คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาแปลงหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินผิดกฎหมาย & สัญญาแปลงหนี้จากลาภมิควรได้เป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แล้ว การที่โจทก์ ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยตามสัญญาดังกล่าว ย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 4 ว่าด้วยลาภมิควรได้ ซึ่งตามมาตรา 411 ระบุถึงกรณีที่บุคคลใดได้ชำระหนี้เป็นการ อันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี บุคคลนั้นจะเรียกร้องทรัพย์คืนไม่ได้ ดังนั้น โจทก์ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐาน ลาภมิควรได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่ จำเลยตกลงยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ ชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นสัญญาที่มี วัตถุประสงค์เป็นอันต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็น โมฆะตามมาตรา 150 จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อม ดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาแปลงหนี้, อากรแสตมป์, การรับสภาพหนี้, ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้ใหม่
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ จึงเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้: สัญญากู้เงินที่แปลงจากค่าที่ดินและแปลงหนี้เงินกู้เดิม ย่อมมีผลบังคับใช้ได้
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลย หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน
โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่ สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7151/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ หลักประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับหลัง แม้ไม่โอนที่ดินตามสัญญา
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน5ฉบับให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่และเพื่อเป็นหลักประกันการใช้เงินจำเลยตกลงจะโอนที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ทั้งสองข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งในสัญญาที่ตกลงกันไว้ทั้งเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันเพื่อให้โจทก์ทั้งสองมีความมั่นใจว่าจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยตามสัญญาที่ตกลงทำกันขึ้นใหม่เพื่อมิให้หนี้เดิมของโจทก์ทั้งสองต้องสูญไปเท่านั้นไม่ใช่เงื่อนไขบังคับหลังที่จะทำให้สัญญาที่ตกลงกันไว้ต้องยกเลิกหรือระงับสิ้นไปเพราะโจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินภายในกำหนดเวลาตามสัญญาการที่จำเลยมิได้โอนที่ดินตามสัญญาให้แก่โจทก์ทั้งสองหาทำให้ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง5ฉบับที่จำเลยได้ออกชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองต้องถูกยกเลิกหรือไร้ประโยชน์แต่อย่างใดจำเลยยังต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง5ฉบับที่ออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสองอยู่ หนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ที่1และโจทก์ที่2เป็นคนละจำนวนต่างหากจากกันมิใช่หนี้ร่วมโจทก์แต่ละคนสามารถแยกฟ้องจำเลยต่างหากจากกันได้อยู่แล้วการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็เพราะจำเลยเป็นคนเดียวกันและเพื่อเป็นการสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้นศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลสำหรับคดีของโจทก์ที่1และโจทก์ที่2แยกต่างหากจากกันนั้นถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหลักประกัน vs. สัญญาแปลงหนี้: การนำสืบพยานบุคคลในข้อต่อสู้ของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินที่กู้ยืมไป จำเลยให้การถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้ว่าบุตรจำเลยไปสู่ขอบุตรสาวโจทก์เป็นภรรยา โจทก์เรียกเงินตกทอดและเงินค่าเลี้ยงดูแขกในวันสมรสจากจำเลย ซึ่งจำเลยตกลง ข้อตกลงของจำเลยจึงเป็นสัญญาอย่างหนึ่งส่วนที่โจทก์ได้ให้จำเลยทำเป็นสัญญากู้ไว้เพราะโจทก์ไม่ไว้ใจเกรงว่าจำเลยจะปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ สัญญากู้จึงเป็นแต่เพียงหลักประกันเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่และเมื่อจำเลยให้การไว้ด้วยว่าจำเลยมิได้กู้เงินและรับเงินตามฟ้องไปจากโจทก์ และว่าได้ชำระเงินค่าตกทอดและค่าเลี้ยงแขกให้โจทก์ไปครบถ้วนแล้ว ซึ่งถ้าเป็นจริงดังจำเลยต่อสู้ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องจำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามข้อต่อสู้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเช็คชำระหนี้ ไม่ถือเป็นสัญญาแปลงหนี้ เพราะยังสงวนสิทธิเรียกร้องหนี้คงเหลือ
ผู้ให้กู้ทำเอกสารให้ผู้กู้ว่า เมื่อได้รับเงินตามเช็คที่ผู้กู้เอาของคนภายนอกมาชำระให้ครบถ้วนแล้วจะคืนสัญญากู้ให้ทันที ดังนี้ ไม่ใช่แปลงหนี้ใหม่ เมื่อยังไม่ได้รับเงินตามเช็คผู้ให้กู้ฟ้องตามสัญญากู้เดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้ใหม่และการไม่ผูกพันของผู้ค้ำประกันเดิม
อำเภอสัญญายอมความประมวลแพ่ง ม. 249 สัญญาแปลงนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันที่ไม่รู้เห็นตามสัญญาใหม่ไม่ผูกพัน(ฎีกาที่ 212/2473)