คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาเพิ่มเติม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.ก.ใหม่ สัญญาเพิ่มเติมหลังสัญญาเดิมไม่เข้าเกณฑ์อัตรา 7%
แม้ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0ต่อไป ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวทุกฉบับมิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศกำหนดว่าถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้วให้ถือเป็นที่สุดฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ซึ่งคำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศฉบับดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไปได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บริษัท ม. จ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารชุดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236)ฯ แต่ต่อมาโจทก์กับบริษัท ม. ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาดังกล่าวโดยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่เป็นการทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 จึงมิใช่สัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป โดยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ9.0 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309)ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4587/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สัญญาไม่เสร็จเด็ดขาดหากยังไม่ได้รังวัดและชำระเงินครบถ้วน การตกลงซื้อขายเพิ่มเติมแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลได้หากมีการชำระเงิน
เอกสารฉบับพิพาท ระบุสาระสำคัญแห่งสัญญาคือฝ่ายจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินบางส่วนให้แก่โจทก์ โดยมีเงื่อนเวลาแบ่งชำระราคาที่ดินออกเป็น 2 งวดงวดแรกชำระให้แก่จำเลยไปแล้วในวันทำสัญญา ส่วนงวดที่ 2 กำหนดชำระในเวลาภายหลังจากวันทำสัญญา โดยสภาพแห่งเนื้อความของสัญญา โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันอีก คือโจทก์ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือและจำเลยต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนในสัญญา หาใช่ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายและชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในวันทำสัญญาอันจะถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
สำหรับการตกลงขายที่ดินเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยผู้จะขายยังต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอน ซึ่งถึงแม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่มีการชำระราคาแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอ้างสัญญาเพิ่มเติมในฎีกา, ความชำรุดบกพร่องหลังส่งมอบ, อายุความค่าของและการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างจากการซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอด โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างถึงสัญญาติดตั้งเครื่อง การที่โจทก์ยกสัญญาติดตั้งเครื่องทำน้ำแข็งหลอดขึ้นอ้างในฎีกา เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์จึงนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาหักเป็นค่าติดตั้งเครื่องไม่ได้
ป.พ.พ.มาตรา 472 ที่บัญญัติให้ผู้ขายต้องรับผิดต่อผู้ซื้อในความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขาย และผู้ซื้อมีสิทธิที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระแก่ผู้ขายตามมาตรา 488 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลัง ผู้ขายหาต้องรับผิดไม่
เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่สามารถผลิตน้ำแข็งได้ 15,000 กิโลกรัมต่อ 24 ชั่วโมงตามสัญญาได้ เพราะเกิดจากการตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์ห่างจากเครื่องทำน้ำแข็งหลอดมากเกินไป จึงทำให้แรงอัดแอมโมเนียอ่อน และทำให้ลิ้นไอดีไอเสียแตก ซึ่งเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นในภายหลังที่จำเลยรับมอบและใช้ประโยชน์มาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์ติดตั้งและเกิดมีความชำรุดบกพร่องอย่างไร โจทก์จะต้องแก้ไขให้จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่มีอยู่อีกส่วนหนึ่ง จำเลยจะอ้างมาเป็นเหตุยึดหน่วงราคาไม่ยอมชำระราคาให้แก่โจทก์หาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอดให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2532 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการที่ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย และจำเลยใช้เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่ซื้อผลิตน้ำแข็งออกขาย จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2535 ยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากการผิดนัดไม่ชำระเงินแก่โจทก์ เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 กรณีมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปีตามมาตรา 193/33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะจากข้อมูลเท็จของผู้เอาประกัน และผลกระทบต่อสัญญาเพิ่มเติม
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับจำเลยโดยทราบมาก่อนว่าตนเป็นโรคหอบหืดประจำตัว แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อความจริงนี้ให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นก่อนทำสัญญาหรือไม่รับประกันชีวิตของผู้ตาย สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิบอกล้างได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะเหตุใด ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะหกล้มศีรษะฟาดพื้นเป็นเหตุให้เลือดออกในสมอง จำเลยจึงบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันต่อโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้และย่อมมีผลให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ
สัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอุบัติเหตุเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต เมื่อสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะเพราะจำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมเสียแล้ว สัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุบัติเหตุย่อมตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะจากข้อมูลเท็จของผู้เอาประกันภัย และผลกระทบต่อสัญญาประกันเพิ่มเติม
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับจำเลยโดยทราบมาก่อนว่าตนเป็นโรคหอบหืดประจำตัวแต่ไม่ได้เปิดเผยข้อความจริงนี้ให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นก่อนทำสัญญาหรือไม่รับประกันชีวิตของผู้ตายสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะจำเลยมีสิทธิบอกล้างได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะเหตุใดดังนั้นเมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะหกล้มศีรษะฟาดพื้นเป็นเหตุให้เลือดออกในสมองจำเลยจึงบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันต่อโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้และย่อมมีผลให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ สัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอุบัติเหตุเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิตเมื่อสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะเพราะจำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมเสียแล้วสัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุบัติเหตุย่อมตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจะซื้อขายที่ดินยังไม่สมบูรณ์ แม้มีการวางเงินมัดจำ ต้องทำตามเจตนาทำสัญญาเป็นหนังสือ
โจทก์จำเลยตกลงจะซื้อขายที่ดินกัน ตามเอกสารหมาย จ.1โดยโจทก์วางเงินมัดจำในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่ง และมีข้อตกลงว่าอีก 5 วัน ต่อมาจะมีการวางมัดจำเพิ่มเติม รวมทั้งจะทำหนังสือกันอีกครั้งเพื่อระบุรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ การชำระเงินส่วนที่เหลือการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ค่าภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอน การขนย้ายบ้านและการรื้อถอนทรัพย์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดิน การกำหนดค่าปรับในกรณีผิดสัญญา ข้อตกลงเกี่ยวกับการที่จะเข้าไปทำประโยชน์ รวมทั้งหากที่ดินที่จะซื้อขายมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยจะทำเป็นหนังสือให้ทนายความเป็นผู้ทำสัญญาเพิ่มเติม ข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 366 วรรคสอง ส่วนการที่โจทก์วางมัดจำแก่จำเลยแล้วนั้น เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยวิธีทำเป็นหนังสือ ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาจะนำเอาวิธีอื่น เช่น การวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อจะขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการตกลงผ่อนชำระหนี้ด้วยเช็ค และสิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับ เมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3 ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเพิ่มเติมและการเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกสัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้วและผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย และต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3 ฉบับที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้เป็นการตอบแทนสละสิทธิ และการปลูกสร้างบนที่ดินที่ได้รับยกให้ โดยไม่ถือว่าเป็นการรุกล้ำ
หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพิ่มเติมซึ่งทำภายหลังจากได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับเดิม มีข้อความตกลงว่าผู้แทนโจทก์กับเจ้าของร่วมคนอื่นยินยอมยกที่ดินในโฉนดที่ 3878ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยสละสิทธิ์ที่จะไม่ขอทำทางเท้าให้กว้างขึ้นเป็นถนนจากที่ดินโฉนดที่ 7386ผ่านที่ดินโฉนดที่ 3878 ไปสู่ถนนใหญ่ อันเป็นสิทธิที่จำเลยพึงเรียกร้องได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับแรกที่ทำไว้แต่เดิม ข้อตกลงเช่นนี้แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลผูกพันบังคับระหว่างคู่สัญญากันได้ ไม่ใช่สัญญาให้โดยเสน่หาและไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายจึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 456, 525ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยปลูกเรือนในที่ดินของจำเลยล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดอื่น อันเป็นส่วนที่จำเลยได้รับยกให้ตามสัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมดังกล่าวโดยโจทก์รู้เห็น และมิได้ทักท้วงเท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินพิพาทได้โจทก์ ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนหลังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเพิ่มเติมและสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ: การนำสืบพยานหลักฐานสัญญา
ทำสัญญาเช่าห้องแถวสองชั้นฉบับแรกมีกำหนด 3 ปี ระหว่างอายุสัญญาเช่าได้ทำสัญญาอีก 1 ฉบับ โดยผู้ให้เช่ารับจะให้เช่าห้องดังกล่าวต่อจากสัญญาเช่าฉบับแรกอีก 9 ปี และผู้เช่ารับภาระซ่อมแซมต่อเติมพื้นประตูและทำชั้นที่สามเพิ่ม ทั้งได้ทำการเหล่านี้แล้ว สัญญาฉบับหลังย่อมเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องมีเอกสารมาแสดงหรือบังคับให้จดทะเบียน
of 2