คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาโอนสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5362/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินห้ามโอน: สัญญาโอนสิทธิในที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก
จำเลยครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในบังคับห้ามโอนจึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองให้แก่ผู้อื่นได้การที่จำเลยทำสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินและทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ร่วมมีผลเป็นการโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมภายในกำหนดเวลาห้ามโอนจึงไม่มีผลตามกฎหมายโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยจ้างบุคคลอื่นเข้าไปไถปรับพื้นที่และล้อมรั้วที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่า: ความรับผิดของผู้ขายเมื่อไม่ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุมัติการโอนก่อนกำหนด
จำเลยทำสัญญาว่าจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ภายในวันที่22สิงหาคม2534ซึ่งจำเลยทราบดีว่าการโอนสิทธิการเช่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเสียก่อนโดยต้องใช้เวลาในการยื่นเรื่องราวจนได้รับอนุมัติอย่างน้อย1เดือนแต่จำเลยมิได้ดำเนินการยื่นเรื่องราวขอโอนก่อนวันครบกำหนดที่จะต้องโอนตามสัญญาเดิมดังนั้นจะอ้างว่าโจทก์บ่ายเบี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวต้องชำระในวันโอนหากไม่ยื่นเรื่องราวขอโอนเสียก่อนก็ไม่อาจอนุมัติให้โอนได้หากจำเลยขออนุมัติให้โอนไว้แล้วโจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมจึงจะถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อจำเลยยังมิได้ยื่นเรื่องราวขอโอนไว้ก่อนจึงไม่มีเหตุที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะปฏิเสธแต่เมื่อโจทก์และจำเลยขอโอนสิทธิการเช่าในวันครบกำหนดโอนแล้วได้รับการปฏิเสธย่อมถือได้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่โจทก์แล้วจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่านั้นว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันหนี้ ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่
จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์กับโจทก์มีข้อความว่า ตามที่จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำเลยตกลงโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์และโจทก์ตกลงรับโอนภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนว่า การโอนสิทธิการเช่ารายนี้จะบังเกิดผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน ในการโอนสิทธิการเช่ารายนี้เมื่อผู้รับโอนตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์จนครบ และปรากฏต่อมาว่าจำเลยผิดนัดชำระเงินกู้ตามสัญญา ดังนี้ หนี้เงินกู้เดิมซึ่งเป็นหนี้ประธานมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น มิได้มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เพราะเมื่อตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ สัญญาโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับเอาชำระหนี้เงินกู้ได้เท่านั้น หาเป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาเนื่องจากจำเลยอ้างว่ายังมิได้ผิดสัญญา จำเลยก็ต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันหนี้กู้ ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์กับโจทก์มีข้อความว่าตาม ที่จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำเลยตกลงโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์และโจทก์ตกลงรับโอนภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนว่า การโอนสิทธิการเช่ารายนี้จะบังเกิดผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน ในการโอนสิทธิการเช่ารายนี้เมื่อผู้รับโอนตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์จนครบ และปรากฏต่อมาว่าจำเลยผิดนัดชำระเงินกู้ตามสัญญา ดังนี้หนี้เงินกู้เดิมซึ่งเป็นหนี้ประธานมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น มิได้มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เพราะเมื่อตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่งมาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ สัญญาโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับเอาชำระหนี้เงินกู้ได้เท่านั้น หาเป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาเนื่องจากจำเลยอ้างว่ายังมิได้ผิดสัญญา จำเลยก็ต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่า: การแปลงหนี้ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์, การบอกเลิกสัญญา, และผลของการไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลาชำระหนี้
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่ผู้เช่าและรับโอนสิทธิการเช่าแทนโดยจำเลยที่ 1 จะชำระเงินและโอนสิทธิการเช่าคืนจากจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์ให้โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าแก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้ และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตกลงกันด้วยวาจาโดยมิได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์ไม่มีผลใช้บังคับ
เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มิได้กำหนดวันชำระเงินและจำเลยที่ 2 บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระภายใน 3 วัน นับแต่วันรับหนังสือหากพ้นกำหนดจะถือเป็นการขอถอนคำมั่นนั้นเป็นการกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และขอเลิกสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน
สัญญาซึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ทั้งสองฝ่ายมีข้อความบ่งชัดว่าสัญญาเกิดขึ้นแล้วไม่ใช่เพียงคำมั่น แต่การที่จำเลยที่ 1 บอกกล่าวกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินโจทก์ไม่ชำระตามเวลากำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยรับชำระเงินจากโจทก์แล้วโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องสัญญาที่ไม่ชัดเจนถึงผู้มีสิทธิฟ้องร้อง สัญญาโอนสิทธิสำคัญต่อการฟ้อง
สัญญาห้ามการค้าขายคนนอกสัญญาฟ้องคู่สัญญาไม่ได้วิธีพิจารณาน่าที่นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16078/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาโอนสิทธิและสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับโอน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดในโครงการอาคารชุดของจำเลยที่ 1 และสัญญาจะซื้อจะขายเฟอร์นิเจอร์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งในการพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโครงการก่อสร้างอาคารชุดไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามสัญญาหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดประกอบสัญญาจะซื้อจะขายเฟอร์นิเจอร์ร่วมด้วย ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนขายสัญญาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 3 โดยในสัญญาโอนขายมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดต่อลูกค้าเดิมของจำเลยที่ 1 รวมทั้งโจทก์ และจำเลยที่ 2 ตกลงกับจำเลยที่ 1 ให้มีการเปลี่ยนตัวผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 เป็นผลให้มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายโครงการดังกล่าวทั้งหมดกันใหม่ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 กรณีถือว่าการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนตัวผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 ก็ตกลงยินยอมด้วย เมื่อข้อตกลงในสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อลูกค้าทุกราย และสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ก็มีข้อตกลงที่จำเลยที่ 3 ต้องรับโอนสิทธิเรียกร้องของคู่สัญญาที่เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ผู้จะขายทุกรายมาด้วยและเมื่อพิจารณาประกอบกันทั้งสองสัญญาแล้วถือว่า สัญญาที่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จะชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าทุกรายรวมทั้งโจทก์ จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือว่าจะถือประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 รวมทั้งจำเลยที่ 1 คู่สัญญาเดิมร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 374 วรรคสอง
ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์นั้น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 3 ผู้เดียวเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดทั้งโครงการมาจากจำเลยที่ 1 แล้ว และเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดพิพาทเพียงผู้เดียว สภาพแห่งหนี้จึงเปิดช่องให้เฉพาะจำเลยที่ 3 เท่านั้น ที่มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสวมสิทธิเรียกร้องหนี้: หนังสือมอบอำนาจและการนิยาม 'ลูกหนี้' ในสัญญาโอนสิทธิ
ตามหนังสือรับรองกรรมการบริษัทผู้ร้องมีจำนวน 10 คน ในจำนวนนี้มี บ. กับ ก. เป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย โดยกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทมีผลผูกพันผู้ร้องเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องโดย บ. กับ ก. ซึ่งเป็นกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัททำหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 25 มีนาคม 2558 มอบอำนาจให้ ฤ. หรือ ศ. หรือ ส. หรือ ม. หรือ ว. หรือ น. มีอำนาจลงนามในสัญญาโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์ในคดีนี้กับผู้ร้อง โดยมิได้ระบุเงื่อนไขว่า ผู้รับมอบอำนาจจะต้องร่วมลงนามด้วยกันสองคน หรือต้องประทับตราสำคัญของบริษัทผู้ร้องด้วย ดังนั้น โดยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว เมื่อ ส. ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ลงนามในสัญญาโอนสินทรัพย์แทนผู้ร้อง สัญญาโอนสินทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาโอนสินทรัพย์ระบุว่า ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ผู้โอน ประสงค์จะโอนสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอนและผู้รับโอนประสงค์จะรับโอนสินทรัพย์จากผู้โอน โดยมีค่าตอบแทนการโอนสินทรัพย์ และข้อ 1 ของสัญญาดังกล่าว ได้นิยามคำว่า "สินทรัพย์" หมายถึง สิทธิเรียกร้องและผลประโยชน์ทั้งปวงที่ผู้โอนมีต่อลูกหนี้ตามสัญญาสินเชื่อและสัญญาอุปกรณ์ และผู้โอนตกลงโอนให้แก่ผู้รับโอนตามสัญญานี้ กับให้นิยามคำว่า "ลูกหนี้" หมายถึง ลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน ผู้จำนอง ผู้จำนำ ผู้รับสภาพหนี้ และบุคคลอื่นใดซึ่งต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้หรือแทนลูกหนี้ตามสัญญาสินเชื่อ หรือสัญญาที่บุคคลดังกล่าวข้างต้นทำไว้ หรือมีภาระผูกพันกับผู้โอน ตามนิยามดังกล่าว เมื่อบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินที่โอนระบุจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ จึงย่อมหมายรวมถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 อันเป็นบุคคลซึ่งต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ด้วย ดังนั้น ตามสัญญาโอนสินทรัพย์ หนี้ในส่วนของจำเลยทั้งสามจึงโอนมายังผู้ร้องแล้ว ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ จึงชอบแล้ว