พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7943/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาเช่าเรือ ผู้รับเช่ามีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามปกติและค่าใช้จ่ายที่สมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเรือที่ไม่นำเรือที่โจทก์เช่าไปบรรทุกสินค้าตามวันเวลาที่ตกลงกับโจทก์ตามสัญญาเช่าเรือทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้เพียงใดหรือไม่ ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพิสูจน์ เว้นแต่หากโจทก์พิสูจน์ความเสียหายไม่ได้ตามที่เรียกร้องมาแล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะกำหนดค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 แต่ค่าเสียหายที่โจทก์จะได้รับก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขสัญญาเช่าเรือด้วย หากโจทก์พิสูจน์ได้ว่าเสียหายไปจริง โจทก์ก็มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปตามจำนวนที่เรียกร้อง แต่ต้องไม่เกินกว่าค่าระวางโดยประมาณ
ความรับผิดในค่าเสียหายคงมีแต่เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติในการผิดสัญญาเท่านั้น การที่ผู้ว่าจ้างโจทก์ซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญาเช่าเรือได้ทำสัญญากับบริษัทผู้ซื้อสินค้าว่า หากผิดสัญญาจะต้องถูกปรับในอัตราร้อยละ 30 ของราคาซื้อขายกันหรือไม่นั้น ย่อมเป็นพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยมิอาจคาดเห็นได้ว่ามีข้อตกลงเช่นนั้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดค่าเสียหายที่เกิดจากพฤติการณ์พิเศษส่วนนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง การที่โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าเรือจากจำเลยย่อมก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ ในการที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้กักเรือไว้ไม่ให้เดินทางออกจากท่าได้ด้วยเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือตาม พ.ร.บ.การกักเรือ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นประกันในการที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือ
ความรับผิดในค่าเสียหายคงมีแต่เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติในการผิดสัญญาเท่านั้น การที่ผู้ว่าจ้างโจทก์ซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญาเช่าเรือได้ทำสัญญากับบริษัทผู้ซื้อสินค้าว่า หากผิดสัญญาจะต้องถูกปรับในอัตราร้อยละ 30 ของราคาซื้อขายกันหรือไม่นั้น ย่อมเป็นพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยมิอาจคาดเห็นได้ว่ามีข้อตกลงเช่นนั้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดค่าเสียหายที่เกิดจากพฤติการณ์พิเศษส่วนนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง การที่โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าเรือจากจำเลยย่อมก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ ในการที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้กักเรือไว้ไม่ให้เดินทางออกจากท่าได้ด้วยเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือตาม พ.ร.บ.การกักเรือ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นประกันในการที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาเช่าเรือและอายุความฟ้องเรียกร้องค่าชดใช้เรือเสียเวลา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา)ก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้น จะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญ หาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาเช่าเรือ vs. จ้างเหมาระวาง, อายุความค่าชดใช้เรือเสียเวลา, และภาระการพิสูจน์ผู้ทำสัญญา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้นจะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญหาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่ เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาะระวางบรรทุกของเรือโดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคง เป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรื่องที่ ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่อง ค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้อง เอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่ เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใดกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัทม.ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าเรือ, อายุความ, การหักกลบลบหนี้, ค่าเสียหายจากการเช่า, การจ่ายทดรองค่าใช้จ่าย
สัญญาเช่าเรือที่โจทก์จำเลยทำกันไว้เดิมเป็นสัญญาเช่าเรือกินริกิ เมื่อเรือดังกล่าวจมลงสัญญาเช่าเรือกินริกิย่อมระงับไป แต่เมื่อตามเจตนา และทางปฏิบัติในระหว่างโจทก์กับจำเลยเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ถือเอาสัญญาเช่าเรือกินริกิที่ได้ทำสัญญากันไว้นั้นมาเป็นสัญญาเช่าเรือลำใหม่โดยอนุโลมและมิต้องทำสัญญากันใหม่ การเช่าเรือลำใหม่จึงต้องเป็นไปตามข้อสัญญาเช่าเรือกินริกิ
ความชำรุดบกพร่องของเรือถ้าไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้อง ปราศจากการใช้และประโยชน์ ทั้งผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้ กรณีไม่เข้าเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548 แต่เป็นไปตาม มาตรา 551 ที่ผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นก่อนเมื่อปรากฏว่าก่อนมีการบอกเลิกสัญญาจำเลยผู้เช่าไม่เคยบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ให้เช่าจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องมาก่อนเลย การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ
หลังจากบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วจำเลยได้ส่งมอบเรือที่เช่าคืนให้แก่โจทก์โดยไม่ยอมเช่าเรือดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และชอบที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย กลับเรียกร้องค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าประกอบกับเรือที่เช่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตลอดมา จำเลยมิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในเรือดังกล่าว จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดในค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการเช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าเรือจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจึงตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6) ส่วนกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเดินเรือขนส่งสินค้าของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองไป มิใช่เป็นเรื่องผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับภาษาและข้อบังคับที่จะให้อนุญาโตตุลาการใช้ในการพิจารณา และอนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายยังไม่มีโอกาสพบปะดำเนินการพิจารณารวมกัน ทั้งยังไม่ได้รับข้อกล่าวหาของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลยไว้ โดยโจทก์เพียงแต่มอบหลักฐานและข้อเรียกร้องของตนไว้แก่อนุญาโตตุลาการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ค่าเสียหายตามที่จำเลยอ้างถึง จำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ข้อหาของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการเช่าเรือของโจทก์ หากจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ก็ขอเอาค่าเสียหายดังกล่าวหักกลบลบหนี้ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จำนวนค่าเสียหายก็ยังไม่แน่นอน ทั้งโจทก์ก็นำสืบปฏิเสธค่าเสียหายตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะ ขอ หักกลบลบหนี้
ความชำรุดบกพร่องของเรือถ้าไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้อง ปราศจากการใช้และประโยชน์ ทั้งผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้ กรณีไม่เข้าเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548 แต่เป็นไปตาม มาตรา 551 ที่ผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นก่อนเมื่อปรากฏว่าก่อนมีการบอกเลิกสัญญาจำเลยผู้เช่าไม่เคยบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ให้เช่าจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องมาก่อนเลย การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ
หลังจากบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วจำเลยได้ส่งมอบเรือที่เช่าคืนให้แก่โจทก์โดยไม่ยอมเช่าเรือดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และชอบที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย กลับเรียกร้องค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าประกอบกับเรือที่เช่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตลอดมา จำเลยมิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในเรือดังกล่าว จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดในค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการเช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าเรือจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจึงตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6) ส่วนกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเดินเรือขนส่งสินค้าของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองไป มิใช่เป็นเรื่องผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับภาษาและข้อบังคับที่จะให้อนุญาโตตุลาการใช้ในการพิจารณา และอนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายยังไม่มีโอกาสพบปะดำเนินการพิจารณารวมกัน ทั้งยังไม่ได้รับข้อกล่าวหาของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลยไว้ โดยโจทก์เพียงแต่มอบหลักฐานและข้อเรียกร้องของตนไว้แก่อนุญาโตตุลาการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ค่าเสียหายตามที่จำเลยอ้างถึง จำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ข้อหาของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการเช่าเรือของโจทก์ หากจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ก็ขอเอาค่าเสียหายดังกล่าวหักกลบลบหนี้ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จำนวนค่าเสียหายก็ยังไม่แน่นอน ทั้งโจทก์ก็นำสืบปฏิเสธค่าเสียหายตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะ ขอ หักกลบลบหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนออกใบตราส่งไม่ตรงตามข้อตกลง ทำให้เจ้าของเรือต้องรับผิดชอบ สัญญาเช่าเรือ
โจทก์ได้ติดต่อที่จะแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนรับส่งสินค้าทางทะเลขอให้ส่งตัวแทนไปเจรจาข้อปลีกย่อย เมื่อโจทก์และตัวแทนจำเลยที่ 1 ได้เจรจาตกลงกันแล้วจำเลยที่ 1 ได้มีจดหมายยืนยันรายละเอียดที่ได้เจรจากันไปให้โจทก์ทราบ และตัวแทนโจทก์ก็ได้มีจดหมายยืนยันมายังจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน และว่าจะส่งหนังสือแต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการตามมาภายหลัง เมื่อเรือของโจทก์เดินทางมารับสินค้าเป็นลำแรก จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำหน้าที่ตามที่ตกลงกันไว้และแสดงต่อทางราชการว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและจำเลยที่ 1 รับเป็นตัวแทนของโจทก์ในการรับส่งสินค้าทางทะเลแล้ว แม้โจทก์จะยังมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยที่ 1 อย่างเป็นทางการก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะมิใช่กรณีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ
