คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6032/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้ด้วยการทำสัญญากู้ใหม่ ไม่ต้องมีใบเสร็จหรือเวนคืนเอกสารเดิม
การที่โจทก์จำเลยตกลงกันระงับหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้อง โดยโจทก์จำเลยตกลงให้ใช้สัญญากู้เงินฉบับใหม่แทน และต่อมาได้มีการชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับใหม่นี้แล้ว การตกลงระงับหนี้ โดยทำสัญญาเป็นหนี้เงินกู้ใหม่เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ หรือเวนคืนเอกสารดังที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ ทั้งไม่ใช่กรณีต้องห้ามการนำสืบตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ vs. สัญญาเดิม และประเด็นการปลดจำนอง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกหรือหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยได้ทำให้ไว้แก่โจทก์ และสัญญาจำนองอันมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง และบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์จริง ตามบันทึกรับสภาพหนี้ มีข้อตกลงในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระดอกเบี้ย การชำระเงินต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิม แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้เจตนาผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นใหม่ ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยจึงต้องบังคับตามบันทึกการรับสภาพหนี้ เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิมเป็นอันระงับไปโดยบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่
ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว โจทก์คิดดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้เท่านั้น
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทข้อ 4 มี ข้อความว่า จำเลยที่ 1 จะผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลงเรื่อย ๆและให้หมดสิ้นภายในวันที่ 15 มกราคม 2531 แต่หลังจากครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 15 มกราคม 2531แล้ว ได้มีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป แม้ต่อมาจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็ค แต่โจทก์ได้ปฎิเสธการจ่ายเงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำเงินตามเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีผู้ทรงเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีผู้ทรงเช็คดังกล่าวจึงได้นำเรียกเก็บเงินและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ผู้ทรงไปก็ตาม เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ตามเช็คและโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 35,000 บาท ตามเช็คดังกล่าวไปเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น กรณีจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงกันโดยปริยายว่าจะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก สัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 2 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราดังกล่าวต่อไปเท่านั้น โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 มีนาคม 2533 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าจ้างหลังการโอนสิทธิเรียกร้อง: ใช้บังคับตามสัญญาเดิม
การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 4 นั้น เป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่ตามสภาพเดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทน มิได้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิ และโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ซึ่งย่อมรวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วย โดยเหตุนี้อายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องใช้อายุความเดียวกับที่ลูกหนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้ เมื่อสิทธิเรียกร้องในคดีนี้เป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับ อ.ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำ จึงมีอายุความ2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) หรือมาตรา 193/34(1)(ใหม่) นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแต่ละงวดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169(เดิม)หรือ มาตรา 193/12(ใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย & การทำละเมิด: ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับสัญญาเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและมีข้อสัญญาว่าจำเลยยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำสัญญา การที่โจทก์ไถหน้าดินของจำเลย ออกไปถมที่ดินของโจทก์เป็นการทำละเมิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อจะขายและการที่จำเลยยอมให้โจทก์เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพันเมื่อมีสาระสำคัญครบถ้วน แม้เสนอเงื่อนไขใหม่ภายหลังก็ไม่กระทบสัญญาก่อนหน้า
เอกสารหมาย จ.1 แม้จะมิได้ใช้ถ้อยคำว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแต่ก็มีข้อความระบุชัดแจ้งถึงข้อตกลงของคู่กรณีในอันที่จะทำการซื้อขายที่ดินโดยระบุชัดเจนทั้งตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ราคาที่ซื้อขายตลอดจนวิธีการและกำหนดเวลาในการปฏิบัติการชำระหนี้ได้สาระสำคัญครบถ้วน จึงมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตามกฎหมายแล้วส่วนเอกสารหมาย จ.2 นั้นเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้มีปรากฏตามเอกสารหมาย จ.1 แม้หากจะฟังว่าเป็นเงื่อนไขที่มิได้มีการตกลงกันมาก่อนก็ตาม ก็เป็นเพียงคำเสนอใหม่ของโจทก์ที่เสนอภายหลังแยกต่างหากได้เป็นคนละส่วนกัน นิติกรรมตามเอกสารหมาย จ.1 จึงมีผลแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ได้สนองรับ ความผูกพันเฉพาะในข้อเสนอใหม่ดังกล่าวย่อมสิ้นไปหาอาจยกเป็นเหตุอ้างให้กระเทือนถึงข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งมีผลสมบูรณ์เป็นนิติกรรมแล้วก่อนหน้านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของคู่สัญญาสำคัญกว่าข้อตกลงในสัญญา หากมีการผ่อนผันและรับชำระหนี้ต่อเนื่อง สัญญาเดิมยังคงมีผล
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้เช่าซื้อต้อง ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยพลันก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ต้นตลอดมา โดยมิได้ชำระตรงตามกำหนดแต่ละงวด ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ผ่อนผัน ยอมรับค่าเช่าซื้อที่ชำระไม่ครบตามกำหนดนั้นตลอดมา แสดงว่า โจทก์ไม่ถือเอาข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ แต่โจทก์กลับยังถือว่า สัญญาเช่าซื้อมีผลต่อไป จึงได้ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้ เมื่อคู่สัญญา มีเจตนาถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อกัน และต่อมาก็มิได้มีการ บอกเลิกสัญญาแก่กันเช่นนี้ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียก ค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับสัญญาภายหลัง: ศาลบังคับคดีตามสัญญาเดิมได้
เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมออกจากตึกพิพาท และศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว แม้จะได้ความว่า โจทก์ทำสัญญายอมความกับจำเลยไว้อีกฉบับหนึ่งในวันเดียวกัน โดยโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในตึกพิพาทต่อไปจนกว่าโจทก์จะรื้อถอนตึกพิพาทเพื่อทำก่อสร้าง แต่สัญญายอมความดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวได้ จำเลยจะมีสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวอย่างไรหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเอากับโจทก์ใหม่ต่างหาก เมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความศาลก็ต้องออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ร้องขอ กรณีไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ขอให้งดการบังคับคดีและเพิกถอนหมายบังคับคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขาย และการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงใหม่ที่แตกต่างจากสัญญาเดิม
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า การชำระเงินค่าที่ดินแต่ละงวด โจทก์จะต้องนำไปชำระที่บ้านของจำเลยทุกครั้ง ถ้า ไม่ปฏิบัติตามถือว่าโจทก์ผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ทุกงวด งวดประจำเดือนกันยายน2524 จำเลยไม่ไปเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ และได้ปฏิบัติกันตลอดมาเช่นนี้แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอาข้อกำหนดเรื่องสถานที่ชำระเงินค่าที่ดินว่าจะต้องให้โจทก์นำไปชำระที่บ้านของจำเลยโดยเคร่งครัดดัง ที่ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้นในข้อที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยไปเก็บเงินค่าที่ดินจากโจทก์นี้ โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงปฏิบัติต่อกันใหม่แตก ต่างจากข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างข้ามประเทศ: สิทธิลูกจ้างตามสัญญาเดิมมีผลเหนือคู่มือพนักงานเฉพาะลูกจ้างในประเทศ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษโดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซียได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทยซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้นโจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้.
of 6