอบแทน
โจทก์ทำสัญญาเช่าช่วงอาคารจากจำเลยทั้งสอง และตกลงจะไปจดทะเบียนการเช่าช่วงโดยทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการในการที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้กำหนดวันที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงแล้ว เป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาไปแล้วทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ให้เช่าเดิมฟ้องขับไล่ออกจากทรัพย์ที่เช่าและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และผู้ให้เช่าเดิมได้คัดค้านการให้เช่าช่วงนั้น ไม่อาจจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแต่ประการใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ เงินที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ในวันทำสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าช่วง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าช่วงกัน จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าตอบแทนจากโจทก์ ชอบที่จะให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงที่มิชอบ การผิดสัญญาเช่า และความรับผิดในค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้โจทก์และโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ยอมออกจากตึกแถวที่เช่าจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 16,000 บาท จนกว่าจะออกจากตึกแถวแต่จำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาเช่าช่วงกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิให้เช่าช่วง จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในตึกแถวตามสัญญาเช่าช่วง เมื่อค่าเสียหายดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้เป็นสัญญาเช่ากับโจทก์แต่เป็นเพียงบริวารของผู้เช่า จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการสิ้นสุดสัญญาเช่าช่วง การฟ้องโดยอาศัยมูลเหตุจากสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังคงมีอำนาจแม้สัญญาหลักสิ้นสุด
เมื่อจำเลยประพฤติหรือปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลเหตุตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทที่โจทก์ทำไว้กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทจะสิ้นสุดแล้วหรือไม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และเมื่อสัญญาเช่าช่วงครบกำหนด โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าช่วงโดยชอบแล้ว จำเลยจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป