คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาเดินสะพัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8117/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยและกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การปฏิบัติตามธรรมเนียมธนาคาร
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทุกวัน และกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือนของโจทก์ทุก ๆ เดือน ทั้งยังระบุให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติไปตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ทุกวันและกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือน จึงเป็นไปตามประเพณีของธนาคารตามข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา อันเป็นการกำหนดการนับระยะเวลาโดยนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/1 แม้วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุดทำการ โจทก์ก็คิดหักทอนบัญชีเมื่อสิ้นเดือนได้โดยไม่ถือเอาวันเปิดทำการถัดไปเป็นวันปิดบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การบอกเลิกสัญญา, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)ฯ การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การกระทำของโจทก์ก็ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น เป็นคนละเรื่องกัน ในกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา คงมีแต่ข้อตกลงเฉพาะการหักทอนบัญชีและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12 กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่และจะคิดทบต้นอย่างไร ซึ่งตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้มีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ย และยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงิน แม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเดินสะพัด, สิทธิโจทก์, การบอกเลิกสัญญา, หักชำระหนี้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ แต่ต้องอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยย่อมเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นคนละเรื่องกัน สำหรับกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นอาจจะมีกำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีก็ได้เช่นให้หักทอนกันทุกวันสิ้นเดือน
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ว่าคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่ต้องสิ้นสุดลงภายใน 6 เดือนตามระยะเวลาที่ต้องหักทอนบัญชีตามมาตรา 858
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่ และจะคิดทบต้นอย่างไร เมื่อตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินดังว่านี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงินแม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
ชั้นอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ 1,500,000 บาทโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ขอถอนคำแก้อุทธรณ์และถอนฟ้องจำเลยที่ 2พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไปและต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยและกรณีเป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนองคำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อใด?
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาและวงเงินไว้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีมาจนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2515 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี คงมีเพียงรายการดอกเบี้ยที่โจทก์คิดตามสัญญาตลอดมาจนถึงวันหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2517 แสดงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดโดยปริยายในวันที่ 26 ธันวาคม 2517 โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2517 แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 28 กรกฎาคม 2540 เกินกำหนด 10 ปี คดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกสัญญาโดยปริยายจากการไม่มีการสะพัดนาน การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญามีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีโจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรืออาจบอกเลิกสัญญา ภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต เมื่อมีข้อสงสัยก็ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัดเลิกกันเมื่อไม่มีการสะพัดนานเกินควร โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลาแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการ เดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ ดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลานานเกินสมควร การใช้สิทธิของโจทก์เช่นนี้จึงมิได้กระทำโดยสุจริตและเมื่อมีข้อสงสัยเช่นนี้ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2531

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อบอกเลิก & โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าจะเลิกสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ จะสิ้นสุดลงเมื่อคู่สัญญาบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและเรียกร้องให้หักทอนบัญชีรวมทั้งชำระหนี้ที่มีต่อกันโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาเลิกกัน การที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินฝากเข้าและไม่ถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมีผลผูกพันจนถึงวันสุดท้ายที่โจทก์กำหนดในหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและการมีผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
จำเลยยื่นคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวันเดียวกัน โดยคู่สัญญาไม่ได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลา กรณีเช่นนี้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม หากพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลง ดังนี้เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วจำเลยไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนดนั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า การส่งหนังสือทวงถามบอกกล่าวผู้กู้ แม้ส่งแล้วไม่มีผู้รับเพราะผู้กู้ย้ายที่อยู่ โดยไม่ได้แจ้งย้ายให้ผู้ให้กู้ทราบให้ถือว่าได้ส่งให้ผู้กู้แล้วโดยชอบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้กู้เคยแจ้งย้ายให้โจทก์ทราบ ดังนั้นที่พนักงานไปรษณีย์นำหนังสือทวงถามของโจทก์ไปส่งให้จำเลยตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามของโจทก์แล้วโดยชอบในวันดังกล่าว ในหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม กำหนดเวลาชำระหนี้วันสุดท้ายจึงเป็นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2540 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนดคือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกัน หรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และ 859ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกันในวันครบกำหนดโจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศ เรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, เบี้ยปรับ, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชี และให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกันเมื่อปรากฏว่า วันครบกำหนดที่โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขจึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25จึงเป็นเบี้ยปรับ
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
of 4