พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีและการรับผิดในสัญญาโฆษณา: การพิสูจน์อำนาจฟ้องและข้อผูกพันตามสัญญา
โจทก์มีตัวผู้รับมอบอำนาจมาสืบประกอบสำเนาหนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัทโจทก์ โดยนายทะเบียนบริษัทเมืองฮ่องกงและมีโนตารีปับลิกเมืองฮ่องกงรับรองสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวและมีหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ ป. ดำเนินคดีแทน โดยมีคำรับรองของโนตารีปับลิกเมืองฮ่องกงและกงสุลแห่งประเทศไทยว่าจ. และ อ. กรรมการบริษัทโจทก์ได้ลงนามอย่างเป็นทางการในหนังสือมอบอำนาจและเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของ จ. และ อ.จึงเชื่อได้ว่าบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีนี้จริงหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาโฆษณา: การอนุมัติโฆษณา, อายุความ, และการชำระหนี้
ใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าของจำเลยหรือใบแจ้งหนี้ลงวันที่31มกราคม2523มีข้อความระบุให้ชำระหนี้ภายใน45วันคือภายในวันที่16มีนาคม2523ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ให้เวลาจำเลยในการชำระหนี้45วันก่อนครบระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ย่อมจะใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องหนี้รายนี้จากจำเลยยังไม่ได้อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด45วันเป็นต้นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169บัญญัติไว้โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่16มีนาคม2525จึงยังไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโฆษณาทางวิทยุ: การผิดสัญญา, การชำระหนี้, และขอบเขตความรับผิด
จำเลยได้ทำสัญญาก่อสร้างตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงกับกรมการทหารสื่อสารโดยกรมการทหารสื่อสารให้สิทธิแก่จำเลย ในการโฆษณา 8 ปี ในการนี้จำเลยได้ตกลงกับโจทก์ที่ 1 โดยมีข้อสัญญากันว่า ให้โจทก์ที่ 1 ออกเงินลงทุน150,000 บาท และจำเลยในฐานะหัวหน้าสถานีวิทยุตกลงให้สิทธิโจทก์ที่ 1 โฆษณาสินค้าวันละ 2 ชั่วโมง เป็นการตอบแทนมีกำหนด 6 ปี หรือจนกว่าจะหมดสัญญาการก่อสร้างสถานี โจทก์จึงได้มอบเงิน 150,000 บาท ให้จำเลยไปดำเนินการก่อสร้าง เมื่อการก่อสร้างสถานีวิทยุดังกล่าวเสร็จแล้ว โจทก์ที่ 1 มอบให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการแทนได้โฆษณาสินค้าได้รวม 2 ปีก็ต้องหยุดเนื่องจากทางราชการสั่งห้ามโฆษณา ต่อมาอีกเกือบ 3 ปีทางราชการอนุญาตให้โฆษณาได้อีก ดังนี้ เมื่อทางราชการมิได้สั่งห้ามโฆษณาเป็นการเด็ดขาดตลอดไปอันจะทำให้การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยและกลับอนุญาตให้ออกอากาศโฆษณาได้อีก การชำระหนี้จึงอยู่ในวิสัยจะกลับขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันได้ และการที่ทางราชการสั่งห้ามโฆษณา ก็แปลไม่ได้ว่าเป็นการหมดสัญญาก่อสร้างสถานี ทั้งสัญญาที่จำเลยทำไว้กับกรมการทหารสื่อสารนั้น กรมการทหารสื่อสารให้สิทธิแก่จำเลยในการโฆษณาถึง 8 ปี จำเลยจึงยังมีความผูกพันที่จะต้องให้สิทธิแก่โจทก์ออกอากาศโฆษณาต่อไปจนครบ 6 ปี
แม้สัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ที่ 1 นั้นมีว่าจำเลยจะต้องผ่อนชำระเงิน 150,000 บาทคืนโจทก์ภายใน 2 ปี โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยใดๆ แต่ก็มิได้ระบุว่าถ้าไม่ผ่อนชำระคืนตามกำหนด แล้วจะให้คิดดอกเบี้ยต่อกัน และตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มุ่งเอาประโยชน์ตอบแทนจากรายได้จากการออกอากาศโฆษณาสินค้ามากกว่า และเมื่อจำเลยไม่ผ่อนชำระเงินคืนตามกำหนด โจทก์ก็มิได้จัดการประการใด เพิ่งจะบอกกล่าวให้ชำระเงินคืนเมื่อพ้นกำหนดมาหลายปี แต่ก็มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยชำระ เพียงแต่เชิญจำเลยไปทำความตกลงกันเท่านั้น ดังนี้ จำเลยจึงยังมิได้ตกเป็นฝ่ายผิดนัด เพราะโจทก์ได้เตือนแล้ว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ย
โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใดๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้สัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ที่ 1 นั้นมีว่าจำเลยจะต้องผ่อนชำระเงิน 150,000 บาทคืนโจทก์ภายใน 2 ปี โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยใดๆ แต่ก็มิได้ระบุว่าถ้าไม่ผ่อนชำระคืนตามกำหนด แล้วจะให้คิดดอกเบี้ยต่อกัน และตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มุ่งเอาประโยชน์ตอบแทนจากรายได้จากการออกอากาศโฆษณาสินค้ามากกว่า และเมื่อจำเลยไม่ผ่อนชำระเงินคืนตามกำหนด โจทก์ก็มิได้จัดการประการใด เพิ่งจะบอกกล่าวให้ชำระเงินคืนเมื่อพ้นกำหนดมาหลายปี แต่ก็มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยชำระ เพียงแต่เชิญจำเลยไปทำความตกลงกันเท่านั้น ดังนี้ จำเลยจึงยังมิได้ตกเป็นฝ่ายผิดนัด เพราะโจทก์ได้เตือนแล้ว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ย
โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใดๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโฆษณา, วันชำระหนี้, การผิดนัดชำระหนี้, ดอกเบี้ย, การส่งมอบเอกสาร
จำเลยให้การแต่เพียงว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจของผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของ ส. และ ว.ตราประทับก็ไม่ใช่ของบริษัทโจทก์ ซึ่งเป็นการให้การปฏิเสธลอยๆ แต่เพียงว่าตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ตราของบริษัทโจทก์เท่านั้น ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัย
ตามสัญญาโฆษณากำหนดวันชำระหนี้ไว้ว่า ชำระเงินหลังวันโฆษณาภายใน 30 วัน ส่วนวันโฆษณาคือวันที่ 4 และ 9 ธันวาคม 2540 ดังนั้น วันครบกำหนดชำระเงินคือภายในวันที่ 3 และ 8 มกราคม 2541 จึงถือได้ว่ามีกำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนตามปฏิทิน แต่เมื่อพนักงานของโจทก์ไปส่งใบแจ้งหนี้และใบวางบิลให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยระบุในใบรับวางบิลว่า โปรดมารับเงินวันที่ 13 มีนาคม 2541 โจทก์มิได้ทักท้วง แสดงว่าโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอาวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญาโฆษณา เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปจำเลยจะผิดนัดต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้ชำระหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง จึงจะคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 224 ได้
ตามสัญญาโฆษณากำหนดวันชำระหนี้ไว้ว่า ชำระเงินหลังวันโฆษณาภายใน 30 วัน ส่วนวันโฆษณาคือวันที่ 4 และ 9 ธันวาคม 2540 ดังนั้น วันครบกำหนดชำระเงินคือภายในวันที่ 3 และ 8 มกราคม 2541 จึงถือได้ว่ามีกำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนตามปฏิทิน แต่เมื่อพนักงานของโจทก์ไปส่งใบแจ้งหนี้และใบวางบิลให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยระบุในใบรับวางบิลว่า โปรดมารับเงินวันที่ 13 มีนาคม 2541 โจทก์มิได้ทักท้วง แสดงว่าโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอาวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญาโฆษณา เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปจำเลยจะผิดนัดต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้ชำระหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง จึงจะคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 224 ได้