พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดกก่อนมีโฉนด: สัญญาแบ่งมรดกมีผลผูกพัน แม้มีข้อจำกัดการโอนในโฉนด
สัญญาแบ่งมรดกที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทำขึ้นก่อนมีโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ก่อนมีโฉนดที่ดิน แม้ที่ดินโฉนดที่พิพาทมีข้อความระบุว่าห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะไม่ใช่กรณีที่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินแก่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: สัญญาแบ่งมรดก vs. การแบ่งโดยการครอบครองเป็นส่วนสัด และประเด็นการยกข้อกล่าวหาใหม่ในชั้นฎีกา
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สองประการคือ โดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับ ค.มารดาจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่า ค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัด แต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกัน จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมาย ล.7 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมาย ล.7 เป็นสัญญาแบ่งมรดก จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งมรดกสมบูรณ์แม้ทายาทบางส่วนไม่ลงลายมือชื่อ สิทธิเรียกร้องมรดกย่อมระงับ
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ เป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสองใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา แม้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบางคนจะมิได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วยก็หาทำให้สัญญาดังกล่าวเสียไปไม่ คงมีผลเพียงไม่ผูกพันทายาทผู้มิได้ลงลายมือชื่อให้จำต้องถือตามเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122-1123/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าใช้จ่ายจากการดำเนินคดีจัดการมรดกที่เกี่ยวข้องกับสัญญาแบ่งมรดกที่ถูกฟ้องให้เป็นโมฆะ ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่จำเลยเสียไปในการดำเนินคดีร้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งโจทก์จำเลยเป็นผู้ร้องขอร่วมกันและโจทก์ตกลงจะชดใช้ให้จำเลยครึ่งหนึ่ง โดยระบุไว้ในสัญญาแบ่งมรดก แต่ภายหลังกลับถอนคำร้องเสีย เนื่องจากตกลงกันในการจัดการมรดกไม่ได้นั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีขอรับมรดกแต่ผู้เดียว และขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาแบ่งมรดกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมฟ้องแย้งเรียกค่าฤชาธรรมเนียมและค่าหมายความตามที่ตกลงไว้ในสัญญาแบ่งมรดกจากโจทก์ได้ เพราะเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122-1123/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าใช้จ่ายผู้จัดการมรดกสัมพันธ์กับฟ้องเดิม สัญญาแบ่งมรดกเป็นเหตุ
ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่จำเลยเสียไปในการดำเนินคดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งโจทก์จำเลยเป็นผู้ร้องขอร่วมกันและโจทก์ตกลงจะชดใช้ให้จำเลยครั้งหนึ่ง. โดยระบุไว้ในสัญญาแบ่งมรดก. แต่ภายหลังกลับถอนคำร้องเสีย เนื่องจากตกลงกันในการจัดการมรดกไม่ได้นั้น. เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีขอรับมรดกแต่ผู้เดียว และขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาแบ่งมรดกเป็นโมฆะ. จำเลยย่อมฟ้องแย้งเรียกค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตามที่ตกลงไว้ในสัญญาแบ่งมรดกจากโจทก์ได้. เพราะเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งมรดกไม่ตัดสิทธิทายาทในการเรียกร้องทรัพย์ที่ไม่ได้ระบุในสัญญา
ทายาททำสัญญาแบ่งมรดก แต่ไม่ระบุทรัพย์บางรายทายาทมาฟ้องขอแบ่งมรดกทรัพย์ที่ไม่ปรากฏในสัญญาอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งมรดกขัดต่อกฎหมายเมื่อทำก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิตและเพิกถอนสิทธิในพินัยกรรม
เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมแต่ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้รับพินัยกรรมต่างตกลงแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นกันใหม่ โดยไม่ถือสิทธิที่จะได้ตามพินัยกรรม ดังนี้ สัญญาแบ่งทรัพย์ย่อมไม่มีผลเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากการทำสัญญาแบ่งมรดกต้องจดทะเบียนจึงบริบูรณ์ การบังคับรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทำไม่ได้จนกว่าจะจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ได้ภารจำยอมทั้งโดยอายุความ 10 ปีและโดยนิติกรรมด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โดยนิติกรรมก็ใช้ได้
โจทก์เป็นทายาท จำเลยเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดก ทำสัญญาแบ่งปันมรดกกันซึ่งตามสัญญานี้ผูกพันทางเดินรายพิพาทซึ่งอยู่ในโฉนดของจำเลยให้ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์และเป็นคู่สัญญา ในสัญญาแบ่งปันมรดกให้ไปจดทะเบียนทางรายพิพาทเป็นภารจำยอมได้
ภารจำยอมซึ่งเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางนิติกรรมทำเป็นหนังสือ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนก็ยังไม่บริบูรณ์ตาม มาตรา 1299 โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างจากทางเดินซึ่งตกอยู่ในภารจำยอมนั้นยังไม่ได้
โจทก์เป็นทายาท จำเลยเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดก ทำสัญญาแบ่งปันมรดกกันซึ่งตามสัญญานี้ผูกพันทางเดินรายพิพาทซึ่งอยู่ในโฉนดของจำเลยให้ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์และเป็นคู่สัญญา ในสัญญาแบ่งปันมรดกให้ไปจดทะเบียนทางรายพิพาทเป็นภารจำยอมได้
ภารจำยอมซึ่งเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางนิติกรรมทำเป็นหนังสือ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนก็ยังไม่บริบูรณ์ตาม มาตรา 1299 โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างจากทางเดินซึ่งตกอยู่ในภารจำยอมนั้นยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งมรดกแม้ไม่เป็นแบบ แต่มีลายมือชื่อจำเลยผูกพันได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอายุความได้
สัญญาแบ่งมฤดกเป็นเรื่องหลักฐานไม่ใช่แบบ,ทายาทแห่งกองมฤดกทำสัญญาแบ่งมฤดกกัน แต่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องพะยาน ดังนี้พอถือไ้ว่าเป็นหลักฐานเพียงพอที่จะผูกพันผู้ลงลายมือชื่อนั้น,
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.182 ประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มฤดกจำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าโจทก์ได้ปกครองมฤดกรายนี้ร่วมกันมากับจำเลยดังนี้ไม่เรียกว่าศาลอุทธรณ์ตัดสินนอกประเด็น
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.182 ประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มฤดกจำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าโจทก์ได้ปกครองมฤดกรายนี้ร่วมกันมากับจำเลยดังนี้ไม่เรียกว่าศาลอุทธรณ์ตัดสินนอกประเด็น