คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาแบ่งทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์ & สิทธิยึดหน่วง: แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่การมอบครองที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดได้
การที่โจทก์ตกลงแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่าโจทก์ได้มอบการครอบครองให้แก่จำเลยแล้ว ดังนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินในฐานะผู้รับแบ่งทรัพย์ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะปรับบทกฎหมายในเรื่องสิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตามบทบัญญัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่ามีหนี้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวกับโฉนดพิพาท ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดพิพาทจนกว่าจะได้รับแบ่งทรัพย์ในฐานะผู้มีสิทธิอันชอบธรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขายฝาก: ผลของสัญญาแบ่งทรัพย์และกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
การที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากคิดดอกเบี้ยจาก ส.ผู้ขายฝากและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ ส. เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้ การที่โจทก์ตกลงกับ ส.และจำเลยทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก จึงเป็นการกำหนดให้ ส.และจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากฉบับพิพาทได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะ เพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้รู้แล้วว่า ส.ได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์ ส.ไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นข้อที่จำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การและฟ้องแย้งด้วยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
ส.กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท ส.ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจาก ส.ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับ ส.มีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และนิติกรรมการขายฝากถูกต้องตามแบบแล้ว แม้โจทก์จะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7244/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกสมบูรณ์ แม้ทายาทบางส่วนไม่ลงลายมือชื่อ
บันทึกแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์จำเลยและทายาทอื่นที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกที่สมบูรณ์ตามมาตรา 1750 วรรคสอง ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา แม้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบางคนจะมิได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วยก็หาทำให้สัญญาดังกล่าวเสียไปไม่ คงมีผลเพียงไม่ผูกพันทายาทผู้มิได้ลงลายมือชื่อให้จำต้องถือตามเท่านั้น สัญญาดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7244/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกสมบูรณ์แม้ทายาทบางส่วนไม่ลงชื่อ ผูกพันคู่สัญญา
บันทึกแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์จำเลยและทายาทอื่นที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกที่สมบูรณ์ตามมาตรา 1750 วรรคสองใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา แม้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบางคนจะมิได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วยก็หาทำให้สัญญาดังกล่าวเสียไปไม่ คงมีผลเพียงไม่ผูกพันทายาทผู้มิได้ลงลายมือชื่อให้จำต้องถือตามเท่านั้น สัญญาดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2083/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกหลังทำสัญญาแบ่งทรัพย์ การโอนทรัพย์สินหลังสัญญาไม่เป็นความผิดยักยอก
ทรัพย์มรดกของ น. ที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยจดทะเบียนโอนมาเป็นของจำเลยก็ดี จดทะเบียนโอนขายให้บุคคลอื่นก็ดี มิได้ตกเป็นของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแบ่งปันทรัพย์ ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยล้วนเกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกของน.แล้ว จึงเป็นการจัดการทรัพย์สินส่วนที่เป็นมรดกตกเป็นของจำเลยเอง หาใช่เป็นการจัดการทรัพย์มรดกของน. ที่ตกเป็นของโจทก์ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับใช้ได้ และไม่ถือเป็นการฟ้องแบ่งมรดก ทำให้ไม่ต้องติดอายุความมรดก
สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750
ฟ้องบรรยายว่าบรรดาทายาทนำพินัยกรรมไปให้เจ้าพนักงานอำเภอเปิดและยินยอมทำบันทึกประนีประนอมแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมระหว่างทายาท โจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ตามสัญญาแบ่งทรัพย์ และเมื่อทำสัญญาแล้ว โจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยจึงอ้างเอาอายุความมรดกมาบังคับแก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลผูกพันตามกฎหมาย และการครอบครองทรัพย์ตามสัญญาไม่ขาดอายุความ
สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750
ฟ้องบรรยายว่าบรรดาทายาทนำพินัยกรรมไปให้เจ้าพนักงานอำเภอเปิดและยินยอมทำบันทึกประนีประนอมแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมระหว่างทายาท โจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ตามสัญญาแบ่งทรัพย์และเมื่อทำสัญญาแล้ว โจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งมรดกจำเลยจึงอ้างเอาอายุความมรดกมาบังคับแก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้ของสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินตามสัญญา
สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750.
ฟ้องบรรยายว่าบรรดาทายาทนำพินัยกรรมไปให้เจ้าพนักงานอำเภอเปิดและยินยอมทำบันทึกประนีประนอมแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมระหว่างทายาท โจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์. ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ตามสัญญาแบ่งทรัพย์. และเมื่อทำสัญญาแล้ว โจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทตลอดมา. เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งมรดก. จำเลยจึงอ้างเอาอายุความมรดกมาบังคับแก่คดีไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของร่วมกับลูกหนี้เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่สุจริต ใช้ไม่ได้
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์กันภายหลังจากที่โจทก์นำยึดที่พิพาทเพียง 3 วัน ทั้งเมื่อวันที่เจ้าพนักงานไปยึดทรัพย์รายนี้ ผู้ร้องก็เห็นและรู้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ สัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างผู้ร้องและจำเลยจึงถือได้ว่ากระทำไปโดยไม่สุจริตและใช้ไม่ได้
การที่ผู้ร้องเป็นเจ้าทรัพย์พิพาทร่วมกันกับจำเลย ผู้ร้องจะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ทั้งหมดไม่ได้จนกว่าจะได้มีการแบ่งปันกันโดยถูกต้อง การที่ผู้ร้องจะขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดจะต้องปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไม่มีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึด แต่ผู้ร้องมีทางเรียกขอให้แบ่งส่วนของตนตามสิทธิของเจ้าของร่วมได้ทางบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง ม.287.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์หลังยึดทรัพย์: ความไม่สุจริตและการแบ่งปันสิทธิเจ้าของร่วม
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์กันภายหลังจากที่โจทก์นำยึดที่พิพาทเพียง 3 วันทั้งเมื่อวันที่เจ้าพนักงานไปยึดทรัพย์รายนี้ ผู้ร้องก็เห็นและรู้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ สัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างผู้ร้องและจำเลยจึงถือว่าได้กระทำไปโดยไม่สุจริตและใช้ไม่ได้
การที่ผู้ร้องเป็นเจ้าทรัพย์พิพาทร่วมกันกับจำเลยผู้ร้องจะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ทั้งหมดไม่ได้จนกว่าจะได้มีการแบ่งปันกันโดยถูกต้องการที่ผู้ร้องจะขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดจะต้องปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไม่มีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึด แต่ผู้ร้องมีทางเรียกขอให้แบ่งส่วนของตนตามสิทธิของเจ้าของร่วมได้ทางบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287
of 2