สัญญาเช่าเรือขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างโจทก์กับเจ้าของเรือ กำหนดให้เจ้าของเรือรับผิดเช่นเดียวกับโจทก์ผู้เช่า สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าตามที่ปรากฏในใบตราส่งที่กัปตันเรือเป็นผู้ลงชื่อในใบตราส่ง แต่ถ้าโจทก์จะให้กัปตันเรือมอบอำนาจให้โจทก์หรือตัวแทนโจทก์ลงชื่อในใบตราส่งแทนกัปตันเรือก็ได้ ทั้งนี้ต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น กัปตันเรือได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ลงชื่อในใบตราส่ง โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น หาไม่แล้วเจ้าของเรือจะไม่รับผิดชอบจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้ว่าสินค้ามันสำปะหลังที่จำเลยที่ 2 มาจ้างขนส่งนั้นยังไม่แห้งสนิทดังที่หมายเหตุไว้ในใบรับขั้นต้นแต่กลับออกใบตราส่งให้จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่หมายเหตุความบกพร่องไว้ให้ตรงกับใบรับขั้นต้น เป็นเหตุให้ธนาคารจ่ายเงินค่าสินค้ามันสำปะหลังให้จำเลยที่ 2 ไปตามใบตราส่งที่ไม่มีหมายเหตุความบกพร่อง ต่อมามันสำปะหลังไปถึงผู้รับตราส่งปรากฏว่าชื้นขึ้นราและมีกลิ่น คุณภาพได้เสื่อมลงราคาตกไปประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ผู้รับตราส่งได้รับความเสียหายจึงได้ฟ้องให้เจ้าของเรือรับผิด เจ้าของเรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วจึงได้ไล่เบี้ยเอากับโจทก์ที่ออกใบตราส่งไม่ตรงตามสัญญาเช่าเรือ โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายแก่เจ้างของเรือไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงต้องถือว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนโจทก์ในการที่ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ตรงกับใบรับขั้นต้นตามที่ได้รับมอบหมายจากกัปตันเรือ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้ยกปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกาเรื่องอายุความขึ้นมาจึงต้องถือว่าปัญหาเรื่องอายุความมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาเช่าเรือขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างโจทก์กับเจ้าของเรือ กำหนดให้เจ้าของเรือรับผิดเช่นเดียวกับโจทก์ผู้เช่า สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าตามที่ปรากฏในใบตราส่งที่กัปตันเรือเป็นผู้ลงชื่อในใบตราส่ง แต่ถ้าโจทก์จะให้กัปตันเรือมอบอำนาจให้โจทก์หรือตัวแทนโจทก์ลงชื่อในใบตราส่งแทนกัปตันเรือก็ได้ ทั้งนี้ต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น กัปตันเรือได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ลงชื่อในใบตราส่ง โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น หาไม่แล้วเจ้าของเรือจะไม่รับผิดชอบจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้ว่าสินค้ามันสำปะหลังที่จำเลยที่ 2 มาจ้างขนส่งนั้นยังไม่แห้งสนิทดังที่หมายเหตุไว้ในใบรับขั้นต้นแต่กลับออกใบตราส่งให้จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่หมายเหตุความบกพร่องไว้ให้ตรงกับใบรับขั้นต้น เป็นเหตุให้ธนาคารจ่ายเงินค่าสินค้ามันสำปะหลังให้จำเลยที่ 2 ไปตามใบตราส่งที่ไม่มีหมายเหตุความบกพร่อง ต่อมามันสำปะหลังไปถึงผู้รับตราส่งปรากฏว่าชื้นขึ้นราและมีกลิ่น คุณภาพได้เสื่อมลงราคาตกไปประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ผู้รับตราส่งได้รับความเสียหายจึงได้ฟ้องให้เจ้าของเรือรับผิด เจ้าของเรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วจึงได้ไล่เบี้ยเอากับโจทก์ที่ออกใบตราส่งไม่ตรงตามสัญญาเช่าเรือ โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายแก่เจ้างของเรือไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงต้องถือว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนโจทก์ในการที่ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ตรงกับใบรับขั้นต้นตามที่ได้รับมอบหมายจากกัปตันเรือ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้ยกปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกาเรื่องอายุความขึ้นมาจึงต้องถือว่าปัญหาเรื่องอายุความมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสัญญาเช่าเรือและผลกระทบจากความประมาทเลินเล่อของนายท้ายเรือ
คดีพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินราคา 2,000 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องได้ 2 ส่วน ผู้คัดค้านได้1 ส่วน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้คนละส่วน เช่นนี้ถือว่าเป็นการแก้น้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9686/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาเช่าเรือ: โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่าเรือข้อ 21 ที่กำหนดว่า หากจำเลยใช้เวลาในการนำสินค้าบรรทุกลงเรือและขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือเกิน 6 วัน จำเลยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมความล่าช้า (Demurrage) แม้ตามสัญญาเช่าเรือข้อ 24 จะมิได้กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ แต่ปัญหาว่าจำเลยใช้เรือล่าช้าเกินเวลาที่กำหนดอันเป็นผลให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อตกลงในสัญญาเช่าเรือดังกล่าว เมื่อสัญญาข้อ 24 กำหนดให้ระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงต้องเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการก่อน